โรคต่อมลูกหมากโต (BPH) คือ โรคเสื่อมที่พบเห็นทั่วไปในผู้ป่วยชายมีอายุในประเทศฮ่องกง
อัตราการเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นตามอายุ ประมาณครึ่งหนึ่งของประชาชนชายอายุเกิน 50
เริ่มมีอาการของโรคต่อมลูกหมากโต เกือบร้อยละ 90 ของชายอายุมากกว่า 80
ป่วยเป็นโรคต่อมลูกหมากโตและครึ่งหนึ่งของปริมาณดังกล่าวมีอาการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ
อาการ ต่อมลูกหมากโต
อาการที่พบได้บ่อยคือ
- ปัสสาวะไม่สุดเหมือนคนที่ยังไม่ได้ปัสสาวะ
- ปัสสาวะบ่อย
- ปัสสาวะสะดุดขณะปัสสาวะ
- อั้นปัสสาวะไม่อยู่
- ปัสสาวะไม่พุ่ง
- ปัสสาวะต้องเบ่งเมื่อเริ่มปัสสาวะ
- ต้องตื่นกลางคืนเนื่องจากปวดปัสสาวะ
ป้องกัน ต่อมลูกหมากโต
ความเสี่ยงของการเป็นโรค BPH เพิ่มขึ้นตามอายุ ยังไม่แน่ชัดว่าอะไรที่เป็นตัวป้องกันอาการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม วิธีต่อไปนี้ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรค BPH:
- การตรวจสุขภาพเป็นประจำ รายงานจากสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริการะบุว่าชายอายุมากกว่า 50 ปีควรเข้ารับการตรวจต่อมลูกหมากทุกปีเพื่อตรวพบและรักษาโรค BPH
- การตรวจทางทวารหนัก (DRE) ชายอายุมากกว่า 50 ปีควรการตรวจทางทวารหนักอย่างน้อยปีละครั้ง การตรวจนี้เป็นการตรวจขนาดและรูปร่างของต่อมลูกหมาก และตรวจปุ่มเนื้อที่ผิดปกติหรือการอักเสบ
- รักษาสุขภาพที่แข็งแรงและปรับใช้การด าเนินชีวิตที่ท าให้สุขภาพดีขึ้น
การรักษา ต่อมลูกหมากโต
แต่ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายๆอย่างประกอบกันด้วย โดยเฉพาะความคาดหวังต่อผลการรักษาและสภาพร่างกายของผู้ป่วย บางกรณีอาการไม่มากแต่มีผลรบกวนคุณภาพชีวิตมากก็อาจเลือกรักษาโดยการผ่าตัดได้
ขั้นตอนการรักษา ต่อมลูกหมากโต
1. หากผู้ป่วยมีอาการไม่มากนักและไม่วิตกกังวลจนเกินไป แพทย์อาจแนะนำให้ดูอาการสักระยะหนึ่ง ซึ่งระหว่างนี้ผู้ป่วยควรเอาใจใส่เรื่องสุขภาพของตนเองให้ดี และรีบมาพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติมากขึ้น
2. ถ้าผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยเพราะดื่มน้ำมาก โดยเฉพาะก่อนนอนก็ควรลดปริมาณการดื่มน้ำ และถ้าถ่ายปัสสาวะบ่อยเพราะรีบไปถ่ายเมื่อปวดก็ควรกลั้นไว้จนเกือบทนไม่ไหว ปริมาณปัสสาวะที่เหมาะสมในการขับถ่ายแต่ละครั้งประมาณ 1 แก้ว หรือห่างกัน 2 ชั่วโมง
3. เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติมากขึ้นแพทย์จึงจะเริ่มให้ยาในการรักษา ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 2-3 ชนิด บางชนิดเป็นยาลดอาการหดเกร็งกล้ามเนื้อที่บีบรัดท่อปัสสาวะ บางชนิดมีสรรพคุณลดขนาดต่อมลูกหมาก และบางชนิดเป็นสมุนไพรที่สกัดขึ้นเพื่อลดอาการบวม ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาการให้ยาตามความเหมาะสม
4. การใช้คลื่นความร้อน เช่น ไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ หรือเลเซอร์ ผ่านเข้าไปที่ต่อมลูกหมาก เพื่อทำให้ต่อมลูกหมากฝ่อและเล็กลง ซึ่งเป็นวิธีที่แพทย์เลือกใช้ในรายผู้ป่วยที่ไม่เหมาะกับการผ่าตัด
5. การผ่าตัดเป็นวิธีรักษาโดยขูดต่อมลูกหมากด้วยกล้องผ่านทางท่อปัสสาวะ หรือที่เรียกว่า TUR-P (Transurethral Prostatectomy) เพื่อตัดต่อมลูกหมากออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งสามารถทำได้โดยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ หรือศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ในระหว่างผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการวางยาเฉพาะส่วนล่าง ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บ ในระยะ 3 - 4 วันแรกแพทย์จะใส่สายสวนปัสสาวะเพื่อให้กระเพาะปัสสาวะได้พัก และรอให้ปัสสาวะใสเสียก่อนจึงจะเอาสายสวนปัสสาวะออก ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2 - 4 สัปดาห์ วิธีนี้แพทย์จะใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หรือมีภาวะแทรกซ้อน