การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography)

การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography) เป็นการบันทึก ประจุไฟฟ้าจากจุดต่าง ๆ ของสมองผ่านออกมาทางหนังศีรษะ โดยใช้แผ่นอิเล็กโทรด  สัมผัสกับหนังศีรษะผู้ป่วยด้วยเข็มเล็ก ๆ มีเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองโดยคลื่นไฟฟ้าจาก สมองจะผ่านอิเล็กโทรดมาสู่เครื่องเขียนบันทึก ซึ่งเครื่องจะแปลงคลื่นไฟฟ้าสมองออกมา เป็นเส้นบันทึกลงบนกระดาษบันทึกที่หมุนผ่านเข็มในอัตราความเร็วสม่ำเสมอ หรือบันทึกบนจอภาพ มีความถี่และรูปร่างต่าง ๆ กัน ซึ่งจะแปลงผลได้ว่าปกติ หรือผิดปกติ แบบใด  และที่บริเวณใดของสมอง สามารถบอกตำแหน่งและความผิดปกติในการทำงานของสมองได้

การบันทึกคลื่นไฟฟ้า นี้จะทำภายใต้ภาวะต่าง ๆ เช่น ขณะตื่น หลับระหว่างชัก ระหว่างกระตุ้นด้วยแสงหรืออื่น ๆ การตรวจนี้อาจทำที่ห้องปฏิบัติการพิเศษหรือเป็นหน่วยที่เคลื่อนที่ไปข้างเตียงได้ เครื่องบันทึก EEG ที่เดินทางไปได้มีไว้สำหรับผู้ป่วยที่ติดไว้ที่ บ้านหรือที่ทำงานเพื่อบันทึกขณะที่ผู้ป่วยมีกิจกรรมตามปกติประจำวัน การบันทึกคลื่น ไฟฟ้าสมองด้วยวีดิโออย่างต่อเนื่องเป็นประโยชน์พื้นฐานสำหรับผู้ป่วยในเพื่อแยกแยะโรค ลมชัก (epilepsy) ระหว่างเหตุการณ์ทางคลินิก หรือสำหรับจุดที่ทำให้มีอาการชัก ระหว่างการผ่าตัด เพื่อประเมินโรคลมชัก การสัมผัสอิเล็กโทรดในกะโหลกศีรษะโดย การผ่าตัด เพื่อฝังเครื่องบันทึกการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมอง สำหรับจุดที่ทำให้ มีอาการชัก

วัตถุประสงค์การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง

  1. เพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นลมชักจริงหรือไม่ (ในกรณีมีประวัติอาการชักไม่ชัดเจน)
  2. เพื่อช่วยจำแนกชนิดของโรคลมชัก เพื่อการตัดสินใจในการเลือกยากันชักที่เหมาะสมกับโรคลมชักแต่ละประเภท
  3. เพื่อช่วยประเมินผลการรักษานอกเหนือจากการติดตามอาการผู้ป่วย
  4. เพื่อช่วยตัดสินใจก่อนหยุดยากันชักกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีอาการชักติดต่อกันเป็นเวลานานอย่างน้อย 2 ปี
  5. เพื่อใช้ประเมินการทำงานของสมองในผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุที่ศีรษะ  หรือหลังผ่าตัดสมอง
  6. เพื่อใช้ประเมินการทำงานของสมอง ในผู้ป่วยที่มีภาวะหมดสติ
  7. เพื่อช่วยวินิจฉัยผู้ป่วยที่ซึมลงหรือหมดสติ และสงสัยว่าผู้ป่วยนั้นมีอาการชักที่ไม่แสดงออกโดยการเกร็งกระตุก
  8. เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผู้ป่วยที่มีปัญหาการนอนหลับ
  9. เพื่อช่วยวินิจฉัยกลุ่มโรคบางอย่างที่มีลักษณะคลื่นสมองแบบเฉพาะเจาะจง
  10. เพื่อช่วยวินิจฉัยรอยโรคในกะโหลกศีรษะ  เช่น ฝี (abscesses) เนื้องอก (tumors) เป็นต้น
  11. เพื่อประเมินคลื่นไฟฟ้าสมองในโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญสารอาหาร (metabolic disease) สมองขาดเลือด (cerebral ischemia) ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ (head injury) มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) มีสมองอักเสบ(encephalitis) มีปัญญาอ่อน (mental retardation) มีความผิดปกติทางจิต (psychological disorders) และ ได้รับยา (brain death)
  12. เพื่อประเมินภาวะที่เปลี่ยนแปลงของการรับรู้ (consciousness) หรือเนื้อสมองตาย (drugs)


การเตรียมผู้ป่วย
1.บอกผู้ป่วยว่าการตรวจนี้ใช้บันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง
2.อธิบายวิธีตรวจอย่างง่าย ๆ แก่ผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งบรรยากาศและความรู้สึกในขณะตรวจ ตอบคำถามทั้งหมดที่ผู้ป่วยถาม
3.บอกผู้ป่วยว่างดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โคล่า ก่อนตรวจ แต่ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร การงดอาหารมื้อก่อนตรวจจะเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะน้ำตาล ในเลือดต่ำและทำให้คลื่นไฟฟ้าในสมองเปลี่ยนแปลง
4. สระผมให้สะอาดและทำให้แห้ง ไม่ใช้ครีมนวดผมไม่ใส่น้ำมัน ครีมแต่งผมมูสแต่งผม และสเปรย์ใส่ผม
5. บอกผู้ป่วยว่าระหว่างการตรวจในเก้าอี้นอนหรือเก้าอี้ที่เอนนอนได้ หรือนอน บนเตียงและติดอิเล็กโทรดที่หนังศีรษะด้วยครีมป้ายเฉพาะ ให้ทำตัวให้ผ่อนคลาย บอก ผู้ป่วยด้วยว่าให้แน่ใจว่าอิเล็กโทรดจะไม่มีกระแสไฟฟ้า
6.หากใช้เข็มอิเล็กโทรดบอกผู้ป่วยว่าจะรู้สึกว่ามีการแทงเข็มเข้าไป อิเล็กโทรดที่ใช้เข็มเป็นที่นิยมใช้กัน
7. ปฏิบัติกับผู้ป่วยให้ดีที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยสงบไม่กลัวเพราะความตื่นกลัว (nervqusness) จะมีผลต่อคลื่นสมอง
8.ตรวจสอบประวัติการใช้ยาของผู้ป่วย ยาที่อาจจะรบกวนผลการตรวจ เช่น  ยากันชัก (anticonvulsants) ยาระงับประสาท (tranquilizers) บาร์บิทูเรท (barbiturates)  และยานอนหลับ (sedatives) อื่น ๆ ควรระงับไว้เป็นเวลา 24 – 48 ชั่วโมงก่อนตรวจตาม แผนการรักษา เด็กทารกและเด็กเล็กอาจต้องให้ยานอนหลับรับประทาน เพื่อป้องกันการร้องไห้และการกระสับกระส่ายระหว่างการตรวจ แต่ยานอนหลับอาจจะทำให้ ผลการตรวจเปลี่ยนไปได้
9. ผู้ป่วยที่มีอาการชัก ให้รับประทานยากันชักตามปกติ ห้ามหยุดยากันชัก ก่อนมาตรวจคลื่นสมอง ยกเว้นเป็นการแนะนำจากแพทย์ กรณีเด็กเล็กอาจจำเป็นต้องให้ยานอนหลับก่อนการตรวจและแนะนำผู้ปกครองให้เตรียมขวดนมหรือน้ำและของเล่นที่เด็กชอบมาด้วย
10. ผู้ป่วยที่มีอาการชักอาจให้ทำ “sleep EEG” ในกรณีนี้พยายามให้ผู้ป่วย ตื่นในตอนกลางคืนก่อนตรวจและให้ยานอนหลับ (เช่น chloral  hydrate) เพื่อช่วยให้ ผู้ป่วยหลับระหว่างการตรวจ
11.หากผู้ป่วยต้องการให้แพทย์ตรวจเพื่อยืนยันว่ามีเนื้อสมองตาย (brain  death) หรือไม่ ควรได้รับการสนับสนุนทางอารมณ์จากญาติด้วย

การตรวจและการดูแลภายหลังตรวจการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง

  1. จัดท่าผู้ป่วยให้นอนบนเตียงหรือนอนบนเก้าอี้ที่เอนนอนได้
  2. ติดสายตรวจ หรืออิเล็กโทรดบนหนังศีรษะผู้ป่วยในตำแหน่งต่าง ๆ ที่ได้ ทำความสะอาดไว้แล้ว จากนั้นต่อสายตรวจเข้าเครื่องตรวจคลื่นสมอง
  3. ก่อนเริ่มบันทึก บอกผู้ป่วยให้หลับตา ทำตัวให้ผ่อนคลาย และไม่เคลื่อน ไหวหรือให้อยู่นิ่ง ๆ
  4. เมื่อเปิดเครื่องตรวจ จะเกิดเส้นกราฟ ซึ่งเกิดจากสัญญาณไฟฟ้าในสมอง  ปรากฏบนจอภาพตลอดเวลาที่ทำการบันทึก
  5. ระหว่างการบันทึก สังเกตผู้ป่วยอย่างระมัดระวัง บันทึกการกระพริบตา  การกลืนน้ำลาย การพูดคุย หรือการเคลื่อนไหวอื่น ๆ และบันทึกสิ่งที่พบเหล่านี้บนรอยเส้น (tracing) การเคลื่อนไหวเหล่านี้อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดรอยเส้นที่แปลกไปและเป็นการแปลผลที่ไม่ถูกต้องจากรอยเส้นที่ผิดปกติ
  6. การบันทึกอาจจะหยุดพักเป็นช่วง ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยพักหรือจัดท่าใหม่ให้ผู้ป่วยสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญเพราะการกระสับกระส่ายและความเมื่อยล้าสามารถรบกวนคลื่นสมองได้
  7. หลังจากบันทึกไว้เป็นพื้นฐานเบื้องต้นแล้ว ขณะตรวจจะมีการกระตุ้นการ ทำงานของคลื่นสมองด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้สามารถตรวจพบภาวะผิดปกติได้ชัดเจน เช่น ผู้ป่วยอาจจะถูกขอร้องให้หายใจลึก ๆ และเร็ว ๆ (hyperventilation) นานติดต่อกันเป็น เวลา 3 – 5 นาที ซึ่งอาจจะกระตุ้นคลื่นสมองที่เป็นแบบของความผิดปกติที่มีความผิด  ปกติของอาการชัก หรือความผิดปกติอื่น ๆ เทคนิคนี้ใช้บ่อยเมื่อตรวจไม่พบอาการชัก การกระตุ้นด้วยแสงไฟกระพริบที่มีความถี่ต่าง ๆ (photo stimulation) กระตุ้นที่ใบหน้า ของผู้ป่วย เป็นแสงวาบ (flash) 1 – 20 ครั้ง / วินาที เป็นการตรวจการทำงานของสมอง ส่วนกลางที่แสดงปฏิกิริยาต่อแสงสว่าง การเน้นความผิดปกติในการชักที่ไม่พบหรือการชักที่มีกล้ามเนื้อสั่นกระตุกการบันทึกทำในขณะที่ผู้ป่วยลืมตาและหลับตา
  8. สังเกตผู้ป่วยด้วยความระมัดระวังในเรื่องอาการชักและจัดสิ่งแวดล้อมให้ ปลอดภัย
  9. ช่วยผู้ป่วยเอาครีมอิเล็กโทรดออกจากผมผู้ป่วย
  10. หากผู้ป่วยได้รับยานอนหลับก่อนตรวจ ระวังเรื่องความปลอดภัย โดยให้พักบนเตียงที่มีไม้กั้นเตียง
  11. หากมีการยืนยันว่าผู้ป่วยมีเนื้อสมองตายควรให้การดูแลเรื่องสภาพจิตใจของญาติผู้ป่วยด้วย
  12. หากไม่พบอาการทางด้านร่างกาย จะต้องประเมินทางด้านจิตใจ 


ข้อควรระวังการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง

  1. สังเกตผู้ป่วยอย่างระมัดระวังในเรื่องอาการชัก
  2. หากมีอาการชักเกิดขึ้น ต้องบันทึกแบบแผนการชัก และเตรียมการช่วยเหลือ โดยมีเครื่องดูดเสมหะที่จัดไว้พร้อมใช้

ผลการตรวจที่เป็นปกติ
1.ความถี่ความสูงและรูปร่างของคลื่นสมอง บนสมองข้างในตำแหน่งเดียวกันควรจะมีรูปแบบเท่า ๆ กันหรือใกล้เคียงกันไม่ว่าในขณะหลับหรือตื่น
2.ในผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดีและอยู่ในขณะตื่นคลื่นสมองควรเป็นคลื่นอัลฟา (alpha waves) และบีต้า (beta waves) ต้องตรวจไม่พบคลื่นสมองที่มีความถี่ช้า (slow wave) คือคลื่นที่มีความถี่ช้ากว่า 8 รอบ / วินาที

ผลการตรวจที่ผิดปกติ
1.มีความแตกต่างของความถี่ และ / หรือความสูง  และ / หรือรูปร่างของคลื่นสมอง บนสมองสองข้างในตำแหน่งเดียวกัน
2.ตรวจพบคลื่นที่อาจบ่งบอกถึงพยาธิสภาพในสมอง
2.1 คลื่นสมองที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคลมชักคือคลื่นที่มีลักษณะเร็วและแหลมสูงเรียกว่า spike wave หรือ sharp wave ในโรคลมชักชนิดมีจุดกำเนิดคลื่นชักของเนื้อสมองเฉพาะที่ (focal seizure) จะตรวจพบคลื่นเฉพาะบางบริเวณเท่านั้น ในขณะที่โรค ลมชักชนิดมีจุดกำเนิดคลื่นชักของเนื้อสมองทั่วไป (generalized seizure) จะตรวจพบคลื่นดังกล่าวในทุกบริเวณของสมอง หากตรวจพบคลื่นดังกล่าวในบางบริเวณขณะที่ ผู้ป่วยไม่ได้เกิดอาการชัก อาจช่วยบ่งชี้ว่าสมองบริเวณหนึ่งบริเวณใด หรือทั้งหมดเป็น จุดกำเนิดการชัก
2.2 โรคเนื้องอกในสมอง ฝีในสมอง  ก้อนเลือดใต้เยื่อหุ้มสมองดูรา (subdural hematoma) คลื่นไฟฟ้าผิดปกติที่พบได้เสมอคือคลื่นเดลต้าชนิดเฉพาะที่แต่ไม่มีลักษณะพิเศษจำเพาะ
2.3 ผู้ป่วยมีความรู้สึกเปลี่ยนแปลง หรือซึม หรือหมดสติ ไม่ว่าจะสาเหตุใด ๆ หากพยาธิสภาพขนาดใหญ่จะตรวจพบคลื่นสมองช้าทั่ว ๆ ไป หากพยาธิสภาพมี ขนาดเล็กแต่ทำให้ผู้ป่วยไม่ค่อยรู้สึกตัวก็จะทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติเฉพาะที่ได้
2.4 คลื่นสมองหายไปซึ่งพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตาย

[Total: 4 Average: 5]