ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน หรือเรียกง่ายๆ ว่า “โอเอบี” คือ ภาวะที่เราไม่สามารถกลั้นปัสสาวะไว้ได้เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะ จำเป็นต้องหยุดกิจกรรมที่ทำอยู่เช่น ทำงานบ้าน ดูทีวี นั่งประชุม นั่งเรียนหนังสือ เป็นต้น โดยมีอาการร่วมอื่นๆ ได้แก่ ปัสสาวะบ่อยขึ้นมากกว่า 8 ครั้งต่อวัน ต้องลุกมาปัสสาวะหลังนอนหลับ บางครั้งมีปัสสาวะเล็ดราดร่วมด้วย โดยไม่สามารถตรวจพบพยาธิสภาพอื่นๆ ในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น การติดเชื้อ มะเร็ง กระเพาะปัสสาวะอักเสบหลังการฉายแสง นิ่ว เป็นต้น
เกิดได้จากหลายสาเหตุ ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด ซึ่งสาเหตุต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดภาวะนี้ ได้แก่ การที่กระแสประสาทที่สั่งการมายังกระเพาะปัสสาวะมีความผิดปกติทำให้กระเพาะปัสสาวะมีการบีบตัวบ่อยและมากกว่าปกติ โดยที่ยังมีปริมาณปัสสาวะน้อยกว่าปกติ ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดอาการมากขึ้น ได้แก่ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง เส้นประสาทบางส่วนถูกทำลาย หลังการผ่าตัดช่องท้องบริเวณอุ้งเชิงกราน น้ำหนักเกิน ภาวะหลังหมดประจำเดือน ยาบางชนิด แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ
กลุ่มอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินหรือโอเอบี เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะปัสสาวะมีการบีบตัวเพื่อขับถ่ายน้ำปัสสาวะออกมาในเวลาที่ไม่เหมาะสม บ่อยครั้งที่เกิดขึ้นฉับพลันโดยไม่มีสัญญาณเตือน และในเวลาที่คุณไม่ตั้งใจที่จะปัสสาวะ
อาการที่อาจบ่งบอกว่าเป็นกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ได้แก่
การใช้ยารักษา OAB การฉีดยาเข้ากระเพาะปัสสาวะ สาร botulinum ปริมาณต่าง ๆ สามารถหยุดการบีบตัวที่มากเกินไปของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะโดยค่อย ๆ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง การวิจัยทางคลินิกแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่อย่างรุนแรง ซึ่งมีฤทธิ์ชั่วคราวโดยทั่วไปนาน 5 เดือน หรือมากกว่านั้น แต่อาจจำเป็นต้องฉีดซ้ำ แพทย์จะคอยติดตามอาการของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้กลั้นปัสสาวะในปริมาณที่มากเกินไป หากการระบายปัสสาวะของคุณไม่ดีอาจต้องใส่สายสวนปัสสาวะชั่วคราว
การกระตุ้นประสาทการรักษาวิธีนี้จะต้องทำการฝังเครื่องส่งสัญญาณขนาดเล็กไว้ใต้ผิวหนังบริเวณหลังส่วนล่าง เครื่องส่งสัญญาณจะส่งกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ผ่านเส้นลวดบาง ๆ ไปยังเส้นประสาทที่นำไปสู่กระเพาะปัสสาวะ กระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ที่ไม่ทำให้เจ็บปวดจะขัดขวางการสื่อสารที่กระตุ้นให้เกิดการหดตัวที่ไม่พึงประสงค์ของกระเพาะปัสสาวะ (กระเพาะปัสสาวะของคุณจะไม่ได้รับสัญญาณให้บีบตัวจนกว่าจะมีปริมาณของปัสสาวะที่เหมาะสม)
การผ่าตัด การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินสงวนไว้เป็นวิธีรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเก็บปัสสาวะของกระเพาะปัสสาวะ และลดแรงบีบในกระเพาะปัสสาวะ
การรักษาอื่นๆ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายหรือดีขึ้นจากกลุ่มอาการนี้โดยการปรับเปลี่ยนปริมาณและชนิดของสารน้ำที่ดื่ม การฝึกควบคุมการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะและการใช้ยา อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะมีอาการคงอยู่ทั้งๆ ที่ได้รับการรักษาดังกล่าว ในกรณีเช่นนี้ อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้