ส่วนใหญ่เกิดจากหลอดเลือดหัวใจมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ซึ่งเกิดจากความเสื่อมตามอายุหรือปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูงหรือผิดปกติ ความดันโลหิตสูง ความอ้วย การสูบบุหรี่จัด การขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น
นอกจากนี้ยังพบได้ว่า ภาวะโฮโมซิสตีนในเลือดสูง (hyperhomocysteinemia) ภาวะจาดไทรอยด์ ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดแข็งและโรคหัวใจขาดเลือดได้
ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจแข็ง จะมีไขมัน (คอเลสเตอรอลและไขมันชนิดอื่นๆ) เกาะที่ภายในผนังหลอดเลือดหัวใจเรียกว่าตะกรันท่อเลือดแดง atheroma/atherosclerotic plaque) ทำให้ช่องทางเดินของเลือดตีบแคบลง เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง และจะเกิดอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดชั่วขณะเมื่อมีภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้น (เช่น การออกแรงมากๆ ขณะร่วมเพศ การมีอารมณ์โกรธ หรือจิตใจเครียด) หรือมีออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจน้องลง (เช่น ภาวะซีด หลอดเลือดหดตัวขณะสูบบุหรี่ เลือดไปเลี้ยงหัวใจน้อยลงหลังกินอาหารอิ่ม)
ส่วนน้อยอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ลิ้นหัวใจ เออร์ติกตีบหรือรั่ว หัวใจห้องล่างซ้ายโตจากโรคความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจพิการ (cardiomyopathy) การหดเกร็ง (spasm) ของเหลอดหัวใจ หลอดเลือดหัวใจปกติแต่กำเนิด การติดเชื้อหรือการอักเสบของหลอดเลือดหัวใจ การบาดเจ็บ การฉายรังสีบริเวณทรวงอก เป็นต้น
ส่วนโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ส่วนใหญ่เกิดจากมีลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดหัวใจซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันทันทีซึ่งเกิดในผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจแข็งและตีบมาก่อน มักเป็นผลจากตะกรันท่อเลือดแดงที่เกาะที่ผนังหลอดเลือดหัวใจมีการขาดหรือแตก เกล็ดเลือดจับเป็นลิ่มเลือดอุดตันช่องทางเดินเลือดอย่างสมบูรณ์ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายฉับพลัน
ส่วนน้อยอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ภาวะมีลิ่มเลือดในหัวใจแล้วหลุดลอยไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดหัวใจหดเกร็งรุนแรงจากยาเสพติด (ได้แก่ โคเคน แอมเฟตามีน) เป็นต้น
สาเหตุ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
[Total: 0 Average: 0]