การตรวจสแกนตับและทางเดินน้ำดี

การตรวจสแกนทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (NUCLEAR MEDICINE SCANS)

การตรวจสแกนตับและทางเดินน้ำดี (Hepatobiliary scan)

การตรวจสแกนตับและทางเดินน้ำดี (Hepatobiliary scan) อาจเรียกว่า Hepatobiliary imaging cholescintigraphy หรือ Gallbladder nuclear scanning  ซึ่งเป็นการตรวจระบบตับและทางเดินน้ำดี เพื่อชี้ขาดเกี่ยวกับถุงน้ำดี และท่อน้ำดีร่วม  ระหว่างถุงน้ำดีและตับ (Common bile ducts; CBD) จากการสแกน โดยฉีด IDA (iminodiacetic acid) ซึ่งฉาบด้วย technetium การตรวจนี้ใช้ประเมินถุงน้ำดี ที่ว่างเปล่า

วัตถุประสงค์ การตรวจสแกนตับและทางเดินน้ำดี

เพื่อดูการทำงานของตับและทางเดินน้ำดีว่าปกติหรือไม่ หรือเสียไปมากน้อยเพียงใด และช่วยในการวินิจฉัยโรคบางอย่าง เช่น ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันถุง น้ำดีอักเสบเรื้อรัง การอุดกั้นของทางเดินน้ำดี เป็นต้น

การเตรียมตรวจ การตรวจสแกนตับและทางเดินน้ำดี

  1. บอกผู้ป่วยว่า การตรวจนี้ช่วยสืบค้นการอักเสบ หรือการอุดกั้นของถุงน้ำดีและท่อน้ำดี
  2. บอกผู้ป่วยให้งดอาหาร โดยผู้ใหญ่งดอาหารหลังเที่ยงคืน  เด็กงดนมหรืออาหารมือเช้า ดื่มน้ำเปล่าได้
  3. บอกผู้ป่วยให้มาถึงห้องตรวจก่อนเวลานัดประมาณ 30 นาที เพื่อเตรียมตัวก่อนตรวจ
  4. ผู้ป่วยจะต้องไปปัสสาวะก่อนเวลาตรวจ  แล้วเข้าห้องสแกนและขึ้นนอนบนเตียงตรวจ       
  5. บอกผู้ป่วยว่าแพทย์จะแดสารเภสัชรังสี (radionuclide) ให้ผู้ป่วยทางหลอดเลือดดำ
  6. เจ้าหน้าที่รังสีเทคนิคจะบันทึกภาพเป็นระยะ ๆ โดยใช้เวลาประมาณ 1 – 4 ชั่วโมง ในขณะที่ผู้ป่วยนอนนิ่ง ๆ เพื่อให้ผลการตรวจมีคุณภาพดี
  7. ต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่แพ้สารเภสัชรังสีซึ่งผู้ป่วยต้องงดอาหาร 2 – 6 ชั่วโมง  ก่อนสแกน และให้ผู้ป่วยทำตามที่แพทย์บอกโดยอยู่นิ่ง ๆ ระหว่างสแกน
  8. บอกผู้ป่วยให้ถอดเครื่องประดับและสิ่งที่เป็นโลหะ สวมเสื้อคลุม และ  ปัสสาวะก่อนตรวจ
  9. บอกผู้ป่วยว่าอาจได้รับซินคาไลด์ (sincalide) ก่อนการตรวจ เพื่อกระตุ้นถุงน้ำดีให้มีการหดตัว และทำให้ว่างก่อนตรวจ
  10. ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่ต้องรับผิดชอบ เซ็นใบยินยอมรับการตรวจรักษาให้ เรียบร้อยก่อนตรวจ
  11. หลังการถ่ายภาพ เจ้าหน้าที่รังสีเทคนิคจะประมวลให้แพทย์ตรวจสอบความถูกต้อง เรียบร้อย อาจต้องถ่ายภาพเพิ่มหากจำเป็น หากไม่เรียบร้อยอาจต้องถ่ายใหม่
  12. การตรวจใช้เวลาทั้งสิน 4 – 5 ชั่วโมง
  13. บอกผู้ป่วยว่าสารเภสัชรังสีจะขับถ่ายออกจากร่างกายภายใน 6 – 24 ชั่วโมง
  14. บอกผู้ป่วยว่าจะมีการถ่ายภาพหลังจากฉีดสารเภสัชรังสี 24 ชั่วโมง
  15. สำหรับเด็กเล็กจะต้องตรวจทั้งวัน และอาจต้องมาในวันรุ่งขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

การตรวจ การตรวจสแกนตับและทางเดินน้ำดี

ฉีด technetium (99mTc) HIDA (hepatobiliary iminodiacetic acid) (ปัจจุบัน นิยมใช้ 99mTc DISIDA = Di – isopropyl iminodiacetic acid) ซึ่งจะ extract ดีกว่า HIDA และผ่านท่อน้ำดีออกสู่ลำไส้เล็กในเวลาสั้นกว่า ทำให้เห็นท่อน้ำดีได้ชัดและเร็ว  และสามารถใช้ในแม้ในผู้ป่วยที่มีระดับบิลิรูบิน (bilirubin) 15 – 30 มิลลิกรัม / เดซิลิตร) เข้าทางหลอดเลือดดำ สารรังสีจะเข้าสู่ร่างกายจับกับโปรตีนอย่างหลวม ๆ และผ่านเข้าสู่เซลล์ตับประมาณร้อยละ 85 ขับทางไตร้อยละ 15 (ยกเว้นหากตับเสื่อมจะขับออกทางไตมากขึ้น) ทำให้สารรังสีในพลาสม่าลดลงจนเกือบหมดในเวลา 5 นาที ในช่วงนี้จะเห็นสารรังสีในตับ ช่วยให้ทราบหน้าที่ของเซลล์ตับ ต่อมา 10- 15 นาที หลังฉีดยา จะเริ่มเห็น Rt. & Lt. hepatic duct ซึ่งรวมกันเป็น Common hepatic duct หลัง จากนั้นจะเห็นท่อน้ำดี (Common bile duct;CBD) แต่จะไม่เห็นท่อที่นำน้ำดีเข้า – ออก ถุงน้ำดี (cystic duct) เพราะมีขนาดเล็ก จะเริ่มเห็นถุงน้ำดี ต่อมาจะเห็นสารรังสีเข้าสู่ลำไส้ตรงตำแหน่งที่เป็นกระเปาะที่อยู่ตรงลำไส้เล็กส่วนต้น (ampulla of Vater) ตรงส่วนที่ 2 ของลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ปกติจะชัดภายใจ 30 – 60 นาที และ จะเห็นถุงน้ำดีโตขึ้นเรื่อย ๆ โตสุด 1 ชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมง 30 นาที หากไม่เห็นภาพถุงน้ำดี แพทย์จะฉีดมอร์ฟีนทางหลอดเลือดดำระกวาสงตรวจ เพื่อช่วยให้หูรูดออกดี     (Sphincter of Oddi) พยายามขับเอาสารทึบรังสีไปยังถุงน้ำดี

การดูแลหลังตรวจ การตรวจสแกนตับและทางเดินน้ำดี

1.บันทึกสัญญาณชีพทุก 15 – 30 นาที
2.สังเกตผู้ป่วยอย่างระมัดระวังใน 1 ชั่วโมงแรกหลังจากการตรวจเพื่อดูปฏิกิริยาการแพ้สารเภสัชรังสี
3.บอกผู้ป่วยให้ดื่มน้ำมาก ๆ ยกเว้นมีข้อห้าม เป็นเวลา 24 – 48 ชั่วโมง เพื่อขับสาเภสัชรังสีออกจากร่างกาย
4.บอกผู้ป่วยให้ล้างทวารหนักทันทีที่ถ่ายปัสสาวะ และล้างด้วยสบู่และน้ำ
5.ผู้ดูแลควรใส่ถุงมือทุกครั้งที่ผู้ป่วยปัสสาวะหลังการตรวจ  ถุงมือจะต้องล้างเอาสารเภสัชรังสีออกหรือใช้ถุงมือแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

ข้อควรระวัง การตรวจสแกนตับและทางเดินน้ำดี

  1. การตรวจนี้มีข้อห้ามสำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงที่ให้นมบุตร เพราะทารกในครรภ์หรือเด็กทารกจะได้รับสารเภสัชรังสีด้วย
  2. ระมัดระวังความเสี่ยงและการป้องกันสารเภสัชรังสีจากการตรวจ

ผลการตรวจที่เป็นปกติ การตรวจสแกนตับและทางเดินน้ำดี

จากสแกนจะแสดงภาพถุงน้ำดีมีขนาด  รูปร่าง  และหน้าที่ปกติ  เห็นถุงน้ำดีและเห็นท่อน้ำดี (Common bile duct) ชัดเจน

ผลการตรวจที่ผิดปกติ การตรวจสแกนตับและทางเดินน้ำดี

ภาพอาจจะเห็นการอักเสบของถุงน้ำดีแบบเฉียบพลันแบบเรื้อรัง  หรือ มีการอุดกั้นของท่อน้ำดี

[Total: 1 Average: 5]