หัวใจวาย – หัวใจล้มเหลว

หัวใจวาย (หัวใจล้มเหลว ก็เรียก) หมายถึง ภาวะที่หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไม่ได้หรือได้ไม่เต็มที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ และมีเลือดคั่งในปอด ตับ แขนขา และอวัยวะต่างๆ

                อาการอาจเกิดขึ้นฉับพลันทันที หรือค่อยเป็นค่อยไปอย่างเรื้อรังก็ได้ แล้วแต่สาเหตุที่พบ

                โรคนี้ถือเป็นภาวะร้ายแรง หากรักษาไม่ทัน อาจตายได้ ในรายที่เป็นนาน ๆ อาจมีตับแข็ง แทรกได้

สาเหตุ

                มักเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคหัวใจที่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหัวใจรูมาติก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือจากโรคเอสแอลอี โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ (cardiomyopathy) จากการดื่มแอลกออล์จัด หรืจากโรคเบาหวาน  เป็นต้น

                นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากโรคความดันโลหิตสูง โรคปอดเรื้อรัง (เช่น ถุงลมปอดโป่งพอง หลอดลมพอง หืด) ภาวะไตวายเรื้อรัง คอพอกเป็นพิษ ภาวะโลหิตจางรุนแรง โรคเหน็บชา ที่มีความผิดปกติของหัวใจร่วมด้วย การให้น้ำเกลือหรือให้เลือดเร็วเกินไป

อาการ

                ในระยะแรก  มีอาการหอบเหนื่อยเฉพาะเวลาออกแรงมากหรือทำงานหนัก ๆ และอาจมีอาการไอและหายใจลำบากในตอนดึก ๆ ช่วงหลังเจ้านอนแล้วจนต้องลุกขึ้นนั่งบางรายอาจมีอาการหอบคล้ายเป็นหืด ต้องลุกไป สูดหายใจที่ริมหน้าต่างจึงรู้สึกค่อยค่อยยังชั่ว

                บางรายอาจรู้สึกจุกแน่นอึดอัด ในท้องหรือลิ้นปี่ปวดบริเวณชายโครงด้านขวา บวมที่ข้อเท้า

                เมื่อเป็นมากขึ้น จะมีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น แม้ทำงานเพียงเล็กน้อยหรืออยู่เฉย ๆ ก็รู้สึกหายใจลำบากอ่อนเพลีย นอนราบไม่ได้ ต้องนอนหรือนั่งพิงหมอนสูง ๆ (หมอนหลายใบ) ปัสสาวะออกน้อย หรือบางรายอาจปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน เท้าบวมขึ้น และอาจมีท้องบวม (ท้องมาน) โดยมากมักจะไม่บวมที่หน้าหรือ หนังตาเช่นที่พบในผู้ป่วยเป็นโรคไต

                เมื่อเป็นรุนแรง อาจมีอาการไอรุนแรง และมีเสมหะเป็นฟองสีแดงเรื่อ ๆ อาจมีอาการตัวเขียวริมผีปากเขียวกระสับกระส่าย ใจสั้น และหากไม่ได้รับการรักษาได้ทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้

1.ผู้ป่วยโรคหัวใจ บางครั้งใช้เครื่องตรวจปอด อาจมีเสียงมีเสียงวี้ด (wheezing) คล้ายโรคหืด เรียกว่า อาการหืดจากโรคหัวใจ   (cardiac asthma) ดั้งนั้นก่อนให้การรักษาผู้ป่วยที่สงสัยเป็นหืด ต้องแน่ใจว่าไม่มีอาการบวม ตับโต หรือมีประวัติของโรคหัวใจ

                2.ผู้ป่วยที่กินยาช่วยหัวใจทำงาน  เช่น ไดจอกซินต้องระวังหากกินเกินขนาดหรือในภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ อาจมีพิษต่อหัวใจได้   อาการเป็นพิษ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่าตาลาย ชีพจรเต้นช้ากว่านาทีละ 60 ครั้ง ดังนั้นถ้าผู้ป่วยกินยาขับปัสสาวะซึ่งอาจ ทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำอาจต้องให้กิน ยาน้ำแทสเซียมคลอไรด์ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 2-3  ครั้งร่วมด้วย

3.ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย

  • ติดต่อรักษากับแพทย์อย่าได้ขาด และกินยา
  • ตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง
  • งดแอลกอฮอล์ บุหรี่
  • ห้ามตรากตรำงานหนัก
  • งดอาหารเค็ม เพื่อลดบวมและป้องกันอาการกำเริบ

การรักษา

                หากสงสัยควรส่งโรงพยาบาลทันที

                ถ้าบวมและหอบมาก ให้ยาขับปัสสาวะ เช่น ฟูโรซีไมด์1 1-2 หลอดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

                ในเด็กเล็ก  ถ้าสงสัยเกิดจากโรคเหน็บชา ให้ฉีดวิตามินบี 1 ร่วมด้วย

                ผู้ป่วยมักจะต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล อาจต้องตรวจเลือด (ดูภาวะซีด ทดสอบการทำงานของไต อิเล็กโทรไลต์ เป็นต้น) ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ปอดตรวจคลื่นหัวใจ  ถ่ายภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiogram) เป็นต้น

              การรักษา ให้ออกซิเจน จำกัดปริมาณน้ำที่ดื่ม ให้ยาขับปัสสาวะ ร่วมกับยาต้านเอช เช่น อีนาลาพริล (enalapril) หรือแคปโทพริล (captopril) (สำหรับยาต้านเอช ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำ โพแทสเซียมในเลือดสูง และเกิดภาวะไตวายได้)

  •                 ถ้ายังไม่ได้ผล อาจให้ยาช่วยหัวใจทำงาน เช่น ไดจอกซิน (digoxin) เพิ่มเติม
  •                 นอกจากนี้ก็ให้ยารักษาโรคที่เป็นสาเหตุร่วมด้วย เช่น 
  •                 ถ้าเกิดจากโรคความดันโลหิตสูง ก็ให้ยาลดความดัน  
  •                 ถ้าเกิดจากโรคเหน็บชา ก็ให้วิตามินบี 1
  •                 ถ้าซีด อาจต้องให้เลือด และยาบำรุงโลหิต
  •                 ถ้าเกิดจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคหัวใจรูมาติก อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

[Total: 4 Average: 5]