การรักษา หวัดภูมิแพ้

               1. แนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตว่าเกิดจากสารก่อภูมิแพ้หรือสิ่งกระตุ้นอะไร แล้วพยายามหลีกเลี่ยง ก็อาจช่วยให้อาการทุเลาได้ เช่น มีอาการขณะกวาดบ้านหรือถูกฝุ่นก็แสดงว่าเกิดจากฝุ่น ถ้าเป็นขณะอยู่ในห้องนอนก็อาจเกิดจากไรฝุ่นบ้าน ถ้าเป็นขณะสัมผัสสัตว์เลี้ยงก็อาจเกิดจากสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

                วิธีหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ (เช่น ไรฝุ่นบ้าน เชื้อรา สัตว์เลี้ยง ละอองเกสร )

             2. ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อย เป็นช่วงสั้นๆ เช่น ตอนเช้าหลังตื่นนอน ตอนสายๆ หายได้เอง ก็ไม่จำเป็นต้องให้ยารักษา แต่ถ้ามีอาการน้ำมูกไหลมากหรือไอจนน่ารำคาญ ให้กินยาแก้แพ้ เช่น คลอร์เฟนิรามีน หรือไดเฟนไฮดรามีน ครั้งละ ครึ่ง - 1 เม็ด วันละ 2-4 ครั้ง หรือยาแก้แพ้ที่ไม่ง่วง เช่น ลอราทาดีน ครั้งละ ครึ่ง - 1 เม็ด วันละครั้ง เป็นต้น
               ถ้ามีอาการคัดจมูกมากหรือหูอื้อร่วมด้วย ให้กินยาแก้คัดจมูก เช่น สูโดเอฟีดรีน ครบด้วยครั้งละ ครึ่ง - 1เม็ด วันละ  2-3 ครั้ง

                บางรายอาจใช้ยาป้ายจมูกเอฟีดรีน วันละ 1 – 2 ครั้ง แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 3 วัน อาจทำให้เยื่อจมูกกลับบวมมากขึ้นได้

                ถ้าไอมากให้กินยาระงับการไอ 

                ยาเหล่านี้ให้กินเมื่อมีอาการจนน่ารำคาญหรือมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เมื่ออาการดีขึ้นก็ให้หยุดยา แต่ถ้ากำเริ)บใหม่ ก็ให้กินใหม่ บางคนที่เป็นอยู่ประจำทุกวัน ก็อาจต้องคอยกินยาไปเรื่อยๆ

                3. ให้การรักษาดังกล่าวแล้วไม่ได้ผล หรือเป็นเรื้อรัง (มีอาการมากกว่า 4 วันต่อสัปดาห์  และมีอาการติดต่อกันนานกว่า 4 สัปดาห์) หรือรุนแรง (มีอาการนอนไม่หลับ นอนกรนมีภาระหยุดหายใจขณะหลับ มีผลกระทบต่อการเรียน การงาน หรือคุณภาพชีวิต) ให้ยาสตีรอยด์ชนิดพ่นจมูกวันละ 1 – 2 ครั้ง เช่น บูโดซีไนด์ (budosenide) เบโคลเมทาโซน (beclomethasone) ไตรแอมซิโนโลน (triamcinolone) ฟลูทิคาโซน  (fluticasone) เป็นต้น ยากลุ่มนี้สามารถบรรเทาอาการจาม คัน คัดจมูก และน้ำมูกไหลได้ดี แต่จะได้ผลหลังจากใช้ยาได้ 1 สัปดาห์ไปแล้ว ยานี้อาจใช้เดี่ยวๆ  หรือใช้ร่วมกับยาแก้แพ้  แก้คัดจมูก ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรค

               4. ถ้าไม่ได้ผลควรส่งโรงพยาบาลหรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในรายที่ไม่แน่ใจ แพทย์อาจทำการวินิจฉัยโดยการใช้กล้องส่องตรวจภายในโพรงจมูก (nasal endoscopy) การตรวจอีโอซิโนฟิลในเลือด (พบมากกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนเม็ดเลือดขาวทั้งหมด) หรือในเสมหะ
(พบมากกว่าร้อยละ 30) การทดสอบผิหนัง (skin test) ดูว่าแพ้สารอะไร เอกซเรย์ไซนัส (ดูว่ามีการอักเสบหรือไม่) เป็นต้น ถ้าพบว่าเป็นหวัดภูมิแพ้  แพทย์อาจทำการปรับเปลี่ยนยา เช่น ให้ไอพราโทรเพียมโบรไมด์ชนิดพ่อจมูก (ช่วยลดน้ำมูกได้ดี)โซเดียมโครไมไกลเคต (sodium cromoglycate) ชนิดพ่นจมูก ยาต้านลิวโคทรีนชนิดกิน (ได้ผลต่อการลดอาการคัดจมูกและใช้ควบคุมโรคหืดที่พบร่วม) สตีรอยด์ชนิดกิน
(ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และไม่ใช้ติดต่อกันนานกิน 2 สัปดาห์)

                ในบางรายอาจต้องทำการทดสอบผิวหนั (skintest)ว่าแพ้สารอะไร แล้วให้การรักษาด้วยการขจัดภูมิไว(desensitization/hyposensitization)โดยการฉีดสารที่แพ้เข้าร่างกายที่ละน้อย ๆ เป็นประจำทุก 1 – 2 สัปดาห์ นาน 3-5 ปี ซึ่งค่ารักษาค่อนข้างแพง วิธีนี้จำได้ผลดีในรายที่แพ้ไรฝุ่นบ้าน เชื้อรา ละอองเกสร หญ้าวัชพืช ขุยหนังหรือรังแคแมว (cat dander) สำหรับเด็ก วิธีนี้อาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคหืดตามมาได้

                ผลการรักษา ส่วนใหญ่สามารถควบคุมอาการได้ดีด้วยยาแก้แพ้และสตีรอยด์ชนิดพ่นจมูก แต่เมื่อหยุดยาก็อาจกำเริบได้อีก

                ส่วนน้อยที่ต้องให้การรักษาด้วยวิธีอิมมูนบำบัด (การขจัดภูมิไว) หรือใช้ยากลุ่มอื่น

                ในรายที่ดื้อต่อการรักษาอาจเกิดจากการใช้ยาไม่ถูกต้อง หรืออาจมีโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หืด ติ่งเนื้อเมือกจมูก ควรปรับยาที่ใช้ให้เหมาะสม หรือรักษาโรคที่พบร่วม

[Total: 0 Average: 0]