การรักษาด้วยตนเอง ยารักษาโรค เช่น พาราเซตามอลและไอบูโพรเฟน อาจช่วยลดอาการปวดได้ หลีกเลี่ยงการให้แอสไพรินแก่เด็กเนื่องจากอาจทำให้เกิดความเจ็บป่วยที่ร้ายแรงและพบได้ยาก
เนื่องจากไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่มียาที่ใช้รักษาโดยเฉพาะ เพียงแต่ให้การรักษาไปตามอาการเท่านั้น ได้แก่
1. แนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ดังนี้
- พักผ่อนมาก ๆ ห้ามตรากตรำทำงานหนักหรือ ออกกำลังกายมากเกินไป
- สวมใส่เสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่น อย่าถูกฝน หรือถูกอากาศเย็นจัด และอย่าอาบน้ำเย็น
- ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อลดไข้ และทดแทนน้ำ ที่เสียไปเนื่องจากไข้สูง
- ควรกินอาหารอ่อน น้ำข้าว น้ำหวาน น้ำส้ม น้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มร้อน ๆ
- ใช้ผ้าชุบน้ำ (ควรใช้น้ำอุ่น หรือน้ำก๊อก ธรรมดา อย่าใช้น้ำเย็นจัดหรือน้ำแข็ง) เช็ดตัวเวลามีไข้สูง
2. ให้ยารักษาตามอาการดังนี้
ก. สำหรับผู้ใหญ่และเด็กโต (อายุมากกว่า 5 ปี)
• ถ้ามีไข้ ให้พาราเซตามอล ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี ควรหลีกเลี่ยงการใช้เอสไพริน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรย์
ชินโดรม
• ถ้ามีอาการน้ำมูกไหลมากจนสร้างความ รำคาญ ให้ยาแก้แพ้ เช่น คลอร์เฟนิรามีน ใน 2-3 วันแรก เมื่อทุเลาแล้วควรหยุดยา หรือกรณีที่มี อาการไม่มาก ก็ไม่จำเป็นต้องให้ยานี้
• ถ้ามีอาการไอ จิบน้ำอุ่นมาก ๆ หรือจิบ
ข. สำหรับเด็กเล็กและทารก
• ถ้ามีไข้ให้พาราเซตามอลชนิดน้ำเชื่อม
• ถ้ามีน้ำมูกมาก ให้ใช้ลูกยางเบอร์ 2 ดูดน้ำมูกบ่อย ๆ (ถ้าน้ำมูกข้นเหนียว ควรใช้น้ำเกลือหยอดในจมูกก่อน) หรือใช้กระดาษทิชชูพันเป็นแท่งสอดเข้าไปเช็ดน้ำมูก (ถ้าน้ำมูกข้นเหนียว ควรชุบน้ำสุก หรือน้ำเกลือพอชุ่มก่อน)
• ถ้ามีอาการไอจิบน้ำอุ่นมาก ๆ หรือจิบน้ำ - ผึ้งผสมมะนาว ถ้ามีอาการอาเจียนเวลาไอ ไม่จำเป็นต้อง ให้ยาแก้อาเจียน ควรแนะนำให้ป้อนนมและอาหารทีละน้อยแต่บ่อยครั้งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนจะเข้านอน
3. ยาปฏิชีวนะไม่จำเป็นต้องให้ เพราะไม่ได้ผลต่อการฆ่าเชื้อหวัดซึ่งเป็นไวรัส (อาการที่สังเกตได้คือ มีน้ำมูกใส ๆ หรือสีขาว) ยกเว้นในรายที่สงสัยว่าจะมีอาการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม เช่น มีไข้ทุกวันติดต่อกันเกิน 4 วัน มีน้ำมูกหรือเสมหะข้นเหลืองหรือสีเขียวเกิน 24 ชั่วโมง หรือปวดหู หูอื้อ
ยาปฏิชีวนะ ให้เลือกใช้เพนิชิลลินวี อะม็อกชีชิลลิน ในรายที่แพ้แพนิชิลลินให้ใช้อีริ- ไทรไมซิ หรือร็อกชิโทรไมซินแทน ควรให้นาน 7-10 วัน
4. ถ้าไอมีเสมหะเขียว ให้งดยาแก้แพ้ และ ยาระงับการไอและให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ วันละ 10- 15 แก้ว
5. ถ้ามีอาการหอบ หรือนับการหายใจได้เร็วกว่า ปกติ (เด็กอายุ 0-2 เดือนหายใจมากกว่า 60 ครั้ง/นาที อายุ 2 เดือนถึง 1 ปี หายใจมากกว่า 50 ครั้ง/นาที อายุ 1-5 ปี หายใจมากกว่า 40 ครั้ง/นาที หรือมีไข้นานเกิน 7 วัน ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว อาจเป็นปอดอักเสบ หรือภาวะรุนแรงอื่น ๆ ได้ อาจต้องเอกซเรย์ ตรวจเลือด ตรวจเสมหะ เป็นต้น
6. ในเด็กถ้ามีอาการชักร่วมด้วย ดูเรื่อง “ชักจาก ไข้ ”
7. ถ้าสงสัยเป็นไข้หวัดนก เช่น มีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตายภายใน 7 วัน หรืออยู่ใน พื้นที่ที่มีการระบาดของไข้หวัดนกภายใน 14 วัน
ควร ส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยเร็ว