ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย พบได้ตลอดทั้งปี แต่จะมีอุบัติการณ์สูงในช่วงฤดูฝน (มิถุนายนถึงตุลาคม) และฤดูหนาว (มกราคมถึงมีนาคม) บางปีอาจพบมีการระบาดใหญ่

พบเป็นสาเหตุอันดับแรกๆ ของอาการไข้ที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน  แพทย์มักจะให้การวินิจฉัยผู้ใหญ่ที่มีอาการตัวร้อนมา 2-3 วัน โดยไม่มีอาการอย่างอื่นชัดเจนว่าเป็นไข้หวัดใหญ่  ซึ่งบางครั้งก็อาจจะผิดพลาดได้

สาเหตุ ไข้หวัดใหญ่

เกิดจาก เชื้อไข้หวัดใหญ่  ซึ่งเป็นไวรัสที่มีชื่อว่าไวรัสอินฟลูเอนซา (influenza virus) เชื้อนี้จัดอยู่ในกลุ่มไวรัส ที่เรียกว่า  orthomyxovirus ไวรัสไข้หวัดใหญ่ มีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ เอ บี และซี

ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ มักก่อให้เกิดอาการรุนแรงอาจพบระบาดได้กว้างขวาง และสามารถกลายพันธุ์แตก แขนงเป็นสายพันธุ์ย่อย ๆ ได้  ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดบี ก่อความรุนแรงและการระบาดของโรคได้น้อยกว่าเอ  สามารถกลายพันธุ์ได้แต่ไม่มากเท่าชนิดเอ ส่วนไวรัส ไข้หวัดใหญ่ชนิดซี มักก่อให้เกิดอาการเพียงเล็กน้อยและ ไม่ค่อยพบระบาด

ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สามารถพบได้ทั้งในคน และสัตว์ (ส่วนอีก 2 ชนิดพบเฉพาะในคนเท่านั้น) แบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อย ๆ โดยมีชื่อเรียกตามชนิดของโปรตีน ที่พบบนผิวของเชื้อไวรัส โปรตีนดังกล่าวมีอยู่ 2 ชนิดได้แก่ ฮีแม็กกลูตินิน (hemagglutinin เรียกย่อว่า H) ซึ่ง มีอยู่ 16 ชนิดย่อย และนิวรามินิเดส (neuramimidase  เรียกย่อว่า N) ซึ่งมีอยู่ 9 ชนิดย่อย ในการกำหนดชื่อ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ จึงใช้ตัวอักษร H ควบกับ N โดยมีตัวเลขกำกับท้ายอักษรแต่ละตัว ตามชนิดของ โปรตีน เช่น

  • ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ H1N1(สายพันธุ์เก่า) เป็นต้นเหตุของการระบาดใหญ่ทั่วโลกในปี พ.ศ.2461- 2462  ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนราว 20-40 ล้านคน เนื่องจากมีต้นตอจากสเปน จึงมีชื่อว่า ไข้หวัดใหญ่สเปน (Spanish flu) และกลับมาระบาดใหญ่อีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2520

เนื่องจากมีต้นตอจากรัสเซียจึงเรียกว่า ไข้หวัดใหญ่ รัสเซีย
                ในปี พ.ศ.2552 มีการระบาดใหญ่ทั่วโลกของไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 สายพันธุ์ใหม่ (สายพันธุ์ 2009) ซึ่งมีความรุนแรงกว่าสายพันธุ์เก่า มีต้นตอจากประเทศเม็กซิโก
             • ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H2N2 เป็นต้นเหตุการระบาดของไข้หวัดใหญ่เอเชีย ในปี พ.ศ.2500-2501ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนราว 1 ล้านคน
             • ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3N2 เป็นต้นเหตุการระบาดของไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง ในปี พ.ศ. 2511-2512 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนราว 7 ล้านคน
             • ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H5N1 เป็นต้นเหตุของไข้หวัดใหญ่สัตว์ปีก หรือไข้หวัดนก

วิธีการแพร่เชื้อ เชื้อไข้หวัดใหญ่จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย ตอดต่อโดยการหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด หรือโดยการสัมผัสถูกมือ สิ่งของเครื่องใช้ หรือสิ่งแวดล้อมที่ แปดเปื้อนเชื้อ แบบเดียวกับไข้หวัด

นอกจากนี้ เชื้อไข้หวัดใหญ่ยังสามารถแพร่กระจาย ทางอากาศ (airborne transmission) กล่าวคือ เชื้อจะติด อยู่ในละอองฝอย ๆ เมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม เชื้อสามารถกระจายออกไประไกลและแขวนลอยอยู่ในอากาศได้ นาน เมื่อคนอื่นสูดเอาอากาศที่มีฝอยละอองนี้เข้าไป โดยไม่จำเป็นต้องไอหรือจามรดใส่กันตรง ๆ ก็สามารถ ติดโรคนี้ได้ ดังนั้น โรคนี้จึงสามารถระบาดได้รวดเร็ว ระยะฟักตัว 1-4 วัน (ส่วนน้อยอาจนานเกิน 7วัน)

อาการ ไข้หวัดใหญ่

มักจะเกิดขึ้นทันทีทันใดด้วยอาการไข้สูง หนาว ๆ ร้อน ๆ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก (โดยเฉพาะที่กระ-เบนเหน็บ ต้นแขนต้นขา) ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ขมในคอ อาจมีอาการเจ็บในคอ คัดจมูก น้ำมูก ใส ไอแห้ง ๆ จุกแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน แต่บางรายก็อาจไม่มีอาการคัดจมูก หรือเป็นหวัดเลยก็ได้ มีข้อสังเกตว่า ไข้หวัดใหญ่มักเป็นหวัดน้อย แต่ไข้หวัดน้อยมักเป็นหวัดมาก อาการไข้จะเป็นอยู่ประมาณ 1-7 วัน (ที่พบบ่อยคือ 3-5 วัน) อาการไอ และอ่อนเพลีย อาจเป็นอยู่ 1-4 สัปดาห์ แม้ว่าอาการอื่น ๆ จะทุเลาแล้วก็ตาม

บางรายเมื่อหายจากไข้หวัดใหญ่แล้วอาจมีอาการบ้านหมุน เนื่องจากอาการอักเสบของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน

ในรายที่เป็นรุนแรงอาจมีอาการแสดงของภาวะ แทรกซ้อน เช่น มีน้ำมูกหรือเสมหะข้นเหลืองหรือสีเขียวปวดหู หูอื้อ หายใจหอบเหนื่อย เป็นต้น

สิ่งตรวจพบ ไข้หวัดใหญ่

ไข้ 38.5-40 องศาเซลเซียล หน้าแดง เปลือกตาแดง อาจมีน้ำมูกใส คอแดงเล็กน้อยหรือไม่แดงเลย (ทั้ง ๆที่ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บคอ)

ส่วนมากมักตรวจไม่พบอาการผิดปกติอื่น ๆ ยก เว้นในรายที่มีภาวะแทรกซ้อน ก็อาจตรวจพบอาการของภาวะแทรกซ้อน เช่น ฟังปอดได้ยินเสียงกรอบแกรบ (crepitation) ในผู้ที่เป็นปอดอักเสบ เสียงอึ๊ด (rhonchi) ในผู้ที่เป็นหลอดลมอักเสบ เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อน ไข้หวัดใหญ่

ส่วนมากจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ส่วนน้อยอาจมีภาวะแทรกซ้อน ที่พบได้บ่อยได้แก่ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบหูชั้นในอักเสบ หลอดลมอักเสบ หลอดลมพอง 

ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ปอดอักเสบ ซึ่ง  มักเกิดจากแบคทีเรียพวกนิวโมค็อกคัส หรือสแตฟี- โลค็อกคัส (เชื้อชนิดหลังนี้มักจะทำให้เป็นปอดอักเสบร้ายแรงถึงตายได้) บางรายก็อาจจะเกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่นอกจากนี้ยังอาจพบภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) สมองอักเสบ หลอดเลือดดำอักเสบร่วม กับภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (thrombophlebitis) เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง (เช่น ปอดอักเสบ) มักจะ เกิดในผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก (ต่ำกว่า 2 ขวบ) ผู้สูงอายุ (มากกว่า 65 ปี ) หญิงตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ผู้ที่สูบบุหรี่จัด คนอ้วน ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน โรค หืด โรคเรื้อรังทางปอดหรือหัวใจ ไตวายเรื้อรัง โรคตับเรื้อรัง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ที่มีภาวะภูมิคุมกันต่ำ

การรักษา ไข้หวัดใหญ่

  1. ให้การดูแลปฏิบัติตัว และรักษาตามอาการเหมือนไข้หวัด คือ นอนพักมาก ๆ ห้ามตราตรงาน หนัก ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง กิน อาหารอ่อน ๆ (ข้าวต้ม โจ๊ก) ดื่มน้ำและน้ำหวานหรือน้ำผลไม้มาก ๆ ให้ยาพาราเซตามอล  ลดไข้แก้ปวด ผู้ ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี ควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพรินเพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรย์ซิน - โดรมถ้าไอให้จิบน้ำผึ้งผสมมะนาว หรือยาแก้ไอ
  2. ยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็นต้องให้เพราะเป็นโรคที่ เกิดจากไวรัส จะให้ต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อ แบคทีเรีย เช่น มีน้ำมูกหรือเสมหะสีเหลืองหรือเขียว ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลม อักเสบ เป็นต้น ยาปฏิชีวนะที่มีให้เลือกใช้  เช่น  เพนิซิลลินวี  อะม๊อกซีซิลลิน โคไตรม็อกซาโซล อีริโทรไมซิน หรือร็อกซิโทรไมซิน
  3. ถ้ามีไข้เกิน 7 วัน หรือมีอาการหอบ หรือสงสัยปอดอักเสบ โดยเฉพาะถ้าพบในผู้สูงอายุหรือเด็ก  เล็ก ควรส่งโรงพยาบาลด่วน  อาจต้องเอกซเรย์  ตรวจเลือด  ตรวจเสมหะ  เป็นต้น ถ้าพบว่าเป็นปอดอักเสบ ก็ให้ยาปฏิชีวนะตามชนิดของเชื้อที่ตรวจพบ
  4. ถ้ามีอาการรุนแรง หรือพบในผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น เด็กเล็ก  ผู้สูงอายุ  สตรีตั้งครรภ์  ผู้ที่สูบบุหรี่จัด คนอ้วน ผู้ที่เจ็บป่วย เรื้อรัง หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ควรส่งปรึกษาแพทย์ผู้ เชี่ยวชาญ เพื่อพิจารณาให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัส เช่น  อะแมนทาดีน (amantadine) ไรแมนทาดีน(rimanta-dine)ไรบาไวริน (ribavirin) สำหรับไข้หวัดใหญ่สาย  พันธุ์เดิม โอเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) ซามิเวียร์(zanimivir) สำหรับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (2009)
  5. ถ้าสงสัยเป็นไข้หวัดนก เช่น มีประวัติ สัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตายภายใน 7 วัน หรืออยู่ใน พื้นที่ที่มีการระบาดของไข้หวัดนกภายใน 14 วัน ควรส่ง ผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยเร็ว
  6. ในการวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่ มักพิจารณาจากอาการแสดงเป็นส่วนใหญ่ ในรายที่สงสัยเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดร้ายแรง ไข้หวัดนก หรือสงสัยมีการระบาด แพทย์จำเป็นต้องทำการวินิจฉัยให้แน่ชัด โดยการตรวจทางห้องปฏิบัติกา เช่น การตรวจนับเม็ดเลือด (อาจพบเม็ดเลือดขาวต่ำ) การทดสอบทางน้ำเหลือง (serologicTests) เพื่อหาระดับสารภูมิต้านทาน (แอนติบิดี) ต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ การตรวจหาเชื้อไวรัส**จากจมูกและ  คอหอย เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนในการรักษาและป้องกันที่จำเพาะต่อชนิดของเชื้อก่อโรค
[Total: 0 Average: 0]