มะเร็งกล่องเสียง

มะเร็งกล่องเสียง คือ โรคที่พบได้ประมาณร้อยละ 3 ของ มะเร็งทั้งหมด พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 10 เท่า และพบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉลี่ยอายุประมาณ 60-70 ปี

สาเหตุ มะเร็งกล่องเสียง

ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่และจะ พบมากขึ้นในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย นอกจากนี้ ยังอาจสัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชพีวี (human papilloma virus/HPV) การสัมผัสสารใยหิน นิกเกิล ฝุ่นไม้ สี และสารเคมีบางชนิด (เช่น กรดกำมะถัน) การระคาย เครื่องเรื้อรังจากโรคกรดไหลย้อน ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ภาวะขาดสารอาหารซึ่งมักพบร่วมกับผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จัด

อาการ มะเร็งกล่องเสียง

มักมีอาการเสียงแหบเรื้อรังติดต่อกันนานเกิน 2-3 สัปดาห์โดยไม่มีอาการเจ็บคอ บางครั้งอาจมีอาการกลืนลำบากหรือสำลักร่วมด้วย ต่อมาอาจพบมีเลือดออกได้ในระยะที่มะเร็งลุกลามออกนอกปอดแล้ว (โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ชนิดที่เรียกว่า small cell carcinoma ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 25 ของมะเร็งปอดทั้งหมด) การรักษาจึงเป็นเพียงการประทังอาการซึ่งมักจะมีชีวิตอยู่ได้ เพียงระยะหนึ่ง เฉลี่ยประมาณ 6-12 เดือน บางรายอาจอยู่ได้นาน 2-3 ปี นอกจากในรายที่ตรวจพบในระยะ แรกๆ เป็นชนิดที่ลุกลามช้าหรือตอบสนองต่อการรักษาก็อาจอยู่ได้นานหลายปี

การป้องกัน มะเร็งกล่องเสียง

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารใยหิน ฝุ่นไม้
  • กินผักและผลไม้ให้มากๆ และได้รับสารอาหารครบถ้วนและสมดุล

การรักษา มะเร็งกล่องเสียง

หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล แพทย์จะวินิจฉัย โดยการใช้กระจกส่องตรวจพบเนื้องอกที่กล่องเสียง แล้วใช้กล้องส่องตรวจกล่องเสียง (laryngosscopy) และตัดชิ้นเนื้อพิสูจน์ ถ้าเป็นระยะแรกเริ่ม จะรักษาโดยการฉายรังสีเป็นหลัก หรือผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์ ทำให้รักษากล่องเสียงไว้ได้และผู้ป่วยพูดได้เป็นปกติแต่ถ้าเป็นระยะลุกลามก็จะรักษาด้วยการผ่าตัดกล่องเสียงร่วมกับการฉายรังสี บางรายอาจให้เคมีบำบัดร่วมด้วย

ผลการรักษา ถ้าเป็นระยะแรกสามารถรักษาให้ หายขาดและพูดได้เป็นปกติ ในรายที่เป็นระยะลุกลาม และผ่าตัดกล่องเสียง ก็มักจะมีชีวิตยืนยาว แต่พูดไม่ได้ และต้องฝึกพูดด้วยการเปล่งเสียงผ่านหลอดอาการ esophageal speech) หรือใช้อุปกรณ์ช่วยพูด (electrolarynx)

[Total: 0 Average: 0]