มะเร็งไทรอยด็ คือ โรคที่พบน้อย พบได้ในคนทุกวัย ส่วนใหญ่จะพบมากในคนอายุ 20 – 40 ปี และ 50 – 70 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ละพบมากในผู้ที่เคยได้รับรังสีบำบัด (ฉายรัวสี) ที่บริเวณคอเมื่อตอนเป็น เด็ก บางชนิดอาจมีประวัติว่ามีคนในครอบครัวเป็นด้วย สามารถแบ่งเป็นหลายชนิด ซึ่งมีความรุนแรงแตกต่างกันไป
อาการ มะเร็งไทรอยด์
ผู้ป่วยจะมีอาการคอพอก (คอโต) ส่วยใหญ่มี ลักษณะเป็นก้อนแข็งชนิดเดียวๆ ส่วนย้อยอาจเป็นหลาย ก้อน มักมีลักษณะติดแน่นกับเนื้อเยื่อโดยรอบ ขยับไปมาไม่ค่อยได้ และไม่มีอาการเจ็บแต่อย่างใด ยกเว้นในรายที่มีเลือดเข้าไปในก้อนมะเร็ง อาจทำให้มีอาการ เจ็บคล้อยต่อมไทรอยด์อักเสบได้
บางรายอาจมีอาการเสียงแหบร่วมด้วย ในรายที่ก้อนโตเร็ว อาจโตกดท่อลมหรือหลอดอาหาร ทำให้หายใจลำบากหรือกลืนลำบาก
ต่อมไทรอยด์ของผู้ป่วยส่วนมากยังหลั่งฮอร์โมนได้ตามปกติ มักไม่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินหรือ ภาวะขาดไทรอยด์
การป้องกัน มะเร็งไทรอยด์
- ถ้าพบคอพอกมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง เสียงแหบหรือมีต่อมน้ำเหลืองที่ข้างคอโตร่วมด้วยควรสงสัยว่าเป็น มะเร็งของไทรอยด์ และส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยเร็ว
- มะเร็งไทรอยด์ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่โตช้าและรุนแรงน้อย เมื่อได้รับการผ่าตัดร่วมกับการรักษาอื่นๆ ตามคำแนะนำของแพทย์ก็มักหายขาดหรือมีชีวิตยืนยาว
- อาการต่อมไทรอยด์โตเป็นก้อนเฉพาะแห่ง (โดยส่วนอื่น ๆ ของต่อมไทรอยด์เป็นปกติ) มีเพียงส่วน น้อยที่อาจเป็นมะเร็ง ส่วนมากมีสาเหตุที่ไม่ร้ายแรง เช่น ถุงน้ำไทรอยด์ (thyroid cyst) ซึ่งมีลักษณะค่อน ข้างนุ่ม หรืออาจเป็นเนื้องอกไทรอยด์ (thyroid adenoma) ซึ่งมีลักษณะไม่แข็งมาก บางชนิดอาจทำให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีก้อนที่คอ ควรแนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์ทุกราย และเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าไม่ใช่ มะเร็งก็ขอให้สบายใจได้ การรักษาก้อนของต่อมไทรอยด์ที่ไม่ใช่มะเร็ง ถ้าก้อนขนาดเล็ก อาจไม่ต้องทำอะไร แต่ถ้าก้อนโตมากอาจต้องผ่าตัด
การรักษา มะเร็งไทรอยด์
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล แพทย์จะทำการตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ (T.4 free T4) และฮอร์ โมนกระตุ้นไทรอยด์ในเลือด สแกนต่อมไทรอยด์ ตรวจชิ้นเนื้อไทรอยด์โดยการใช้เข็มเจาะดูด (fine needel aspiration biopsy)
การรักษา แพทย์จะทำการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ และให้ฮอร์โมนไทรอยด์เพื่อลดการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์ (TSH) ซึ่งมีส่วนกระตุ้นการเติบโตของเซลล์มะเร็ง ในบางรายการอาจต้องให้สารไอโอดีนกัมมันตรังสี เพื่อทำลายสารมะเร็งที่อาจหลงเหลือจากการผ่าตัด
ผลการรักษาขึ้นกับชนิดของมะเร็งและระยะของโรค
ถ้าเป็นชนิดแพพิลลารี (papillary) ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด (ประมาณร้อยละ 70 ของมะเร็งไทรอยด์) พบมากในคนอายุ 20 – 40 ปีกับในวัยสูงอายุ และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2 – 3 เท่า มักพบในผู้ที่เคยได้รับรังสีบำบัดที่บริเวณคอมาก่อน ก้อนมะเร็งจะโตช้าและมีความรุนแรงน้อย หลังการรักษาด้วยการผ่าตัดจะมีโอกาสมีชีวิตยืนยาว หรือหายขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าก้อนมะเร็งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 2 ซม.
ถ้าเป็นชนิดฟอลลิคูลาร์ (follicull\ar) ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 15 ของมะเร็งต่อมไทรอยด์ มักพบในผู้สูงอายุ และผู้ที่เคยได้รับรังสีบำบัดบริเวณคอมาก่อนจะมีความรุนแรงตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงมาก ถ้าเป็นชนิดรุนแรงมาก อาจลุกลามไปยังปอดกระดูกและสมอง และบางครั้งทำให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินส่วนอีก 2 ชนิด พบได้ค่อนข้างน้อย ได้แก่ ชนิด เมดุลลารี (medullary) และชนิดอะนาพลาสติก (anaplastic) จะมีความรุนแรงสูง ก้อนมะเร็งจะโตเร็วและแพร่กระจายง่ายพบมากในผู้สูงอายุ ชนิดเมดุลลารีอาจมีประวัติว่ามีคนในครอบครัวเป็นด้วย
ส่วนอีก 2 ชนิด พบได้ค่อนข้างน้อย ได้แก่ ชนิด เมดุลลารี (medullary) และชนิดอะนาพลาสติก (anaplastic) จะมีความรุนแรงสูง ก้อนมะเร็งจะโตเร็วและแพร่กระจายง่าย พบมากในผู้สูงอายุ ชนิดเมดุลลารีอาจมีประวัติว่ามีคนในครอบครัวเป็นด้วย