มะเร็งช่องคลอด

มะเร็งปากช่องคลอดพบประมาณร้อยละ 5 ของมะเร็งทางนรีเวชและคิดเป็นร้อยละ 0.6 ของ โรคมะเร็งที่พบในสตรี (1,2) ซึ่งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา อุบัติการณ์ของมะเร็งปากช่องคลอดค่อนข้างคงที่ แต่อุบัติการณ์ของรอยโรคภายในเยื่อบุปากช่องคลอด(Vulvar Squamous intraepithelial lesions, Vulvar SILs) มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (3,4) โดยในประเทศสหรัฐอเมริกาปี พ.ศ.2558  มีผู้ป่วยมะเร็งปากช่องคลอดรายใหม่ 5,150 รายและเสียชีวิต 1,080 ราย

สาเหตุ มะเร็งช่องคลอด

สาเหตุของการเกิดมะเร็งปากช่องคลอดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง จากข้อมูลทางพยาธิวิทยาและสิ่งแวดล้อม  อาจแบ่งมะเร็งปากช่องคลอดออกเป็นสองกลุ่มตามปัจจัยเสี่ยงดังนี้

  1. ชนิด basaloid หรือ warty (Type I)
  2. ชนิด keratinizing (Type II)

อาการ มะเร็งช่องคลอด

อาการที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคมะเร็งช่องคลอด คือ เลือดออกอย่างผิดปกติจากช่องคลอด ได้แก่:

  • มีเลือดออกในช่วงระหว่างรอบเดือน หรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์
  • มีเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงวัยหมดประจำเดือน (Post-menopausal bleeding)

อาการอื่น ๆ นั้นได้แก่:

  • มีของเหลวกลิ่นเหม็นหรือคาวเลือดออกมาทางช่องคลอด
  • เกิดความเจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • เกิดความเจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ
  • ต้องปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • พบเลือดปนในปัสสาวะของคุณ
  • อาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • คันหรือพบก้อนเนื้อในบริเวณช่องคลอดของคุณ

การรักษา มะเร็งช่องคลอด

วิธีการรักษาหลักของรอยโรค Paget’s disease คือการผ่าตัดเอารอยโรคออก ไม่แนะนำให้ใช้วิธีจี้ทำลาย (ablative therapy) การผ่าตัดแนะนำให้ผ่าตัดแบบ wide superficial resection โดยตัดให้ขอบแผลผ่าตัดห่างจากขอบของรอยโรคอย่างน้อย1ซม. ในกรณีที่มี underlying invasion adenocarcinoma ร่วมด้วย จะต้องทำการรักษาเหมือนมะเร็งปากช่องคลอดโดยผ่าตัดลึกลงไปถึงชั้น perineal fascia และทำการเลาะต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบเพิ่มเติม

[Total: 0 Average: 0]