หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง แต่หากมีอาการเจ็บหน้าอก หรือหายใจหอบร่วมด้วยควรส่งโรงพยาบาลด่วน
แพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการตรวจ อัลตราซาวด์ (Doppler ultrasonography) การถ่ายภาพรังสีเลือดดำด้วยการฉีดสารทึบรังสี (venography) ในกรณี สงสัยว่าอาจมีภาวะสิ่งหลุดอุดตันหลอดเลือดแดงปอดก็จะทำการตรวจพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติม
การรักษา มักจะต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลโดยให้ผู้ป่วยนอนพักและยกเท้าสูง 6 นิ้วให้สารกันเลือดเป็นลิ่ม ได้แก่ เฮพาริน (heparin) ฉีดเข้าใต้ผิวหนังแล้วให้กินยาเม็ดวาร์ริน (warfarin) ต่อซึ่งอาจต้องกินนาน 2-6 เดือน ยานี้ทำให้เลือดออกได้ง่าย จำเป็นต้องตรวจเลือดดู clotting time แล้วปรับขนาดยาให้เหมาะสม
การรักษาอื่น ๆ ได้แก่ การพันด้วยผ้าพันแผลชนิด ยืด หรือการสวมใส่ถุงเท้าชนิดยืด (elastic stoching) เพื่อแก้ไขอาการบวมและป้องกันภาวะแทรกซ้อน การผ่าตัดเอาลิ่มเลือดออกบางกรณีอาจสอดใส่ “ตัวกรอง (filter)ไว้ในท่อเลือดดำส่วนล่าง (inferior vena cava) เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดหลุดลอยเข้าปอด