การตรวจสแกนกระดูก (Bone scan) เป็นการตรวจกระดูกทางเวชศาสตร์ นิวเคลียร์ เพื่อตรวจดูกระดูกทั่วทั้งตัวว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น การตรวจหาการ แพร่กระจายของมะเร็ง หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ ที่การถ่ายภาพเอกซเรย์อาจไม่เห็น โรคมะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิ (Primary bone tumors) กระดูกอักเสบติดเชื้อ (Ostepmyelitis) กระดูกหัก (fracture) เนื้อกระดูกตายจากการขาดเลือด (aseptic necrosis) หรือเป็น การตรวจหาตำแหน่งของขอบเขตของกระดูกที่มีความผิดปกติ ซึ่งสามารถตรวจได้เป็น บริเวณกว้าง ตั้งแต่กะโหลกศีรษะถึงปลายเท้า ใช้เพื่อตรวจดูผู้ป่วยโรคมะเร็งว่ามีการ แพร่กระจายมาที่กระดูกหรือไม่ และในโรคอื่น ๆ ที่การตรวจทางภาพรังสีไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้
วัตถุประสงค์การตรวจสแกนกระดูก
- การทำ Bone scan จะช่วยตรวจหาการแพร่กระจายของมะเร็งมาที่กระดูกได้เร็ว สามารถทำได้ง่าย และสามารถถ่ายภาพกระดูกได้ทีเดียวทั้งตัว เมื่อมีความผิดปกติมักจะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน
- การทำสแกนจะมีความไวมากกว่า การตรวจเอกซเรย์ลักษณะภาพสแกนของมะเร็งแพร่กระจายมักพบเป็นบริเวณที่มีการดูดซึมและนำเข้าเนื้อเยื่อ (uptake) มากผิดปกติหลายแห่ง มะเร็งเต้านมที่มีการแพร่กระจาย มาที่กระดูกสันหลัง (sternum) เพียง จุดเดียว น่าจะเกิดจากการกระจายผ่านท่อน้ำเหลือง (lymphatic spread) ทำในรายที่มี เนื้องอก มีการตอดเชื้อ ได้รับอุบัติเหตุ ใช้ประเมินการปลูกกระดูก และการใส่อวัยวะเทียม
- เป็นการทำสแกนกระดูกในโรคที่มีการแพร่กระจายมายังกระดูก
- เป็นการตรวจหาขอบเขตของโรคก่อนการรักษา
- ทำสแกนเมื่อสงสัยว่าจะมีการแพร่กระจายมายังกระดูก (metastasis) เช่น เมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ
- เพื่อติดตามผลการรักษาการแพร่กระจายในมะเร็งเต้านม ในระยะที่ทำผ่าตัดเต้านม (mastectomy) แล้วพบว่ามีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งควรตรวจ ทุก 1 ปี
- บอกตำแหน่งและขอบเขตของมะเร็งแพร่กระจายมนการตัดชิ้นเนื้อตรวจและการรักษาโดยการฉายแสง
- เพื่อติดตามผลการักษา
วัตถุประสงค์
1.เพื่อตรวจสอบดูว่ามีอุบัติเหตุที่กระดูกที่ซ่อนเร้นอยู่เนื่องจากมีกระดูกหัก
2.เพื่อตรวจสอบดูว่ามีมะเร็งกระดูกหรือไม่
3.เพื่อดูว่ากระดูกมีความผิดปกติหรือไม่
4.เพื่อดูการติดเชื้อ
5.เพื่อประเมินในรายที่มีอาการปวดกระดูกโดยไม่สามารถอธิบายได้
6.เพื่อดูระยะของมะเร็ง
การเตรียมตรวจ
1.อธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงวิธีการตรวจ
2.ผู้ป่วยเซ็นใบยินยอมรับการตรวจรักษาเรียบร้อยแล้วก่อนการตรวจ
3.ให้ยาแก้ปวด
4.ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารและน้ำตามปกติ
5.บอกผู้ป่วยให้มาถึงก่อนเวลานัด 30 นาที เพื่อเตรียมการตรวจ
6.หากเป็นผู้ป่วยเด็ก ให้ปิดเส้นสำหรับฉีดยาด้วย ผู้ป่วยที่มียารับประทานประจำให้นำยามาด้วย
7.ผู้ป่วยตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนการนัด
การตรวจและการดูแลหลังตรวจ
1.ก่อนการตรวจ ซักถามผู้ป่วยเกี่ยวกับการแพ้สารเภสัชรังสี (radioisotope) และประเมินว่ามีข้อห้ามในการตรวจนี้หรือไม่ เช่น การตั้งครรภ์
2.กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยกระจายและขจัดสารไอโซโทปออกร่างกาย
3.ให้ผู้ป่วยปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนตรวจ เพราะหากกระเพาะปัสสาวะมีปัสสาวะเต็ม (full bladder) จะทำให้รบกวนการสแกนบริเวณกระดูกเชิงกราน
การตรวจ
ฉีดสารเภสัชรังสี 99mTc MDPC (methylene diphosphonate) phosphorus compound เช่นpyrophosphate,polyphosphate, methylene diphosphonate (MDP) เข้าหลอดเลือด สารจะไปจับที่กระดูก ภายใน 2 – 3 ชั่วโมง และ 3 – 4 ชั่วโมง สารรังสีในเลือดจะลดลงมากเมื่อขับออกทางไต ทำให้เห็นกระดูกได้ชัดเจน ในระหว่างรอการตรวจสแกนให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ และถ่ายปัสสาวะบ่อย ๆ เพื่อช่วยการขับถ่ายสาร เภสัชรังสี และระวังอย่าให้ปัสสาวะเปรอะเปื้อนร่างกาย เมื่อถึงเวลาตรวจจะให้ผู้ป่วย ไปถ่ายปัสสาวะ และให้เข้าห้องสแกนแล้วให้ผู้ป่วยนอนบนเตียงตรวจ แล้วถ่ายภาพทั่วร่างกายประมาณ 1 ชั่วโมง ปกติการ uptake ของสารเภสัชรังสีในส่วนต่าง ๆ ของกระดูก จะมีความสม่ำเสมอและซ้ายขวาจะสมมาตรกัน บริเวณกระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน และตามข้อต่าง ๆ จะมี uptake มากกว่าบริเวณกระดูกแขนขา กะโหลกศีรษะ และกระดูกซี่โครง ขณะถ่ายภาพให้นอนนิ่ง ๆ การตรวจให้เวลาทั้งสิ้น 5 – 6 ชั่วโมง
ข้อควรระวัง
1.หลีกเลี่ยงสารรังสีที่จะมีต่อทารกในครรภ์หรือเด็กทารกจึงมีข้อห้ามสำหรับหญิงมีครรภ์หรือหญิงที่กำลังให้นมบุตร
2.ผู้ป่วยอาจแพ้สารรังสี
ผลการตรวจที่เป็นปกติ
เนื้อเยื่อกระดูกปกติ
ผลการตรวจที่ผิดปกติ
แม้ว่า Bone scan จะเห็นเป็นจุดที่กระดูกไม่สามารถบอกได้ว่ากระดูกปกติหรือผิดปกติ แต่ผลของสแกนสามารถแยกได้ว่าเป็นมะเร็งกระดูก มีการติดเชื้อกระดูกหัก และมีความผิดปกติอื่น ๆ