1.ในรายที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ให้เด็กอยู่ในที่ที่อาการปลอดโปร่ง ให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ เพื่อให้เสมหะใสและขับออกง่าย
ควรให้อาหารทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง เพื่อลดอาการอาเจียน
ถ้าอาเจียนมาก ควรให้อาหารทีละน้อย และให้ทดแทนหลังอาเจียน หรือให้น้ำเกลือผสมเอง (น้ำสุก1 ขวดแม่โขงกลม + น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ + เกลือแกง 1/2 ช้อนชา)
การให้ยาแก้ไอเพื่อระงับอาการไอ มักจะไม่ได้ผล(สำหรับเด็กอายุมากกว่า 1 ปี อาจใช้น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำผึ้ง 4 ช้อนโต๊ะ จิบบ่อย ๆ) ควรให้ยาฟีโนบาร์บิทาล วันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอนเพื่อช่วยให้เด็กได้นอนหลับพักผ่อน
ยาปฏิชีวนะ ควรให้ในระยะที่เริ่มมีอาการไม่เกิน 1 สัปดาห์ หรือในเด็กที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่เริ่มป่วยเป็นโรคนี้ แต่ยังไม่เกิดอาการ จะช่วยลดความรุนแรงและโรคแทรกซ้อนลงได้ แต่ไม่ช่วยลดระยะของโรคให้สั้นลง ยาที่ใช้คือ อีริโทรไมซิน
ขนาด 50 มก./ กก./วัน แบ่งให้วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอนนาน 14 วัน (ยาปฏิชีวนะอื่นที่ใช้ได้ผล เช่นโคไตรม็อกซาโชลไรแฟมพิซิน อะซิโทรไมชิน คลาริโทรไมซินเป็นต้น)
แต่ถ้ามีอาการแสดงเกิน 1-2 สัปดาห์ การให้ยาปฏิชีวนะมักไม่ได้ผล ยกเว้นในรายที่มีปอดอักเสบหรือหลอดลมอักเสบแทรกซ้อน
ส่วนอาการเลือดออกที่ตาขาว ไม่ต้องทำอะไรจะค่อย ๆ จางหายไปได้เอง
2. ในรายที่มีปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ หรือหูอักเสบให้เพิ่มยาปฏิชีวนะ เช่น เพนิซิลลินวี อะม็อกซีซิลลิน หรืออีริโทรไมซิน และให้การรักษาแบบเดียวกับปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ หูอักเสบ
3. ในทารกที่มีอาการชักเกร็ง ตัวเขียว หยุดหายใจให้ทำการผายปอดโดยการเป่าปาก และใช้ลูกยางดูดเอาเสมหะออก แล้วรีบส่งโรงพยาบาล
4. ถ้ามีอาการหอบหรือขาดน้ำรุนแรง ควรส่งโรงพยาบาลด่วน
5. ถ้าพบในเด็กทารกอายุต่ำกว่า 3 เดือน ควรรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อการดูแลอย่างใกล้ชิดจนกว่าจะปลอดภัย
6.ถ้าไอเรื้อรังร่วมกับน้ำหนักลด ควรแนะนำให้ไปโรงพยาบาล อาจมีวัณโรคกำเริบแทรกซ้อน