1.ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย ผู้ป่วยทาลัสซีเมียโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ควรปฏิบัติตัว ดังนี้
- กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ มีโปรตีนสูง (เช่นเนื้อสัตว์ นม ไข่ เต้าหู้ ถั่วต่างๆ และมีสารโฟเลตสูง (พืชผักต่างๆ) เพื่อให้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ธาตุเหล็กสูงมาก ได้แก่ เลือดสัตว์ต่างๆเพราะร่างกายมีเหล็กมากเกินอยู่แล้ว
- ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจซ้ำเติมให้เกิดให้ตับแข็งได้เร็วขึ้น เนื่องจากเหล็กที่สะสมในร่างกายมีพิษต่อตับอยู่แล้ว
- ห้ามสูบบุหรี่ นอกจากมีโทษต่อสุขภาพโดยรวมแล้ว ยังอาจทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนมากขึ้น เนื่องจากมีภาวะซีดอยู่แล้ว
- ป้องกันการติดเชื้อ โดยการรักษาอนามัยส่วนบุคคล หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นไข้หวัด ไอ เจ็บ คอ หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่แออัด รับวัคซีนป้องกันโรคตามกำหนด (รวมทั้งวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีและ Hemophilus influenza type b) สำหรับผู้ที่ผ่าตัดม้ามออกควรได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมค็อกคัสทั้งก่อนและหลังผ่าตัด
- หลีกเลี่ยงการกระทบกระแทก การลื่นหกล้ม เพราะผู้ป่วยมีกระดูกเปราะบาง อาจแตกหักได้ง่าย
- หมั่นออกกำลังกายอย่างพอเหมาะไม่หักโหมหรือเหนื่อยเกินไป
- กินยาเม็ดกรดโฟลิก (folic acid) ขนาด 5 มก.เสริมวันละ 1เม็ด ไปจนตลอดชีวิต
- ไม่ควรซื้อยาบำรุงเลือดมากินเอง เพราะอาจเป็นยาที่มีธาตุเหล็กซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก แต่เป็นโทษต่อผู้ป่วยทาลัสซีเมียที่มีภาวะเหล็กเกินอยู่แล้ว
- ควรติดตามรักษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอแม้ว่าโรคนี้จะเป็นเรื้อรัง แต่การรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่องจะช่วยให้โรคทุเลา ป้องกันภาวะแทรกซ้อน มีชีวิตยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้
- ผู้ที่ป่วยควรไปพบแพทย์ทันทีเมื่อรู้สึกมีไข้ซีดลงอย่างมาก หรือมีอาการเจ็บป่วยต่างๆ เพื่อรับการรักษาแต่เนิ่นๆ เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้อาการอาจรุนแรงขึ้นในเวลารวดเร็วได้
2. ในการดูแลรักษาผู้ป่วย ควรให้คำปรึกษาแนะแนว (counselling) แก่ผู้ป่วยและครอบครัว ให้เข้าใจถึงธรรมชาติของโรค ความหมายของการเป็นพาหะ ความเสี่ยงต่อการมีลูกเป็นโรค แนวทางปฏิบัติในการรักษา โรคและป้องกันในครอบครัว และทำการตรวจกรองโรคในหมู่สมาชิกของครอบครัว ผู้ป่วย รวมทั้งให้การสนับสนุนด้านจิตใจและสังคม เพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจสามารถรับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
[sibling-pages]
[Total: 0 Average: 0]