การรักษา ช็อก

                ถ้าพบผู้ป่วยมีภาวะช็อก ควรรีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาล ระหว่างนั้นควรให้การรักษาขึ้นต้น

                แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลทำการค้นหาสาเหตุโดยการตรวจเลือดปัสสาวะ เอกซเรย์คลื่นหัวใจ และตรวจพิเศษอื่น ๆ  

การรักษา ให้การรักษาแบบประคับประคอง เช่น ให้น้ำเกลือนอร์มัลหรือริงเกอร์แล็กเทตให้เลือด ใส่ท่อ หายใจ ให้ออกซิเจน  เป็นต้น

                ในรายที่ให้สารน้ำแล้วความดันโลหิตยังต่ำ แพทย์จะให้สารกระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อหลอดเลือด เช่น โดบูทามีน (dobutamine) โดพามีน (dopamine) หรือ นอร์เอพิเนฟรีน (norepinephrine)

                นอกจากนี้จะให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ เช่น

  • ให้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ
  • ผ่าตัดผู้ป่วยที่เป็นครรภ์นอกมดลูก
  • ให้การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแบบฉุกเฉิน 
  • เช่น การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบัลลูน
  • สำหรับภาวะช็อกจากต่อมหมวกไตบกพร่อง เฉียบพลัน ฉีดไฮโดรคอร์ติโซน 100 มก.เข้าหลอดเลือดดำทุก 6 - 8  ชั่วโมง
  • สำหรับภาวะช็อกจากการแพ้  ฉีดอะดรีนาลิน โดยผสมยานี้ 0.1 มล.ในน้ำเกลือ10 มล.ฉีดเข้าหลอดเลือดดำใน 5 -10 ฉีดไดเฟนไฮดรามีน 25 - 50 มก.(เด็กให้ขนาด 1 มก./กก.) เข้าหลอดเลือดดำ ฉีดรานิทิดีน 50 มก.(เด็กให้ขนาด 0.5 มก./กก.) เข้าหลอดเลือดดำ และฉีดเมทิลเพร็ดนิโซโลน 125 มก.(เด็กให้ขนาด 1-2  มก./กก) เข้าหลอดเลือดดำ

            ผลการรักษา ขึ้นกับความรุนแรงของโรค และระยะ ของโรคที่เริ่มให้การรักษา ถ้าสามารถให้การรักษาตั้งแต่ ระยะแรกเริ่มในขณะที่มีอาการรุนแรงไม่มาก ก็มักจะได้ ผลดีหรือหายเป็นปกติ  ถ้าสามารถให้การรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่มในขณะที่มีอาการรุนแรงไม่มาก ก็มักจะได้ผลดีหรือหายเป็นปกติ แต่ถ้าปล่อยให้อวัยวะสำคัญขาด เลือดจนเกินภาวะล้มเหลว ก็มักจะเสียชีวิต โดยทั่วไปภาวะช็อกที่มีสาเหตุจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย และภาวะโลหิตเป็นพิษ มักมีอัตราตายค่อนข้างสูง

[Total: 0 Average: 0]