การตรวจเอกซเรย์ส่วนช่องกระดูกสันหลัง ไขสันหลัง และประสาทสันหลัง (Myelography) เป็นการตรวจเอกซเรย์ส่วนช่องกระดูกสันหลัง ไขสันหลัง และประสาทสันหลัง ผู้ป่วยจะได้รับการฉีดสารทึบรังสีเข้าสู่ช่องกระดูกสันหลัง โดยแพทย์ผู้ตรวจจะฉีดยาชาเฉพาะที่ให้ก่อน และถ่ายภาพเอกซเรย์ในท่าต่าง ๆ หลายภาพ เพื่อการตรวจดูรายละเอียดของกระดูกสันหลัง ไขสันหลัง และประสาทสันหลัง หลังการตรวจเสร็จแล้ว ควรให้ผู้ป่วยนอนราบบนเตียงเป็นเวลา 6 ชั่วโมง
วัตถุประสงค์
1.เพื่อประเมินสาเหตุของอาการทางระบบประสาท เช่น อาการชา อาการ ปวด อาการอ่อนแรง
2.เพื่อสามารถบอกได้ว่ารอยโรคที่พบเป็นก้อนเนื้องอกหรือไม่
การเตรียมผู้ป่วย
1.บอกผู้ป่วยว่าการตรวจนี้จะช่วยให้มองเห็นการอุดตันในไขสันหลัง
2.บอกผู้ป่วยให้งดน้ำงดอาหาร 8 ชั่วโมงก่อนตรวจ
3.อธิบายวิธีตรวจและบอกสถานที่ตรวจ
4.บอกผู้ป่วยว่าอาจจะรู้สึกร้อนวูบ ๆ วาบ ๆ ขณะฉีดสารทึบรังสี และรู้สึกปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนหลังฉีดสารทึบรังสี
5.การตรวจจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
6.สำหรับผู้ป่วยนอก บอกผู้ป่วยให้นำญาติมาพร้อมกับผู้ป่วยด้วย
7.ตรวจดูว่าผู้ป่วยเซ็นใบยินยอมรับการตรวจรักษาเรียบร้อยหรือยัง
8.หากผู้ป่วยเคยแพ้อาหารทะเล หรือแพ้ไอโอดีน กรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการตรวจ
9.ให้ผู้ป่วยถอดเครื่องประดับหรือสิ่งที่เป็นโลหะออก โดยเฉพาะในบริเวณที่ต้องเอกซเรย์
10.บอกผู้ป่วยว่าหลังตรวจต้องนอนศีรษะสูง 6 – 8 ชั่วโมง และจะต้องนอน บนเตียงอีก 6 – 8 ชั่วโมง หากสารทึบรังสีมีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ จะต้องขจัดออกจาก ร่างกายหลังตรวจ และผู้ป่วยจะต้องอยู่ในท่านอนราบ 6 – 24 ชั่วโมง
11.ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการเจาะหลัง สวนอุจจาระ ได้รับยานอนหลับ anticholinergic เช่น อะโทรปีนซัลเฟต (atropine sulfate) เพื่อช่วยในการหลั่งสิ่งขับ หลั่งต่าง ๆ จากต่อมมีท่อลดลง และช่วยลดการกลืนน้ำลายระหว่างตรวจ เตรียมผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยเฉพาะ coagulation และ kidney function studies ให้พร้อมในแฟ้มรายงานของผู้ป่วย
การตรวจและการดูแลหลังตรวจ
1.หลังจากเจาะแล้วจะถ่ายภาพดูตำแหน่งของเข็มที่อยู่ในช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มสมองชั้นกลางกับชั้นใน (subarachnoid space) เพื่อความมั่นใจอาจนำน้ำไขสันหลัง (CSF) ออกมาตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วย
2.จัดให้ผู้ป่วยนอนคว่ำและผูกยึดส่วนแขน ข้อเท้าเงยคางขึ้นเพื่อป้องกันสารทึบรังสีไหลผ่านไปยังกะโหลกศีรษะ รองใต้คางด้วยผ้าเช็ดตัวหรือฟองน้ำเพื่อให้ ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบายขึ้น
3.หากผู้ป่วยบ่นว่าปวดศีรษะหรือกลืนลำบาก หรือไม่สามารถหายใจลึก ๆ ได้อาจให้พักการตรวจเป็นระยะ ๆ
4.แพทย์จะฉีดสารทึบรังสี และยกเตียงให้ศีรษะสูงขึ้น เพื่อให้สีไหลผ่านไปยัง Subarachnoid space
5.การไหลของสารทึบรังสีจะเห็นได้จากการเอกซเรย์ภาพเคลื่อนไหว (fluoroscope) และจากการเอกซเรย์โดยทั่วไป
6.อาจต้องดูดเอาสารทึบรังสีออก เอาเข็มออก ทำความสะอาดบริเวณที่เจาะด้วยโพวิโดนไอโอดีน (povidone iodine) และปิดแผลไว้ด้วย
ก๊อสเล็ก ๆ
7.ให้ผู้ป่วยนอนราบบนเตียงนาน 24 ชั่วโมงหลังตรวจ
8.บันทึกสัญญาณชีพ และประเมินภาวะระบบประสาท neurologic Status อย่างน้อยทุก 15 นาทีชั่วโมงแรก ทุก 30 นาที อีก 2 ชั่วโมง และทุก 4 ชั่วโมง เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
9.ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ และควรปัสสาวะให้ได้ภายใน 8 ชั่วโมงหลังกลับไปที่ห้อง
10.หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือแพ้ยาใด ๆ ให้รับประทานอาหารและทำกิจวัตรประจำวันได้ 1 วันหลังตรวจ
3.อธิบายการตรวจ รวมทั้งบอกว่าใครเป็นผู้ตรวจ สถานที่ตรวจ
4.เตรียมแป้งแบเรียม อาจผสมกับนมและรสช็อกโกแลต ให้ผู้ป่วยดื่ม แม้ว่าจะไม่อร่อย ไม่อยากกลืน ผู้ป่วยจะต้องดื่มระหว่างการตรวจอีกประมาณ 300 – 400 มิลลิลิตร
5.บอกผู้ป่วยจะต้องนอนบนเตียงเอกซเรย์
6.บอกผู้ป่วยว่าอาจจะได้รับยาลดกรด ยากลุ่มยับยั้งตัวรับฮีสทามีน (histamine blockers) และยายับยั้งการหลั่งกรด (proton pump inhibitors) หากสงสับว่าจะมีการขย้อน
7.ให้ผู้ป่วยถอดแหวน ฟันปลอม เครื่องประดับออกก่อนเอกซเรย
การตรวจและการดูแลภายหลังตรวจ
1.บอกให้ผู้ป่วยทราบถึงวิธีการตรวจ ใช้เวลาประมาณ 20 – 45 นาที
2.งดน้ำงดอาหารหลังเที่ยงคืน หรืออย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนตรวจ
3.ให้กลืนแป้งแบเรียมผสมน้ำ 1:1 จำนวน 300 มิลลิลิตร แป้งนี้มีลักษณะเหมือนแป้งเปียก ควรแต่งกลิ่นแต่งรสเพื่อให้รับประทานง่ายขึ้น
4.จัดให้ผู้ป่วยนอนบนเตียง ซึ่งปรับหมุนเอียงซ้าย – ขวา หรือสูงต่ำได้ โดยเตียง
นี้จะอยู่ด้านหลังฉากเครื่องฟลูออโรสโคปหรือเครื่องเอกซเรย์ประเภทแสดงภาพบนจอทีวี (เพิ่มอีก 1 เครื่อง) สามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้ทันทีในขณะตรวจ
5.กรณีมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในลำคอ เช่น เข็มหมุด ก้างปลา ให้ผู้ป่วยกลืนก้อนแบเรียมชนิดพิเศษเข้าไป หากผู้ป่วยรู้สึกมีอาการติดคอ ให้ไอออกมาแรง ๆ
6.ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหาร และกระตุ้นให้ดื่มน้ำมาก ๆ
7.อาจใช้ยาระบาย เพื่อขับแป้งแบเรียม และบอกผู้ป่วยให้ทราบว่าอุจจาระที่ถ่ายออกมาจะมีสีจางหรือขาวอยู่ประมาณ 2 – 3 วันหลังตรวจ
ข้อควรระวัง
ระวังในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของลำไส้ และหญิงตั้งครรภ์
ผลการตรวจที่เป็นปกติ
หลังจากกลืนแป้งแบเรียมผ่านไปยังลิ้น คอหอย หลอดอาหารจะใช้เวลาประมาณ 2 วินาที แล้วผ่านต่อไปยังกระเพาะอาหาร จนพบว่าบริเวณเยื่อบุด้านในของคอหอย และหลอดอาหารปกติ และเยื่อบุเรียบ สม่ำเสมอ
ผลการตรวจที่ผิดปกติ
อาจพบไส้เลื่อนกะบังลม (Hiatal hernia) ภาวะการอักเสบของกระเปาะของลำไส้ใหญ่ (Diverticula) และมีเลือดออก (Varices) อาจมีการสำลักเข้าไปในปอด อาจพบการตีบ มีเนื้องอก มีแผล มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ มีแผลจากการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ