1. ถ้าพบในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงอยู่ก่อน และมีอาการในระยะแรกเริ่ม (หายใจเร็วกว่าปกติเล็กน้อย ไม่มีอาการซี่โครงบุ๋ม หรือตัวเขียว) ให้การรักษาเบื้องต้นด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น เพนิซิลลินวี อะม็อกซีซิลลิน หรืออีริโทรไมซิน (สำหรับกลุ่มวัยรุ่นและ วัยหนุ่มสาว ควรให้อีริโทรไมซิน เพื่อครอบคลุมเชื้อไมโคพลาสมา และคลามีเดีย) และให้การรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ให้ดื่มน้ำมาก ๆใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว ควรติดตามดูอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
ถ้าอาการอีขึ้นใน 3 วัน ควรให้ยาปฏิชีวนะติดต่อกันนาน10- 14 วัน ถ้าไม่ดีขึ้น หรือมีอาการหอบมากขึ้น ควรส่งโรงพยาบาล
2. ถ้าพบในทารก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคทางปอดหรือโรคหัวใจอยู่ก่อนผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีอาการหอบรุนแรง ซี่โครงบุ๋ม ตัวเขียว สับสน หรือซึม ควรส่งโรงพยาบาลด่วนถ้ามีภาวะขาดน้ำรุนแรงควรให้น้ำเกลือระหว่างเดินทางไปโรงพยาบาล
มักจะต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล ทำการวินิจฉัยโดยการเอกชเรย์ปอด ตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุ (โดยการย้อมเสมหะ เพาะเชื้อจากเสมหะ เพาะเชื้อจากเลือด) ตรวจระดับอิเล็กโทรไลต์ และออกซิเจนในเลือด
การรักษา ให้ออกซิเจน น้ำเกลือ ยาลดไข้ และเลือกให้ยาต้านจุลชีพตามชนิดของเชื้อที่พบ เช่น
แต่ถ้าปล่อยให้มีอาการรุนแรง หรือติดเชื้อชนิดร้ายแรง (เช่น สแตฟีโลค็อกคัส เคล็บซิลลา) หรือพบในทารก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มี ภูมิคุ้มกันต่ำ ก็มักจะมีภาวะแทรกซ้อน และมีอัตราตายค่อนข้างสูง