การส่องกล้องตรวจทางนรีเวช

การส่องกล้องตรวจทางนรีเวช  (Gynecologic  laparoscopy) โดยการใส่กล้องโทรทรรศน์หรือ  Small  fiber  optic  telescope   (laparoscope) ผ่านหนังหน้าท้องด้านบน  เทคนิคการผ่าตัดนี้อาจใช้วินิจฉัยเพื่อตรวจหาความผิดปกติต่าง ๆ  เช่น  ถุงน้ำ (cysts) พังผืด  (adhesions) เนื้องอก (fibroids) การติดเชื้อ  หรืออาจใช้เพื่อรักษา  เช่น  สลายพังผืด ตัดชิ้นเนื้อรังไข่  ทำหมัน เอาครรภ์นอกมดลูกออก เอาพังผืดออก  เอาน้ำในปีกมดลูกออก  และเอาสิ่งแปลกปลอมออก

การใช้กล้องตรวจช่องท้อง (laparoscopy) อาจเสี่ยงต่อการแทงถูกอวัยวะ  ภายในช่องท้อง ทำให้มีเลือดออก  หรือทำให้สิ่งที่อยู่ภายในลำไส้ทะลักเข้าไปในเยื่อบุช่องท้อง

วัตถุประสงค์ การส่องกล้องตรวจทางนรีเวช

  1. เพื่อหาสาเหตุของอาการปวดในอุ้งเชิงกราน
  2. ช่วยชี้ขาดว่าเป็น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) ท้องนอกมดลูก (ectopic  pregnancy) และมีการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (pelvic inflammatory  disease; PID) หรือไม่
  3. เพื่อประเมินผู้ป่วยที่เป็นหมันว่าเกิดจากมีก้อนในอุ้งเชิงกราน  หรือมีก้อนในท่อนำไข่ (fallopian  tubes)
  4. เพื่อดูระยะของมะเร็ง

การเตรียมผู้ป่วย การส่องกล้องตรวจทางนรีเวช

  1. บอกผู้ป่วยว่าการตรวจนี้ใช้บ่งบอกความผิดปกติของมดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่
  2. บอกผู้ป่วยว่าต้องงดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนตรวจ
  3. บอกวิธีการตรวจ สถานที่ตรวจแก่ผู้ป่วย
  4. บอกผู้ป่วยว่าจะได้รับยาชาเฉพาะที่หรืออาจต้องดมยาสลบ
  5. บอกผู้ป่วยว่าอาจรู้สึกเจ็บบริเวณที่มีการเจา
  6. ให้ผู้ป่วยหรือญาติเซ็นใบยินยอมรับการตรวจรักษาก่อนตรวจ
  7. ตรวจสอบประวัติของผู้ป่วยเกี่ยวกับการแพ้ยา และตรวจสอบว่าผู้ป่วยแพ้ยาชาที่ต้องใช้สำหรับการตรวจนี้หรือไม่
  8. ต้องแน่ใจว่าผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ  จะเสร็จสมบูรณ์ก่อนการส่องกล้องตรวจในครั้งนี้
  9. บอกผู้ป่วยให้ถ่ายปัสสาวะก่อนการตรวจ

การตรวจและการดูแลภายหลังตรวจ การส่องกล้องตรวจทางนรีเวช

  1. ผู้ป่วยที่ต้องดมยาสลบ ต้องจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย พาดเท้าบนขาหยั่ง (lithotomy  position)
  2. ผู้ตรวจใส่สายสวนในกระเพาะปัสสาวะให้ผู้ป่วย  และตรวจบริเวณช่องเชิงกรานแบบใช้ 2 มือ (bimanual) เพื่อตรวจดูความผิดปกติที่อาจเป็นข้อห้ามตรวจ และเพื่อให้แน่ใจว่ากระเพาะปัสสาวะก่อนการตรวจ
  3. ใส่เครื่องมือที่มีชื่อเรียกว่า  ทีนาคูลัม (tenaculum) เข้าไปในปากช่องคลอด (cervix) เพื่อจับปากมดลูก และใส่เครื่องโยงมดลูก (uterine   manipulator) ลงมีดกรีด (incision) ที่เหนือสะดือหรือรอบ ๆ สะดือ
  4. ใส่เข็ม veress  แทงเข้าไปในช่องท้อง และใส่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide; CO2) หรือไนตรัสออกไซด์ (nitrous oxide) เพื่อให้ก๊าซช่วยดันผนังช่องท้องออกและช่วยดันอวัยวะไม่ให้ถูกกับโทรคา (trocar) เข็มและชื้ท (sheath) ที่ใส่เข้าไปในช่องท้อง (peritoneal cavity)
  5. หลังจากเอาโทรคาออกแล้ว ให้ใส่กล้องเข้าทางหน้าท้อง ผ่านชี้ทเพื่อตรวจดูกระดูกเชิงกรานและช่องท้อง
  6. เพื่อประเมินว่าท่อนำไข่อุดตันหรือไม่ ตรวจโดยการใส่สีเข้าทางช่องคลอดและสังเกตดูว่ามีการรั่วไหลออกมาทางท่อนำไข่หรือไม่
  7. หลังจากตรวจแล้ว  อาจตัดชิ้นเนื้อรังไข่ไปตรวจต่อไป
  8. ตรวจสอบและติดตามผลการเปลี่ยนแปลง อย่างต่อเนื่องของสัญญาณชีพและตรวจปัสสาวะ บันทึกการเปลี่ยนแปลงทันที ซึ่งช่วยประเมินว่ามีภาวะแทรกซ้อน  หรือไม่
  9. ตรวจสอบและติดตามผลการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับปฏิกิริยา การแพ้ยาหลังจากให้ยาสลบ ติดตามสมดุลอิเล็กโทรไลต์ ระดับฮีโมโกลบิน และฮีมา โตคริตของผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายหลังจากผู้ป่วยเริ่มรู้สึกตัว
  10. บอกผู้ป่วยให้จำกัดการเคลื่อนไหว  2 – 7 วันตามความจำเป็น
  11. บอกผู้ป่วยว่าจะมีอาการปวดท้องและปวดไหล่ได้ซึ่งเป็นอาการที่พบได้เป็นปกติ  แต่จะหายไปภายใน 24 – 36  ชั่วโมง
  12. ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา และติดตามผลการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

ข้อควรระวัง การส่องกล้องตรวจทางนรีเวช

  1. ใช้กล้องส่องตรวจช่องท้อง (Laparoscopy) ห้ามทำในผู้ป่วยที่มีมะเร็งที่ผนังหน้าท้อง โรคปอดหรือโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular  disease) ลำไส้อุดตัน (Intestinal  obstruction) คลำพบก้อนในช่องท้อง มีไส้เลื่อนขนาดใหญ่ในช่องท้อง เป็นวัณโรคเรื้อรัง (Chronic tuberculosis) หรือผู้ป่วยมีประวัติเคยมีการอักเสบ ในช่องท้อง (Peritonitis)
  2. ระหว่างการตรวจ ให้ตรวจสอบการไหลของปัสสาวะทางสายสวนปัสสาวะด้วย

ผลการตรวจที่เป็นปกติ

มดลูกและท่อนำไข่มีขนาดรูปร่างผิดปกติ ไม่มีพังผืด และเคลื่อนไปมาได้ ไข่มีขาดและรูปร่างปกติ ไม่พบถุงน้ำและโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สีที่ฉีดเข้าไปผ่านทางช่องคลอดไหลผ่านอย่างอิสระ

ผลการตรวจที่ผิดปกติ

พบโรคถุงน้ำในรังไข่ (Ovarian cyst) เหมือนฟองอากาศบนผิวของรังไข่  ลักษณะของถุงน้ำอาจใสภายในอาจเป็นน้ำ  น้ำเหลือง  หรือเป็นเมือก  หรือถ้าภายในถุงน้ำเป็นเลือดอาจมีสีแดง  น้ำเงิน  หรือน้ำตาล  นอกจากนี้อาจมีลักษณะเป็นพังผืดหนา

โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่  มีสีน้ำเงินบนเยื่อบุช่องท้อง  หรือซีโรซ่า (serosa) ของเชิงกรานข้างใดข้างหนึ่งหรือภายในช่องท้องพบเนื้องอก (fibroids) เป็นก้อนบนมดลูก มีการโป่งพองของท่อรังไข่เกิดจากการติดเชื้อทำให้มีการอักเสบ ท่อนำไข่มีขนาดใหญ่ ตั้งครรภ์นอกมดลูกท่อนำไข่ปริออก อุ้งเชิงกรานอักเสบ มีการติดเชื้อหรือ  เป็นฝี

[Total: 1 Average: 5]