มีการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนที่บุอยู่บนผิวข้อ กระดูก ซึ่งทำหน้าที่ลดแรงกระแทก เนื่องจากมีการ เปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและสารเคมีภายในข้อ ในที่สุดทำให้ผิวข้อกระดูก 2 ด้านที่สึกกร่อนและขรุขระมีการเบียดหรือเสียดสีกันโดยตรง และเกิดการอักเสบ เรื้อรังภายในข้อกระดูก
ขณะเดียวกันก็เกิดกระบวนการซ่อมแซมของข้อทำให้มีหินปูนหรือปุ่มงอก (osteophytes) เกาะรอบ ๆ ผิวข้อซึ่งมีบางส่วนแตกหักหลุดเข้าไปในข้อ ขัดขวางการเคลื่อนไหวของข้อการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดดังกล่าวทำให้มีอาการปวดข้อ ข้อติด ข้อแข็ง และเคลื่อนไหวลำบาก
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของการเสื่อม ของข้อ เชื่อว่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน เช่น
- อายุและเพศ ภาวะข้อเสื่อมมักเกิดในผู้สูงอายุ
- ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี หรือหลังวัยหมดประจำเดือน (เกี่ยวกับการพร่องฮอร์โมนเอสโทรเจน) แต่ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี จะพบในผู้ชายมากกว่า
- กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคข้อเสื่อมชนิดหลายข้อหรือข้อเสื่อมตั้งแต่อายุน้อย มีโอกาสที่จะเกิดข้อเสื่อมได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่มีข้อนิ้วมือเสื่อม จะพบว่าสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้มากว่ากลุ่มที่มีข้อเข่าเสื่อม
- ความอ้วน ทำให้เกิดแรงกดดันต่อข้อเข่าและสะโพก เกิดการเสื่อมได้เร็วขึ้น
- การได้รับบาดเจ็บ (เช่น การวิ่ง การเล่นกีฬา) ที่มีการกระแทกต่อข้อเข่า
- การใช้ข้อมากหรือซ้ำ ๆ อยู่นาน ๆ เช่น การก้ม
- การนั่งงอเข่า การเดินขึ้นลงบันได การยืนนาน ๆ การยกของหนัก จะทำให้เกิดแรงกดดันต่อข้อต่อ เป็นเหตุให้ข้อเสื่อมได้
- กล้ามเนื้ออ่อนแอ เช่น กล้ามเนื้อต้นขา (quadriceps) อ่อนแอ อาจทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็ว
- เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น โรคปวดข้อรูมาตอยด์ เกาต์
- การติดเชื้อ
[Total: 0 Average: 0]