1. เมื่อมีอาการหอบหืดกำเริบฉับพลัน ให้สูดยากระตุ้นบีตา 2) ทันที ถ้าไม่มียาชนิดสูด ให้ฉีดยากระตุ้นบีตา 2 เข้าใต้ผิวหนังแทน ถ้ายังไม่ทุเลา สามารถให้ยาสูดหรือยาฉีดดังกล่าวซ้ำได้อีก 1-2 ครั้งทุก 20 นาที
หากผู้ป่วยรู้สึกหายดี ให้ทำการประเมินอาการสาเหตุกระตุ้น และประวัติการรักษาอย่างละเอียด
ในกรณีที่มีประวัติเป็นโรคหืดและมียารักษาอยู่ประจำ ถ้าป่วยมีอาการตอนกลางวันไม่เกิน 2 ครั้ง/สัปดาห์ สามารถทำกิจกรรม ต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ และไม่มีอาการตอนกลางคืน ก็ให้การรักษาแบบกลุ่มที่ควบคุมโรคได้ โดยให้ใช้ยาที่เคยใช้อยู่เดิมต่อไป
ในกรณีที่ผู้ป่วยเพิ่งมีอาการครั้งแรกและไม่เคยได้รับยารักษามาก่อน ควรเริ่มให้การรักษาขั้นที่ 2 และถ้ามีอาการรุนแรงก็ควรเริ่มให้การรักษาขั้นที่ 3 ควรส่งตรวจสมรรถภาพของปอด ให้สุขศึกษาและคำแนะนำในการปฏิบัติตัวต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง และการหลีกเลี่ยงสาเหตุกระตุ้น
ควรติดตามผู้ป่วยทุก 1-3 เดือน เพื่อประเมินอาการและปรับเปลี่ยนขั้นตอนการรักษาที่เหมาะสม
2. ผู้ป่วยมีอาการกำเริบและมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ควรส่งโรงพยาบาลด่วน
- มีไข้และใช้เครื่องฟังตรวจปอดมีเสียงกรอบแกรบ (crepitation) หรือสงสัยว่าเป็นปอดอักเสบ หรือหลอดลมฝอยอักเสบ
- มีอาการเท้าบวม หลอดเลือดคอโป่ง ความดันโลหิตสูง หรือสงสัยมีภาวะหัวใจวาย
- มีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง มีประวัติเป็นโรคหัวใจ หรือสงสัยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
แพทย์มักจะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลในรายที่ยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน อาจต้องทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์ปอด ตรวจสมรรถภาพของปอด ตรวจเลือด ตรวจเสมหะ ตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น
การรักษา ในรายที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคหืดกำเริบรุนแรงหรือภาวะหืดต่อเนื่อง มีแนวทางในการรักษาดังนี้
เมื่อควบคุมอากาได้แล้ว แพทย์จะนัดติดตามดูอาการภายใน 2-4 สัปดาห์
3. ผู้ป่วยที่เป็นโรคหืดทุกราย แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาระยะยาวเพื่อควบคุมอาการให้น้อยลง ป้องกันอาการกำเริบรุนแรงเฉียบพลัน ฟื้นฟูสมรรถภาพของปอดให้กลับคืนสู่ปกติ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ป้องก้นการเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นอย่างถาวร โดยมีแนวทางการดูแลรักษาดังนี้
ก. ประเมินความรุนแรงของโรค โดยพิจารณาจากอาการแสดงร่วมกับการตรวจสมรรถภาพของปอด (ดูค่า FEV1 และ PEF)
ข. ให้ยารักษาโรคหืด ซึ่งมีการเลือกใช้ชนิดและขนาดของยาตามระดับของการควบคุมโรค ดังนี้
หลังจากควบคุมอาการได้แล้ว ก็ควรติดตามผลการรักษาต่อไปทุก 1-3 เดือน และปรับขั้นตอนการรักษาให้เหมาะกับระดับของการควบคุมโรค ซึ่งสามารถแปรเปลี่ยน (ดีขึ้นหรือเลวลง) ไปได้เรื่อย ๆ
ส่วนยาที่ใช้รักษาโรคหืด แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
ในรายที่สูดไม่ได้ อาจใช้ยากระตุ้นบีตา 2 ออกฤทธิ์สั้นชนิดกิน หรือที่โอฟิลลีนออกฤทธิ์สั้นชนิดกินแทน ส่วนยากระตุ้นบีตา 2 ชนิดฉีดจะใช้เฉพาะเมื่อมีอาการรุนแรงเฉียบพลัน
ในกรณีที่ใช้ยาสูดชนิดนี้เพียงอย่างเดียวไม่ได้ผลเต็มที่ อาจใช้ยาขยายหลอดลมกลุ่มแอนติโคลิเนอร์จิก ได้แก่ ไอพราโทรเพียมโบรไมด์ชนิดสูดแทนหรือใช้ร่วมกันซึ่งจะเสริมให้ควบคุมอาการได้ดีขึ้น
- สตีรอยด์ชนิดสูด (inhaled glucocorticosteroid / ICS เช่น บีโคลเมทาโซนไดโพริโอเนตบูดีโซไนด์ ฟลูนิโชไลด์ ฟลูทิคาโซน ไตรแอมซิโนโลน อะเซโทไนด์ เป็นต้น มักใช้เดี่ยวๆ ในการรักษาขั้นที่ 2 และ 3 หรือใช้ร่วมกับยาอื่นในการรักษาขั้นที่ 3-5 ยากระตุ้นบีตา 2 ออกฤทธิ์นาน เช่น Formoterol หรือ salmeterol ชนิดสูด bambuterol ชนิดกิน เป็นต้น มักใช้ร่วมกับสตีรอยด์ชนิดสูดในการรักษาขั้นที่ 3-5
- ยาต้านลิวโคทรีน (leukotriene modi-Fier) เช่น montelukast หรือ zafirlukast ชนิดกิน เป็นต้น ยานี้สามารถใช้เดี่ยว ๆ
ในการรักษาขั้นที่ 2 หรือใช้ร่วมกับยาอื่นในขั้นที่ 3-5 ใช้ได้ผลดีในผู้ป่วยที่เป็นหืดจากยาแอสไพริน หรือการออกกำลังกาย รวมทั้งในรายที่มีโรคหวัดภูมิแพ้ร่วมด้วย
- ที่โอฟิลลีนออกฤทธิ์นานชนิดกิน มักใช้ร่วมกับยาอื่นในการรักษาขั้นที่ 3 – 5
- เพร็ดนิโซโลนชนิดกิน มักใช้ร่วมกับยาอื่นในการรักษาขั้นที่ 5 ขนาด 5 -10 มก.วันละครั้ง สักระยะหนึ่งจนกว่าจะดีแล้วจึงค่อยหยุดยา
- ยาต้านไอจีอี (amti-IgE) เช่น omali-zumab ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง มักใช้ร่วมกับยาอื่นในการรักษาขั้นที่ 5
โดยทั่วไป ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาขั้นที่ 3 แล้ว ยังควบคุมอาการไม่ได้ ควรส่งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหือ เพื่อปรับเปลี่ยนการรักษาให้เหมาะสม
ในเด็กที่มีสาเหตุจากสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้และอาการไม่ดีขึ้นหลังการใช้ยาหรือไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียง
ของยา แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาด้วย การขจัดภูมิไว (desensitization)
ค. ให้การรักษาโรคที่พบร่วม เช่น หวัดภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ โรคกรดไหลย้อน เป็นตัน
ง. แนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าหรือสาเหตุกระตุ้นและการปฏิบัติตัวต่าง ๆ
จ. ติดตามผลการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและทำการตรวจสมรรถภาพของปอดเป็นระยะ ในรายที่เป็นโรคหืดรุนแรง ควรให้ผู้ป่วยใช้มาตรวัดการไหลของ ลมหายใจออกสูงสุด (Peak flow meter) ไปตรวจเองที่บ้านทุกวัน เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคและปรับยาให้เหมาะสม และผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง
ผลการรักษา ส่วนใหญ่สามารถควบคุมอาการได้ดี
ถ้ามีอาการเริ่มเป็นตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อโตขึ้นหรือ ย่างเข้าวัยหนุ่มสา อาการอาจทุเลาจนสามารถเหยุดการใช้ยาสูดบรรเทาอาการได้ แต่บางรายเมื่ออายุมากขึ้นก็อาจมีอาการกำเริบได้อีก
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจมีการอักเสบของหลอดลมอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ไม่มีอาการหอบเหนื่อยแล้วหากขาดการให้ยาควบคุมโรค (ลดการอักเสบ) ก็อาจเกิดภาวะทางเดินหายใจผิดปกติและอุดกั้นในระยะยาวได้ ดังนั้น ถึงแม้จะมีอาการทุเลาแล้วก็ควรติดตามรักษากับแพทย์อย่าง
ต่อเนื่อง
ส่วยในรายที่มีอาการมาก จำเป็นต้องได้รับยาอย่างเพียงพอ หากขาดยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาสตีรอยด์มาก่อน
ก็อาจมีอาการกำเริบรุนแรงเฉียบพลัน ถึงขึ้นกลายเป็นภาวะหืดดื้อ เป็นอันตรายได้
ปัจจุบันพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะมีอัตราตายต่ำ