เนื้องอกที่ไต คือ เรื่องที่พบบ่อยมากขึ้นในสังคมปัจจุบัน เนื่องมาจากการเข้าถึงการตรวจสุขภาพที่ง่ายขึ้น เครื่องมือทางรังสีในการวินิจฉัยทันสมัย การตรวจคัดกรองหรือการวินิจฉัยจึงแม่นยำมากขึ้น ซึ่งเนื้องอกที่พบนั้นมีทั้งที่ไม่ใช่มะเร็งและเนื้องอกมะเร็ง ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเนื้องอกที่ไตจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องและได้ประสิทธิภาพสูงสุด
หากจับพลัดจับผลู เกิดมีการกลายพันธุ์ของเซลล์ที่บุท่อขดตรงนี้ ก็จะมีโอกาสเป็นเนื้องอก ตรงจุดนี้ จึงเป็นบริเวณที่เกิดเนื้องอกบ่อยสุด
ก้อนในไต มีโอกาสเป็นมะเร็งถึง 85% ที่เหลือ 15% ไม่ใช่ เช่นเป็นก้อนเนื้อไขมันปนเส้นเลือด Angiomyolipoma (AML)
เนื้องอกที่ไตชนิดไม่ร้าย
อื่นๆ ที่พบบ่อยคือ Angiolipoma (AML) เนื้องอกของไขมันหลอดเลือดและกล้ามเนื้อเรียบ เนื้องอกชนิดนี้มักจะมีการฉีกขาดของหลอดเลือดเมื่อขนาดใหญ่กว่า 4 ซม. ทำให้เกิดอันตรายและภาวะแทรกซ้อนได้ จึงต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัดออกหรือทำให้ฝ่อลง แต่ถ้าขนาดเล็กใช้วิธีการเฝ้าระวังขนาดเป็นระยะ ๆ โดยอัลตราซาวด์
เนื้องอกร้ายที่ไต
“มะเร็งไต” เป็นโรคที่พบได้ไม่มากเมื่อเทียบกับมะเร็งอื่นๆ โดยพบผู้ป่วยมะเร็งไต 1.6 รายต่อประชากรแสนคน โดยพบผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง และมักพบโรคนี้ในผู้ป่วยอายุ 50-70 ปี อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะพบโรคมะเร็งไตน้อย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีอันตราย เราจึงควรมาทำความรู้จักโรคนี้กันให้มากขึ้น
การรักษา เนื้องอกที่ไต
การรักษาโรคมะเร็งไต
เนื้องอกที่ไต ที่ได้รับการวินิจฉัยเร็วและยังไม่ลุกลามจะง่ายต่อการรักษามากกว่า วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับขนาดของโรคและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง การผ่าตัดเพื่อขจัดเซลล์มะเร็งเป็นทางเลือกการรักษาแรกที่มักนำมาใช้ในเกือบทุกกรณีโรคมะเร็งไตมีความแตกต่างกับมะเร็งชนิดอื่น ๆ ที่การรักษาด้วยเคมีบำบัดไม่ได้มีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควรในการรักษาโรคมะเร็งไต อย่างไรก็ตาม การรักษาที่ไม่ใช่การผ่าตัดอื่น ๆ สามารถนำมาใช้ได้ เช่น การรักษาด้วยรังสีรักษาหรือการรักษาด้วยยาเพื่อเจาะจงฆ่าเซลล์มะเร็งมักถูกนำมาใช้ในโรคระยะลุกลามมากขึ้นโดยเซลล์มะเร็งนั้นได้ลุกลามเกินขอบเขตของไตออกไปแล้ว
การผ่าตัด เป็นการรักษาหลักวิธีเดียวที่ทำให้เนื้องอกที่ไตระยะ 1-3 หายขาดได้ ซึ่งวิวัฒนาการผ่าตัดรักษาเนื้องอกที่ไตในปัจจุบันมีความก้าวหน้า และมีประสิทธิภาพอย่างมาก