รักษา ไมแอสทีเนีย เกรวิส

หากสงสัย ควรแนะนำไปโรงพยาบาล มักจะทำการทดสอบโดยการฉีดนีโอสติกมีน (neostigmine) 1.5 มก.เข้าใต้ผิวหนัง หรือฉีดยาอีโดรโฟเนียม (cdropho-mium) มีชื่อทางการค้า เช่น เทนซิลอน (Tensilon)10 มก.เข้าหลอดเลือดดำ ซึ่งจะทำให้อาการดีขึ้นทันทีบางรายแพทย์อาจต้องตรวจยืนยันด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การตรวจระดับสารภูมิต้านทานต่อตัวรับอะเซทิลโคลีน (ACNR antibody) หรือ musclespecific  kinase (MuSK) antibody ในเลือด ซึ่งพบว่าสูงกว่าปกติ การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ  (single fiber electromyogra-phy/SFEMG) การตรวจ repetitive  nerve  stimulation (RNS) เป็นต้นอาจต้องทำการถ่ายภาพไทมัสด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจหาเนื้องอกต่อมไทมัสหรือภาวะต่อมไทมัสโต

นอกจากนี้ยังอาจตรวจหาโรคที่พบร่วม  เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์ในผู้ที่สงสัยเป็นภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน

การรักษา แพทย์จะให้ยาที่ช่วยบรรเทาอาการอ่อนแรง ได้แก่ ยาต้านโคลินเอสเตอเรส (anticholinesterase) ที่นิยมใช้ คือ ไพริโดสติกมีน (pyridostigmine) มีชื่อการค้า เช่น เมสตินอน (Mestinon) เริ่มด้วยขนาด 30 มก.วันละ 3 ครั้ง และค่อย ๆ ปรับขนาดตามอาการและผล ข้างเคียง  จนถึงขนาดสูงสุด 120 มก.ทุก 4 ชั่วโมง (ยานี้อาจมีผลข้างเคียง  คือ  อาการเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าท้องลำไส้ทำงานมากกว่าปกติ  ท้องเดิน น้ำลายมาก) ถ้าไม่มียานี้อาจให้ นีโสติกมีน  ขนาด 7.5-15 มก.ทุก 3 - 4 ชั่วโมง ยากลุ่มนี้จะใช้ไดผลเฉพาะในรายที่มีอาการเล็กน้อยในรายที่เป็นรุนแรงหรือลองใช้ยาดังกล่าวแล้วไม่ได้ผล  แพทย์จะพิจารณาให้ยากดภูมิคุ้มกันร่วมด้วย ได้แก่เพร็ดนิโซโลน ซึ่งได้ผลถึงร้อยละ 80โดยเริ่มด้วยขนาด 5 - 20 มก./วัน แล้วค่อย ๆ เพิ่มขนาดทีละ 5 -10 มก.ทุก1-2สัปดาห์จนกระทั่งอาการคงที่แล้วจึงค่อยๆลดขนาด ยาลงอย่างช้า ๆ  ทีละ 5-10 มก.ทุกเดือน จนเหลือขนาด 5-10 มก. /วันโดยอาจให้ยาแบบวันเว้นวันไประยะหนึ่งจนกว่าไม่มีอาการกำเริบซ้ำ  จึงหยุดยาถ้าขณะทำการลดขนาดยาแล้วมีอาการอ่อนแรงมากขึ้นก็อาจเพิ่มยาอีก 10 - 20 ไม่ควรให้ยาขนาดสูงตั้งแต่แรก หรือลดขนาดยา เร็วเกินไป อาจทำให้อาการกำเริบรุนแรง ถึงขั้นหยุดหายใจเป็นอันตรายได้

ในรายที่ใช้เพร็ดนิโซโลนไม่ได้ผลหรือมีข้อห้ามใช้เพร็ดนิโซโลน แพทย์อาจให้ยาที่มีชื่อว่าไมโคฟีโนเลตโมเฟทิล (mycophenolate    mofetil) แทน ถ้าไม่ได้ผล อาจให้ยากดภูมิคุ้มกันอื่นๆ เช่น อะซาไทโอพรีน (azathioprine) ไซโคลสปอรีน (cyclosporine)ไซดคลฟอสฟาไมด์   เป็นต้น

ในรายที่ดื้อต่อการใช้ยาหรือต้องการการรักษาที่ได้ผลรวดเร็ว  กรณีเกิดวิกฤติรุนแรง (เช่น กล้ามเนื้อช่วยหายใจเป็นอัมพาต กลืนลำบาก) หรือก่อนการผ่าตัดหรือฉายรังสี (เพื่อป้องกันไม่ให้อาการของโรคนี้กำเริบรุนแรง) อาจต้องทำการถ่ายพลาสมา(plasma exchange หรือ plasmapheresis หรือฉีดสารอิมมูนโกลบูลินเข้าหลอด เลือดดำ (intravenous  immunoglobulin/IVIG)  

นอกจากนี้แพทย์จะพิจารณาทำการผ่าตัดต่อมไทมัสออก ในรายที่ตรวจพบว่ามีเนื้องอกต่อมไทมัสทุกราย หรือในผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 55 ปี ที่มีอาการรุนแรงและตรวจพบต่อมไทมัสโตจะช่วยให้อาการดีขึ้นถึงร้อยละ 75 ซึ่งอาจจะเห็นผลหลังผ่าตัด 1-2  ปี (บางราย 5 -10 ปี) ไปแล้ว บางรายอาจหายเป็นปกติ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ ป่วยที่อายุน้อย และได้รับการรักษาหลังมีอาการไม่นาน)

บางรายสามารถลดการใช้ยาลงได้ ผลการรักษา มักจะได้ผลดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเริ่มให้การรักษาตั้งแต่อาการยังไม่รุนแรงมาก สามารถลดภาวะแทรกซ้อนและการตายลงอย่างมากบางรายก็อาจหายได้ส่วนผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาก็อาจหายได้เองแต่พบได้เป็นส่วนน้อย

[Total: 1 Average: 5]