แมมโมแกรม คือ การตรวจหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรกด้วยการถ่ายภาพรังสีเต้านมในปริมาณต่ำกว่าการฉายรังสีหรือแมมโมแกรม (Mammography) เป็นการตรวจเต้านมเพื่อช่วยคัดกรองมะเร็งเต้านม (Breast cancer) ช่วยชี้ขาดว่าเป็นถุงน้ำ (cysts) หรือเนื้องอก (tumors) โดยเฉพาะการตรวจ ร่างกายแล้วไม่พบก้อน การตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่สงสัยอาจจะต้องทำเพื่อให้แน่ใจว่าเป็น เซลล์มะเร็งหรือไม่ การคัดกรองต่อจากการทำแมมโมแกรม เช่น อัลตราซาวนด์ (ultrasonography) หรือ thermography ถึงแม้ว่าแมมโมแกรมจะสามารถบ่งชี้ว่าเป็น มะเร็งเต้านมได้ถึงร้อยละ 85 – 90 ก็ตาม ค่าตรวจโรงพยาบาลรัฐประมาณ 1,000 บาท
วัตถุประสงค์ แมมโมแกรม (Mammography)
- เพื่อคัดกรองเกี่ยวกับเซลล์มะเร็งของเนื้องอกที่เต้านม
- เพื่อสืบค้นก้อนที่เต้านมที่คลำได้และคลำไม่ได้ มีอาการเจ็บที่เต้านม หรือหัวนมมีสิ่งขับหลั่งออกมา
- เพื่อช่วยแยกระหว่างโรคของเต้านมที่ใช่มะเร็ง (Benign breast disease) กับมะเร็งเต้านม (Breast cancer)
- เพื่อเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีมะเร็งเต้านมที่กำลังรักษาด้วยการผ่าตัดและฉายรังสี
การเตรียมผู้ป่วย แมมโมแกรม (Mammography)
- ประเมินความเข้าใจของผู้ป่วยต่อการตรวจ ตอบคำถามและแก้ไขความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้อง
- บอกผู้ป่วยว่าใครจะเป็นผู้ตรวจและสถานที่ตรวจ
- บอกผู้ป่วยไม่ให้ทาแป้งหรือใส่น้ำหอมที่รักแร้ในวันตรวจ
- หากผู้ป่วยเสริมเต้านมให้แจ้งก่อนถึงกำหนดตรวจแมมโมแกรมด้วย
- บอกผู้ป่วยว่าการตรวจจะใช้เวลาประมาณ 15 นาทีโดยผู้ป่วยจะต้องอยู่คอยขณะที่กำลังตรวจสอบฟิล์ม เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถอ่านได้หรือไม่ เพราะเป็นไปได้มากที่ผลจะเป็นผลบวกลวง (false positive)
- ก่อนตรวจให้ผู้ป่วยสวมเสื้อคลุมที่สามารถเปิดด้านหน้า และให้ถอดเครื่องประดับและเสื้อผ้าที่อยู่เหนือเอว
การตรวจและการดูแลภายหลังตรวจ แมมโมแกรม (Mammography)
- ให้ผู้ป่วยยืนและวางเต้านมข้างหนึ่งบนโต๊ะเหนือ X – ray cassette
- กดแผ่นโลหะ (plate) ลงบนเต้านมและบอกผู้ป่วยให้กลั้นหายใจไว้ แล้วถ่ายภาพเอกซเรย์จากด้านบนเหนือศีรษะ (craniocaudal view) เครื่องตรวจจะหมุน และเต้านมจะถูกกดอีกครั้ง โดยถ่ายภาพเอกซเรย์จากด้านข้าง (lateral view)
- ตรวจช้ำเต้านมอีกข้างหนึ่ง
- หลังจากได้ฟิล์มเอกซเรย์แล้ว จะได้รับการตรวจดูให้แน่ใจว่าสามารถอ่านได้หรือไม่
ผลการตรวจที่เป็นปกติ แมมโมแกรม (Mammography)
การตรวจแมมโมแกรมที่ปกติ จะแสดงความปกติของท่อน้ำนม ต่อมเนื้อเยื่อ และไขมันของเต้านมที่ปกติ ไม่พบก้อนที่ผิดปกติหรือไม่พบการเกาะของหินปูน
ผลการตรวจที่ผิดปกติ แมมโมแกรม (MAMMOGRAPHY)
อาจพบถุงน้ำมีลักษณะเรียบใส ซึ่งชวนให้นึกถึงเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง (benign cysts) แต่ถ้ามีลักษณะขรุขระ ไม่มีขอบเขตแน่ชัด และมีบริเวณที่ทึบแสง จะชวนให้นึกถึงเนื้องอกที่เป็นมะเร็ง (malignant tumor) ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นอันเดียวและข้างเดียว ส่วนเนื้องอกที่ไม่ใช้มะเร็งมีแนวโน้มที่จะเกิดสองข้าง โดยการตรวจต่อไปเมื่อสงสัยว่าจะเป็นเซลล์มะเร็งคือการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจเพื่อยืนยันว่าใช่มะเร็งเต้านมหรือไม่
ข้อดีของ แมมโมแกรม (MAMMOGRAPHY)
- เห็นจุดหินปูนในเต้านมได้ ซึ่งเป็นสัญญาณของมะเร็งเต้านม
- เห็นก้อนมะเร็งเต้านมที่มีขนาดเล็กมาก คลำไม่พบและ อัลตราซาวด์ไม่ครบ
- ใช้ได้ดีในคนที่เริ่มสูงอายุ (มากกว่า 40 ปี) ซึ่งเนื้อเต้านมไม่หนาแน่นมาก
ข้อด้อยของ แมมโมแกรม (MAMMOGRAPHY)
- ใช้ไม่ดีในผู้ป่วยอายุน้อย (ต่ำกว่า 35 ปี) ซึ่งเนื้อนมแน่นทำให้แปลผลแมมโมแกรมยาก คนอายุน้อยจะใช้การอัลตราซาวด์แทน
- ในกรณีที่พบก้อน ไม่สามารถบอกได้ว่าก้อนนั้นเป็นน้ำหรือเป็นก้อนเนื้อ
- แมมโมแกรมให้ผลชัดที่สุด เมื่อบีบเต้านมให้แบนมากที่สุด อาจทำให้บางคนเจ็บปวดได้ เจ้าหน้าที่จะไม่บีบจนเจ็บเกินไป
- งดตรวจช่วงเต้านมตึงคัด เช่นช่วงก่อนและระหว่างมีประจำเดือน มีการคัดตึงของเต้านม เพราะมีน้ำเข้าไปอยู่ในเนื้อของเตานมมากขึ้น ส่งผลรบกวนแมมโมแกรม