การตัดม้าม คือ หัตถกรรมกำจัดม้าม หรือที่เรียกว่า splenectomy ต้องนำมาพิจารณาหากว่าม้ามเสียหาย ป่วย หรือขยายใหญ่มากเกินไป โดยอาจเป็นเพียงการกำจัดบางส่วนของม้ามออกเท่านั้นก็ได้ (partial splenectomy) เมื่อคุณต้องเข้ารับการผ่าตัดม้าม คุณจะได้รับการฉีดภูมิต่าง ๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
การรักษาโดยการตัดม้าม เมื่อไรจึงควรตัดม้าม
– เมื่อมีม้ามโตมากจนอึดอัด
– ต้องให้เลือดถี่กว่าเดิมมาก เช่น ทุก 2-3 สัปดาห์ ก็ยังไม่หายซีด
– ต้องมีอายุมากกว่า 4-5 ปี เพราะถ้าตัดม้ามในเด็กเล็กจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่าเด็กโต
ผลดีของการตัดม้าม
– หายอึดอัด รู้สึกสบายขึ้น
– อาการซีดมักจะดีขึ้น การให้เลือดลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรคฮีโมโกลบินเอ็กซ์ มักไม่ต้องให้เลือดอีกเลย ในเบต้าธาลัสซีเมียอาการจะดีขึ้น การให้เลือดลดลง
ผลเสียของการตัดม้าม
– จะติดเชื้อโรคบางชนิดได้ง่าย
– อาจมีธาตุเหล็กสะสมมากขึ้น เพราะมีการดูดซึมธาตุเหล็กจากลำไส้เพิ่มขึ้น
– บางรายมีเกร็ดเลือดสูงมากหลังตัดม้ามในระยะแรก
การเตรียมตัวก่อนรับการผ่าตัดม้าม
- ควรพักผ่อนให้เต็มที่
- ผู้ป่วยจะได้รับตรวจเลือด ตรวจคลื่นหัวใจ
- เตรียมเลือด เพื่อใช้ในขณะผ่าตัด
- เตรียมความสะอาดทั่วไปก่อนผ่าตัด 1 วัน และวันผ่าตัดควรอาบน้ำ และเปลี่ยนผ้าด้วยชุดที่สะอาด
- งดน้ำ งดอาหารก่อนผ่าตัด 6-8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและอาการสำลักอาหารและน้ำเข้าหลอดลม
- เก็บของมีค่า เครื่องประดับต่างๆ ก่อนไปห้องผ่าตัด
- เซ็นใบยินยอมอนุญาตให้แพทย์ทำการผ่าตัด
สภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัด
- ตำแหน่งของแผล อยู่บริเวณใต้ชายโครงด้านซ้าย
- การเย็บแผลผ่าตัด แพทย์จะเย็บด้วยไหมไม่ละลาย หรือเย็บด้วยลวดเย็บแผล
- ระยะเวลาการหายของแผลผ่าตัด ใช้ระยะเวลาประมาณ 7-10 วัน จึงนัดมาตัดไหม หรือเอาลวดเย็บแผลออก
การปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน
- ดูแลแผลผ่าตัดไม่ให้ถูกน้ำ
- สังเกตอาการผิดปกติหาก ปวด บวม แดง หรือมีไข้ ควรมาพบแพทย์ทันที
- รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
- พบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการ
- การปฏิบัติทั่วไป : ต้องมีสุขอนามัยที่ดี กินอาหารที่มีประโยชน์ และสะอาด
- เกี่ยวกับภาวะเหล็กเกิน ควรตรวจสอบระดับธาตุเหล็ก เพื่อตรวจดูซีรัมเฟอไรตินทุกปี และขอคำแนะนำจากแพทย์เกี่ยวกับการให้ยาขับธาตุเหล็ก
– เกี่ยวกับภาวะเกร็ดเลือดสูง ในเด็กมักเป็นชั่วคราวในระยะแรก ๆ ภายหลังการตัดม้าม อาจจะทำให้เส้นเลือดถูกอุดตันได้ แพทย์จะให้ยาแอสไพรินในขนาดต่ำชั่วคราว ต้องติดตามตรวจนับเกร็ดเลือดทุกเดือน แพทย์จะหยุดให้ยา แอสไพรินเมื่อจำนวนเกล็ดเลือดลดล