ภาวะลิ้นติด (Tongue-tie) เป็นมากกว่าคำเปรียบเทียบสำหรับการพูดที่ติดขัด เป็นสภาพภายในช่องปากที่เป็นปัญหาตั้งแต่การดูดนมแม่ การพูดไปจนถึงสุขภาพของฟัน
ยังมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาอยู่สำหรับภาวะลิ้นติดและมีหลายสิ่งที่เข้าใจผิด หากบุตรหลานของคุณได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะลิ้นติด สิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เพื่อค้นหาขั้นตอนต่อไป
ปัญหาในช่องปากเช่นลิ้นและริมฝีปากเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์เป็นผลมาจากการกลายพันธ์ุของยีนส์ที่ส่งต่อเป็นลักษณะเด่น
เด็กแรกเกิดที่มีภาวะลิ้นติด หรือพังผืดใต้ลิ้น เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Ankyloglossia มักจะมีเยื่อสั้นๆและหนา เรียก Frenulum ไปรั้งการเคลื่อนไหวของลิ้นเอาไว้ โดยเยื่อดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นเส้นเนื้อเยื่อเล็กๆที่ยื่นมาจากฐานใต้ลิ้น
ภาวะลิ้นติดมักถูกจำแนกในลักษณะต่างๆ ผู้ให้บริการทางการแพทย์บางรายก็จัดประเภทของภาวะลิ้นติดตามระบบการจำแนกประเภทของ the Coryllos I–IV (the Coryllos I–IV classification system)ได้แก่ ชนิด I, ชนิด II, ชนิด III และชนิด IV
การจำแนกประเภทของภาวะลิ้นติดด้วยตัวเลขจะมีลักษณะไม่เหมือนกันกับตัวเลขที่ระบุระดับความรุนแรงในโรคมะเร็ง ตัวเลขเหล่านี้ไม่ได้จำเป็นในการบอกแนวทางการวินิจฉัยหรือการรักษา แต่ใช้เพื่ออธิบายว่าเยื่อพังผืดติดดับลิ้น
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพท่านอื่นได้จำแนกภาวะลิ้นติดเพียงแค่ว่าอยู่ด้านหน้า (Anterior) หรือด้านหลัง (Posterior) ขณะเดียวกันก็ใช้เครื่องมือในการประเมินของ the Hazelbaker assessment tool for lingual frenulum function (HATLFF) ในการประเมินหน้าที่ของลิ้น
โดยแบบประเมิน HATLFF เป็นเครื่องมือในการประเมินที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการประเมินการทำงานของลิ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมบุตรส่วนใหญ่ใช้ HATLFF ในการประเมินว่าเด็กทารกอาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่ (จากนั้นทำการส่งต่อให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ)
สาเหตุ ภาวะลิ้นติด
โดยปกติเนื้อเยื่อใต้ลิ้นซึ่งมีลักษณะหนา สั้น และยึดติดกับใต้ลิ้นแน่น จะแยกตัวออกจากใต้ลิ้นและพื้นล่างของช่องปากตั้งแต่ก่อนแรกเกิด แต่หากเนื้อเยื่อดังกล่าวยังคงยึดเกาะกันอยู่จะทำให้เกิด Tongue-tie ได้ โดยมักพบภาวะนี้ในเด็กผู้ชายได้มากกว่าเด็กผู้หญิง อย่างไรก็ตาม แพทย์ยังไม่รู้ถึงสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิด Tongue-tie แต่ผู้ป่วยบางคนก็อาจเผชิญภาวะนี้เนื่องจากปัจจัยทางพันธุกรรม
อาการ ภาวะลิ้นติด
ภาวะ Tongue-tie มีลักษณะอาการที่พบได้ ดังนี้
- แลบลิ้นได้ไม่พ้นริมฝีปาก
- ไม่สามารถขยับลิ้นไปด้านข้างและมุมปากได้
- ไม่สามารถทำให้ปลายลิ้นแตะเพดานปากได้
- เมื่อแลบลิ้น ปลายลิ้นอาจมีลักษณะแบน เป็นเหลี่ยม หรือมีรอยหยักเข้ามาเป็นรูปหัวใจ
- อาจมีช่องว่างระหว่างฟันหน้าด้านล่างทั้ง 2 ซี่
นอกจากนี้ ผู้ปกครองยังสามารถสังเกตอาการ Tongue-tie ของเด็กได้ในขณะให้นมบุตรด้วย เช่น
- ไม่สามารถเปิดปากได้กว้างพอจะดูดนมจากเต้า และมักดูดงับหัวนมไม่ค่อยอยู่
- มักเคี้ยวหัวนมมากกว่าดูดน้ำนม
- ดูดนมเป็นเวลานาน มีการหยุดดูดเป็นช่วงสั้น ๆ แล้วจึงดูดนมต่อ
- มีเสียงดังคลิกเกิดขึ้นขณะดูดนม
- มักหิวอยู่ตลอดเวลา และเด็กมีน้ำหนักน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
- ระหว่างหรือหลังให้นมบุตร มารดาอาจมีอาการเจ็บหัวนม หัวนมแตก เกิดรอยกดหรือรอยริ้วบริเวณหัวนม และหัวนมแบน
ส่วนอาการ Tongue-tie ในเด็กโตอาจทำให้เด็กเกิดปัญหาในการพูดและการรับประทานอาหาร รวมถึงการตวัดลิ้นเข้าถึงฟันด้านใน ดังนั้น ผู้ปกครองจึงควรพาบุตรหลานไปพบแพทย์หากอาการต่าง ๆ ของ Tongue-tie สร้างความรำคาญใจหรือเป็นปัญหาต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย
การรักษา ภาวะลิ้นติด
การตัดสินใจในการรักษาภาวะลิ้นติดมักขึ้นอยู่กับความรุนแรง ผู้ให้บริการบางรายจะใช้วิธีการรอดูในรายที่ไม่รุนแรงมาก ขณะที่คนอื่นจะแนะนำให้ทำการติดเยื่อพังผืดออก (Fremotomy/Frenectomy) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้ในการคลายเยื่อพังผืด (Lingual frenulum)
การตัดเยื่อพังผืดใต้ลิ้นออกเป็นเรื่องง่ายโดยปกติจะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการผ่าตัด และสามารถทำในห้องตรวจได้ และผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของ Aeroflow Breastpumps กล่าวว่าผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือเลือดออกเพียงเล็กน้อย
แม้ว่าการตัดเยื่อพังผืดใต้ลิ้นมักเป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างง่าย แต่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลต้องหมั่นยืดเนื้อเยื่อที่ถูกตัดออกหรือเลเซอร์ออกไปเป็นประจำทุกวันอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์หลังจากออกจากโรงพยาบาล เหล่านี้ทำเพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อที่งอกใหม่ตึงเกินไประหว่างการฟื้นหาย
การยืดไม่ซับซ้อน แต่ทารกส่วนใหญ่มักจะไม่ชอบมัน และทำให้เกิดความยากลำบากแก่ผู้ปกครอง
ขั้นตอนนี้มักเป็นทางเลือกสำหรับผู้ปกครองที่กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
จากการศึกษาในปีค.ศ.2016 พบว่าการผ่าตัดภาวะลิ้นติดและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะลิ้นติดด้านหลัง ส่งผลให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีทิศทางที่ดีขึ้น นอกจากนี้นักวิจัยยังพบว่าการปรับปรุงเกิดขึ้นในช่วงต้น 1 สัปดาห์ภายหลังขั้นตอน และปรับปรุงต่อเนื่องหลายสัปดาห์
การรักษาภาวะลิ้นติดขึ้นอยู่กับความรุนแรง, อายุ และอาการ มีเทคนิกการผ่าตัดภาวะลิ้นติดด้านหน้าแบบง่ายๆซึ่งเป็นวิธีที่ทำมากที่สุด แต่หลายคนรู้สึกว่าไม่เพียงพอเนื่องจากไม่ได้คลายภาวะลิ้นติดด้านหลัง
ความยากในการรักษาร่วมกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเด็กทารกที่เข้ารับการผ่าตัดเยื่อพังผืดใต้ลิ้นออกยังเป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันอยู่ แม้ว่าขั้นตอนจะมีความเสี่ยงต่ำ บางคนยังสงสัยว่าจำเป็นต้องเอาเยื่อพังผืดออกเพื่อช่วยในการป้อนนม
ภาวะแทรกซ้อนจากขั้นตอนดังกล่าวได้แก่ เลือดออก, การติดเชื้อ, ลิ้นหรือต่อมน้ำลายถูกทำลาย หรือหากไม่ได้มีการยืดเนื้อเยื่อหลังผ่าตัด เนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นใหม่ใต้ลิ้นอาจจะมีความตึง
ท้ายที่สุดแล้วการตัดสินใจคลายภาวะลิ้นติดควรอยู่ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยหรือผู้ปกครอง ในกรณีนี้คือแพทย์และผู้ปกครอง วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถตัดสินใจได้ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์อย่างนี้
หากการผ่าตัดเอาเยื่อพังผืดออกไม่ถูกแนะนำ หมอแมดเดน กล่าวว่าวิธีอื่นในการจัดการภาวะลิ้นติด ได้แก่ เครนิโอเซครัล เธราพี (Craniosacral therapy) เป็นเทคนิกที่ผ่อนคลายลดการตึงของระบบประสาท, การให้นมบุตร, การทำกายภาพ/กิจกรรมบำบัด และการบำบัดกลไกในช่องปาก