ความรู้สึกไม่สบายที่ด้านหลังส้นเท้าหรือด้านใต้ส้นเท้าที่อาจทำให้การเดินไม่สะดวกหรือยากลำบาก
สาเหตุทั่วไปของอาการ
การปวดส้นเท้าอาจมีสาเหตุที่ไม่ได้มาจากโรคพื้นเดิม ตัวอย่างเช่น การใส่รองเท้าที่ไม่พอดี การใส่รองเท้าส้นสูง การยืนนานเกินไป การใช้เท้ามากเกินไป เช่น การเดินระยะไกลหรือการเดินมาราธอน เอ็นหรือกล้ามเนื้อยืดเกินไปหรือฉีกขาด หรือบาดแผล
การรักษาด้วยตนเอง
การพักเท้าและการหลีกเลี่ยงการวิ่ง การยืนเป็นเวลานาน และการเดินบนพื้นผิวที่แข็งอาจช่วยบรรเทาอาการปวดส้นเท้าได้ การใช้น้ำแข็งประคบไม่เกิน 20 นาที วันละ 3 ครั้ง และการใช้ที่รองส้นเท้าหรือรองเท้าส้นเตารีดอาจช่วยได้เช่นกัน
มองหาการดูแลทางการแพทย์
ไปพบแพทย์ในกรณีต่อไปนี้
- ปวดส้นเท้าแม้จะอยู่เฉยๆ
- ปวดต่อเนื่องหรือแย่ลงในช่วง 3-4 สัปดาห์ขึ้นไปทั้งที่มีการดูแลรักษาด้วยตัวเองแล้ว
- ทำงานหรือกิจกรรมประจำวันลำบาก
ไปพบแพทย์ทันทีในกรณีต่อไปนี้
- ปวดและบวมอย่างรุนแรง
- ปวดหลังได้รับบาดเจ็บ
- บิดหรืองอเท้าลงไม่ได้
- เดินไม่สะดวก
- มีไข้ร่วมกับอาการชาหรือเสียวแปลบ
เอ็นร้อยหวายอักเสบ
การบาดเจ็บของเอ็นร้อยหวายที่เชื่อมกล้ามเนื้อน่องกับกระดูกส้นเท้า การแสดงอาการ:
- ปวดส้นเท้า
- ความเจ็บปวด
- เจ็บตึงที่ส้นเท้า
กล้ามเนื้อฉีก
กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่เชื่อมกล้ามเนื้อและกระดูก (เส้นเอ็น) ยืดหรือฉีกขาด การแสดงอาการ:
- ปวดกล้ามเนื้อ
- การจํากัดพิสัยการเคลื่อนไหว
- ตะคริว
พังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้า
การอักเสบของเนื้อเยื่อแถบหนาที่เชื่อมกระดูกส้นเท้าและนิ้วเท้า การแสดงอาการ:
- ปวดส้นเท้า
- ปวดเท้า
- อาการกดเจ็บ
โรคเอ็นอักเสบ
ภาวะที่เนื้อเยื่อซึ่งเชื่อมต่อกล้ามเนื้อกับกระดูกอักเสบ
เท้าแบน
ภาวะที่ทั้งฝ่าเท้าสัมผัสแนบไปกับพื้นเมื่อยืน การแสดงอาการ: