โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ (พบว่าประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยไม่เกรน มีประวัติว่ามีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย) และมักมีสาเหตุกระตุ้นให้เกิดอาการกำเริบในแต่ละครั้ง
ส่วนกลไกการเกิดอาการของโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่ามีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของสมอง ทั้งในส่วนเปลือกสมอ (cortex) และก้านสมอง (brain stem) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลง ของสารเคมีในสมอ ได้แก่ ซีโรโทนิน (trigeminal) (พบว่ามีปริมาณลดลงขณะที่มีอาการกำเริบ) โดพามีน(dopamine) และสารเคมีกลุ่มอื่น ๆ ส่งผลให้เกิดการ อักเสบของเส้นใยประสาทสมองเส้นที่ 5 (trigeminal nerve fiber ที่เลี้ยงบริเวณใบหน้าและศีรษะ) รวมทั้งการอักเสบร่วมกับการหดและขยายตัวของหลอดเลือด แดงทั้งในและนอกกะโหลกศีรษะ ทำให้เปลือกสมองm(cortex) มีเลือดไปเลี้ยงน้อยลง กระตุ้นให้เกิดอาการ ปวดศีรษะและอาการร่วมต่าง ๆ ขึ้นมา
สาเหตุกระตุ้น ไมเกรน
ผู้ป่วยมักบอกได้ว่า มีสาเหตุต่าง ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ ซึ่งแต่ละคนอาจมีสาเหตุที่แตกต่างกันไป แต่มักจะมีได้หลาย ๆ อย่าง อาทิเช่น
- มีแสงสว่างจ้าเข้าตา เช่น ออกกลางแดดจ้า ๆแสงจ้า แสงไฟกะพริบ แสงสีระยิบระยับในโรงมหรสพ หรือสถานเริงรมย์ เป็นต้น
- การใช้สายตาเพ่งดูอะไรนาน ๆ เช่น ดูภาพยนตร์หนังสือ จอคอมพิวเตอร์ หรือกล้องจุลทรรศน์ เย็บปักถักร้อย เป็นต้น
- การอยู่ในที่ ๆ มีเสียงดังจอแจ เช่น ตลาดนัดหรือเสียงอึกทึก (เช่น เสียงกรอง เสียงระฆัง)
- การสูดดมกลิ่นฉุน ๆ เช่น กลิ่นน้ำมันรถ กลิ่นสีหรือทินเนอร์ กลิ่นสารเคมี หรือยาฆ่าแมลง ควันบุหรี่ กลิ่นน้ำหอมหรือดอกไม้ เป็นต้น
- การดื่มกาแฟมาก ๆ ก็อาจกระตุ้นให้ปวดได้ (แต่บางคนดื่มกาแฟแล้วอาการทุเลา หรือขาดกาแฟกลับทำให้ปวดไมเกรน)
- เหล้า เบียร์ เหล้าองุ่นแดง (red wine) ถั่วต่าง ๆ กล้วย นมเปรี้ยว เนยแข็ง ซ็อกโกแลต ตับไก่ ไส้กรอก อาหารทะเล อาหารทอดน้ำมัน อาหารหมักดองหรือรมควัน ผงชูรส น้ำตาลเทียม (aspartame) สารกันบูด ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว (เช่น ส้ม มะนาว) หอมกระเทียม ล้วนกระตุ้นทำให้ปวดได้
- ยานอนหลับ ยาขยายหลอดเลือด (เช่น ไนโตรกลีเซอรีน) ยาลดความดัน (เช่น ไฮดราลาซีน รีเซอร์พีน) ยาขับปัสสาวะ
- การอยู่ในที่ร้อนหรือเย็นเกินไปเช่นอากาศร้อนหรือหนาวจัด ห้องที่อบอ้าวห้องปรับอากาศเย็นจัดอากาศ เปลี่ยนแปลง เป็นต้น
- การอดนอน (นอนไม่พอ) หรือนอนมากเกินไปการนอนตื่นสาย (เช่น ในวันหยุดสุดสัปดาห์)
- การอดข้าว กินข้าวผิดเวลา หรือกินอิ่มจัด เชื่อว่าเกี่ยวกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ซึ่งกระตุ้นให้ปวดศีรษะได้ บางครั้งพบว่าผู้ป่วยไมเกรนเมื่อ เป็นโรคเบาหวาน (มีน้ำตาลในเลือดสูง) อาการปวดจะหายไป
- การนั่งรถ นั่งเรือ หรือนั่งเครื่องบิน
- การเปลี่ยนแปลงของระดับความสูงหรือความดันบรรยากาศ
- อาการเจ็บปวดตามส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
- การเป็นไข้ เช่น ตัวร้อนจากไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
- การออกกำลังการจนเหนื่อยเกินไป รวมทั้งการร่วมเพศ
- ร่างกายเหนื่อยล้า
- การถูกกระแทกแรงๆ ที่ศีรษะ (เช่นการใช้ศีรษะโหม่งฟุตบอล) ก็อาจทำให้ปวดศีรษะทันที
- อิทธิพลของฮอร์โมนเพศ สำหรับผู้ป่วยหญิงมีผลต่อการเกิดอาการไมเกรนอย่างมาก เช่น บางรายมีอาการปวดเฉพาะเวลาใกล้จะมีหรือขณะมีประจำเดือน บางรายในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ก็อาจทำให้อากาศกำเริบมากขึ้น เมื่อเลยระยะ 3 เดือนไปแล้ว อาการมักจะหายไปจนกระทั้งหลังคลอด (ในระยะ 6 เดือนหลังของการตั้งครรภ์มักมีฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนสูง) บางรายกินยาเม็ดคุมกำเนิด (มีฮอร์โมนเอสโทรเจน) ทำให้ปวดบ่อยขึ้น พอหยุดกินยาก็ดีขึ้น หรือฉีดยาคุมกำเนิดอาการมักจะทุเลา
- ความเครียดทางอารมณ์ คิดมาก อารมณ์ขุ่นมัวตื่นเต้น ตกใจ