การรักษา หัวใจห้องล่างเต้นเร็ว

สามารถรักษาได้โดยการใช้สายสวนชนิดพิเศษจี้จุดกำเนิดความผิดปกติในหัวใจด้วยพลังงานวิทยุ (Catheter ablation) โดยไม่ต้องผ่าตัด

ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงจากภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Tachycardia) มักได้รับการฝังเครื่องกระตุกหัวใจ (Implantable Cardioverter defibrillator, ICD) เพื่อควบคุมภาวะหัวใจเต้นเร็วมากให้กลับคืนสู่ปกติและป้องกันการตายกะทันหันด้วยโรคหัวใจ (Sudden Cardiac Death) โดยแพทย์อาจให้ยาร่วมกับการฝังเครื่องกระตุกหัวใจ เพื่อรักษาภาวะ Tachycardia

เมื่อแพทย์โรคหัวใจวินิจฉัยว่าอาการใจสั่นเกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ  การรักษาจะขึ้นอยู่กับชนิดและลักษณะของหัวใจเต้นผิดจังหวะ  โดยสามารถแบ่งการรักษาคร่าวๆ ออกเป็น 4 รูปแบบ ซึ่งคนไข้บางคนอาจจะได้รับการรักษาหลายรูปแบบควบคู่กันไป  คือ

1. รักษาด้วยยา เช่น  Beta-blockers, Calcium-channel blockers, or antiarrhythmic drugs (เช่น Amiodarone, Sotalol, Flecainide, Propafenone, Dronedarone, Dofetilideเป็นต้น)  ซึ่งยาแต่ละกลุ่มจะเหมาะกับโรคที่แตกต่างกัน และมีผลข้างเคียงทางยาไม่เหมือนกัน

2. รักษาด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker) ใช้ในการรักษาภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติ  โดยเครื่องจะปล่อยกระแสไฟฟ้าขนาดต่ำผ่านสายไฟไปกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจ  ทำให้หัวใจกลับมาเต้นด้วยอัตราปกติ

3. รักษาด้วยเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (Implantable Cardioverter Defibrillator : ICD) ใช้ในการรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติแบบอันตราย (Malignant tachyarrhythmia) เช่น Ventricular Fibrillation : VF หรือ Ventricular Tachycardia : VT  ลักษณะการใส่เข้าไปในร่างการจะคล้ายกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker) แต่เครื่อง ICD จะสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าขนาดสูงเพื่อกระตุกหรือช็อคหัวใจให้กลับมาเต้นเป็นปกติอีกครั้ง

4. รักษาด้วยการจี้หัวใจ (Cardiac ablation)ป็นการรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็ว หรือ เต้นผิดจังหวะ ที่เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในประเทศไทย ใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีขั้นสูง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจจะใส่สายเข้าไปในหัวใจผ่านทางเส้นเลือดดำ(และบางครั้งเส้นเลือดแดง)ที่ขาหนีบ เพื่อหาจุดหรือบริเวณที่ก่อให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในหัวใจ  แล้วทำการจี้รักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency ablation) 

[Total: 0 Average: 0]