การรักษา ภาวะไตวาย

1.หากสงสัยเป็นไตวายเฉียบพลัน ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว ผู้ป่วยจะต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 

                      มักจะวินิจฉัยโดยการตรวจเลือด (พบระดับบียูเอ็นและครีอะตินีสูงกว่าปกติ ยิ่งสูงมากก็แสดงว่าโรคยิ่งรุนแรง ระดับโพแทสเซียมฟอสเฟต และแมกนีเซียมสูง ระดับแคลเซียมต่ำ เลือดมีภาวะเป็นกรดระดับ เฮโมโกลบินต่ำ) ตรวจปัสสาวะ (พบสารไข่ขาว น้ำตาลเม็ดเลือดแดง 
เม็ดเลือดขาว) เอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ และตรวจพิเศษอื่น ๆ ถ้าจำเป็น

การรักษา ให้การรักษาโรคหรือภาวะที่เป็น สาเหตุ และแก้ไขภาวะผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น จำกัดปริมาณของน้ำ โซเดียม  โพแทสเซียม แมกนีเซียม และโปรตีน ฉีดยาขับปัสสาวะ-ฟูโรซีไมด์ ให้โซเดียมไบคาร์บอเนต แก้ภาวะเลือดเป็นกรดให้เลือดในรายที่ตกเลือด เป็นต้น

                ถ้าจำเป็นอาจต้องทำการฟอกล้างของเสีย หรือ ล้างไต (dialysis)

                ผลการรักษาขึ้นกับสาเหตุที่พบ ถ้าเกิดจากการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ ภาวะช็อกจากบริมาตรของเลือดลดลงโรคติดเชื้อ พิษจากยาบางชนิด ก็อาจมีทางรักษาให้หายขาดได้อย่างไรก็ตาม ภาวะไตวายเฉียบพลันมักเกิดขึ้นรวดเร็ว และมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง จึงมีโอกาสเป็นอันตรายถึงตายได้ค่อนข้างสูง

                2. หากสงสัยเป็นไตวายเรื้อรัง ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจเลือดตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์อัลตราซาวนด์ หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ  บางรายอาจต้องทำการเจาะเนื้อไตออกพิสูจน์ (renal biopsy)

                ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง นอกจากจะตรวจพบระดับ บียูเอ็นและครีอะตินีนในเลือดสูง รวมทั้งการเปลี่ยน แปลงของระดับเกลือแร่ในเลือดแบบเดียวกับที่พบในภาวะไตวายเฉียบพลันแล้ว ยังตรวจพบจากเอกซเรย์ หรืออัลตราซาวนด์ว่าไตทั้ง 2 ข้างฝ่อตัว (ขนาดน้อยกว่า 10 ซม.)

การรักษา ถ้ามีสาเหตุชัดเจนก็ให้รักษาโรคที่ เป็นสาเหตุ (เช่น ให้ยาควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ ผ่าตัดนิ่วในไต  เป็นต้น)

นอกจากนี้ ยังต้องรักษาภาวะผิดปกติต่าง ๆ ที่เป็นผลมากจากไตวาย เช่น

  •  จำกัดปริมาณโปรตีนที่กินไม่เกินวันละ 40 กรัม (ไข่ไก่ 1 ฟอง  มีโปรตีน 6-8 กรัม นมสด 14 ถ้วย มีโปรตีน 8 กรัม  เนื้อสัตว์ 1  ขัด มีโปรตีน 23 กรัม)
  • จำกัดปริมาณน้ำที่ดื่ม โดยคำนวณจากปริมาณปัสสาวะต่อวันบวกกับน้ำที่เสียไปทางอื่น (ประมาณ 800 ม./วัน) เช่น ถ้าผู้ป่วยมีปัสสาวะ 600 มล/วัน น้ำที่ควรได้รับเท่ากับ 600 มล. + 800 มล.(รวมเป็น 1,400 มล./วัน) เป็นต้น
  •  จำกัดปริมาณโซเดียมที่กิน ถ้ามีอาการบวมหรือมีปัสสาวะน้อยกว่า 800 มล./วัน ควรงดอาหารเค็มงดใช้เครื่องปรุง (เช่น น้ำปลาซีอิ๊ว ซอสทุกชนิด) ผลงชูรส สารกันบูด อาหารที่ใส่ผงฟู อาหารกระป๋อง น้ำพริก กะปิ ปลาร้า ของดอง หนำเลี้ยบ
  •  จำกัดปริมาณโพแทสเซียมที่กิน ถ้ามีปัสสาวะน้อยกว่า 800 มล./วัน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือโพแทสเซียมสูง เช่นผลไม้แห้ง ส้ม มะละกอ มะขาม มะเขือเทศ น้ำมะพร้าว ถั่ว สะตอ มันทอด หอย เครื่องในสัตว์ เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้โพแทสเซียมใน เลือดสูง เช่น อะมิโลไรด์ (amiloride)ไตรแอมเทอรีน (triamterene) สไปโรโนแล็กโทน (spironolactone) ยาต้านเอช ยาที่เข้าสารโพแทสเซียม เป็นต้น
  • จำกัดปริมาณแมกนีเซียมที่กิน ด้วยการงดยาลดกรดที่มีเกลือแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ ถ้ามีระดับฟอสเฟตในเลือดสูง หรือภาวะเลือดเป็นกรด ให้กินยาเม็ดแคลเซียมคาร์บอเนต (650 มก.) ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
  • ถ้าบวม ให้ยาขับปัสสาวะ –ฟูโรซีมด์ 
  • ถ้ามีความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจวาย ก็ให้ยารักษาภาวะเหล่านี้
  • ถ้าซีด อาจต้องให้เลือด บางรายแพทย์อาจสั่งให้ฉีดฮอร์โมนอีริโทรพอยเอทิน (erythropoietin) เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (ยานี้มีราคาแพง และอาจทำให้ความดันโลหิตสูง)

สำหรับผู้ป่วยที่ไตวายเรื้อรังระยะท้าย (มักมีระดับครีอะตินีนและบียูเอ็นในเลือดสูงเกิน 10 และ 100 มก./ดล. ตามลำดับ) การรักษาทางยาจะไม่ได้ผล จำเป็นต้องการฟอกล้างของเสีย หรือล้างไต (dialysis) ซึ่ง มีอยู่หลายวิธี ได้แก่

               1. การล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (continuous ambulatory peritoneal dialysis/CAPD) วิธีนี้แพทย์ สามารถฝึกให้ผู้ป่วยทำเองที่บ้านได้ นับว่าสะดวก แต่ต้องทำการเปลี่ยนถุงน้ำยาวันละ 4 ครั้ง ทุก ๆ วันตลอดไป และแพทย์จะนัดมาเปลี่ยนสานน้ำยาที่ใช้ฟอกล้างของเสียทุก 1 เดือน ผู้ป่วยสามารถทำงานและปฏิบัติภารกิจได้เหมือนคนปกติ

               2. การล้างไตโดยการฟอกเลือด (hemodialysis) นิยมเรียกว่า การล้างไตด้วยเครื่องไตเทียม หรือ การทำไตเทียม ผู้ป่วยต้องไปทำที่โรงพยาบาลสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

                การทำการล้างไตทั้ง 2 วิธี จะช่วยให้ผู้ป่วย มีคุณภาพชีวิตที่ดี (สามารถทำงาน ออกกำลังกาย และ มีเพศสัมพันธ์ ได้เช่นคนปกติ) มีชีวิตยืนยาวขึ้น บาง รายอาจอยู่ได้นานเกิน10 ปีขึ้นไป แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างแพง

                ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายบางราย แพทย์ อาจพิจารณาทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตหรือเปลี่ยนไต (renal transplantation) ซึ่งนับว่าเป็นวิธีรักษาที่ได้ผลดีที่สุดในปัจจุบัน  สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมือนคนปกติ  และมีอายุยืนยาว (อายุการทำงานของไตใหม่ ร้อยละ 18-55 อยู่ได้นาน10 ปี) แต่การปลูกถ่ายไตเป็นวิธีรักษาที่ยุ่งยาก ราคาแพงและจะต้องหาไตจากญาติสายตรงหรือผู้บริจาคที่มีไตเข้ากับเนื้อเยื่อของผู้ป่วย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้ป่วยอาจต้องทำการล้างไตไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหาไตที่เข้ากันได้ นอกจากนั้นภายหลังการปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยต้องกินยากดภูมิคุ้มกัน (เช่น สตีรอยด์ ไซโคลสปอริน อะชาไทโอพรีน) ทุกวันตลอดไป เพื่อป้องกันมิให้ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อต้านไตใหม่

[Total: 0 Average: 0]