ท้องอืด (Flatulence) คืออาการที่ทุกคนอาจจะรู้จักกันดีเมื่อเกิดอาการที่มีลมในกระเพาะ อาหารไม่ย่อย มีแก๊สในกระเพาะอาหารเยอะเกินไปทำให้ต้องเกิดการผายลมบ่อยครั้ง หรือเรอ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดภาวะไม่สบายตัว อึดอัด ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
สาเหตุ ท้องอืด
สาเหตุท้องอืด มีได้หลายปัจจัยดังนี้:
การกลืนอากาศมากเกินไป
โดยปกติแล้วคนเราสามารถกลืนอากาศลงไปในท้องได้ในระหว่างการรับประทาน ดื่มน้ำ หรือพูดคุย โดยอากาศที่กลืนเข้าไปจะกลืนไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หากมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดการเรอ ผายลม หรือสะอึก เนื่องจากลมในกระเพาะเยอะเกินไป
สาเหตุที่ทำให้อากาศถูกกลืนเข้าท้องคือ:
- การเคี้ยวหมากฝรั่ง
- การสูบบุหรี่
- การรับประทานอาหารเร็วเกินไป
การรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแก๊ส
อาหารบางประเภทอาาจะทำให้ท้องอืดมากเกินไป อาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะมีดังนี้:
- กะหล่ำปลี
- ถั่ว
- ลูกเกด
- บร็อคโคลี
- ลูกพรุน
- แอปเปิ้ล
- น้ำอัดลม
โดยหลังจากผ่านกระบวนการย่อยอาหาร ในลำไส้ใหญ่นั้นจะมีแบคทีเรียจำนวนมากทำการย่อยอาหาร แก๊สนั้นจะเกิดขึ้นจากกระบวนการย่อยในครั้งนี้
ท้องอืดในคนท้อง
อาการท้องอืดในคนท้อง ผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ช้าลง ไม่เหมือนตอนร่างกายปกติ ดังนั้น แม่ท้องจึงท้องอืดท้องเฟื้อ ลมในท้องเยอะ และอาหารไม่ย่อยได้ง่าย
อาการ ท้องอืด
อาการท้องอืดมีลมในท้องนั้นโดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบายท้อง มีอาการแน่นท้อง ท้องแข็ง มีลมในท้อง อาการปวดท้องแน่นท้อง ท้องอืดผายลมบ่อย เรอ ท้องแข็งท้องอืด เป็นต้น
การรักษา ท้องอืด
วิธีแก้อาการท้องอืดขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหา ผู้ป่วยสามารถทำการรักษาอาการท้องอืดได้เองที่บ้าน โดยอาจจะลองปฎิบัติดังนี้ เพื่อเป็นวิธีแก้ลมในท้องเยอะเกินไป:
- ระมัดระวังในการรับประทานอาหาร หากอาหารที่ทานมีคาร์โบไฮเดรตมากไปทำให้ย่อยยาก ให้ลองเปลี่ยนเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่ายกว่าเช่นมันฝรั่งข้าวและกล้วย
- จดบันทึกการรับประทานอาหารประจำวัน จะช่วยให้คุณระบุได้ว่าอาหารประเภทใดที่รับประทานแล้วก่อให้เกิดอาการท้องอืดมากเกินไป เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงในครั้งหน้า หากผู้ป่วยกินอาหารแล้วท้องอืดควรปฎิบัติข้อนี้จะช่วยได้มาก
- กินให้น้อยลง พยายามกินอาหารมื้อเล็ก ๆ วันละห้าถึงหกมื้อแทนที่จะเป็นมื้อใหญ่สามมื้อเพื่อช่วยกระบวนการย่อยอาหาร
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
- ไม่สูบบุหรี่
- ไม่เคี้ยวหมากฝรั่ง
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายช่วยส่งเสริมการย่อยอาหารและสามารถป้องกันอาการท้องอืด
- รับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร