
COVID-19: มาแล้ว!!! สธ.แถลงผลตรวจสอบ 99% พบโอไมครอนรายแรกของไทย
วันที่ 6 ธ.ค. 2564 นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงสถานการณ์และความคืบหน้าการเฝ้าระวังสายพันธุ์โอไมครอน ในประเทศไทย ว่า 2 ถึง 3 วันที่ผ่านมามีข่าวลือว่ามีนักท่องเที่ยวติดเชื้อโอไมครอนในประเทศไทย
จากผลการตรวจสอบเก็บตัวอย่างนักท่องเที่ยวรายดังกล่าวครั้งที่ 1 (30 พ.ย. 2564) พบความเข้ากันได้กับจีโนม โอไมครอนร้อยละ 99 ซึ่งพบความน่าจะเป็นไปได้ ว่าน่าจะเป็นโอไมครอนรายแรกในประเทศไทย
สำหรับผู้ป่วยรายนี้เป็นชายชาวอเมริกัน เดินทางมาจากประเทศสเปน เข้าไทยในรูปแบบ Test and Go
เปิดไทม์ไลน์ชาวต่างชาติเข้าไทยตรวจเจอ “โอมิครอน” รายแรก
กรมควบคุมโรค เปิดไทม์ไลน์ชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย พบโควิด “โอมิครอน” รายแรกจากการตรวจเชื้อภายในประเทศ เผยองค์การอนามัยโลกประกาศขณะนี้แม้มีคนติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ แต่ยังไม่พบผู้เสียชีวิต ส่วนอาการ พบน้อยมาก ย้ำ! สิ่งสำคัญขอให้มาฉีดวัคซีนโควิด เพราะช่วยลดความรุนแรง และเสียชีวิตได้
เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.2564 นพ.โอภาส การ์ยกวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงไทม์ไลน์ชาวต่างชาติติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ “โอมิครอน” ที่ตรวจพบในประเทศไทย ว่า ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ล่าสุดวันที่ 5 ธ.ค.64 ขณะนี้พบผู้ติดเชื้อโอมิครอนแล้ว 46 ประเทศ และคงเติมไทยเป็นประเทศที่ 47 ซึ่งแบ่งการติดเชื้อออกเป็น 1.ติดเชื้อในประเทศ เช่น แอฟริกาใต้ รวมแล้วมี 15 ประเทศ 2.การติดเชื้อจากผู้เดินทางเข้า มี 31 ประเทศรวมถึงประเทศไทย พบการติดเชื้อจากผู้เดินทางเข้ามา และองค์การอนามัยโลกประกาศว่า ขณะนี้ยังไม่มีผู้เสียชีวิตจากโอมิครอน
อย่างไรก็ตาม สำหรับเคสยืนยันรายแรกว่าเป็นโอมิครอนนั้น เป็นชายอายุ 35 ปีสัญชาติอเมริกัน อาศัยอยู่ในสเปนมา 1 ปี เป็นนักธุรกิจ ไม่มีโรคประจำตัว และเป็นผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ เดินทางมาประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 พ.ย. โดยวันที่ 28 พ.ย. ได้ตรวจเชื้อด้วย PCR แต่ไม่พบเชื้อ จึงเดินทางมาไทย ซึ่งตรงนี้ตามเกณฑ์ของไทยว่า จะเข้ามาต้องตรวจเชื้อก่อน 72 ชั่วโมงไม่พบจึงเข้ามาได้ ซึ่งมาถึงเราได้ตรวจอีกครั้งและพบเชื้อวันที่ 1 ธ.ค. และส่งยืนยันกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เช่นกัน โดยรายนี้อาการน้อยมาก แทบไม่มีอาการ
โอไมครอน พบแล้ว 38 ประเทศ WHO เผย ยังไม่มีผู้เสียชีวิต
องค์การอนามัยโลก เผย พบเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนแล้ว อย่างน้อย 38 ประเทศ แอฟริกาใต้ติดเชื้อพุ่งทะลุ 3 ล้านรายแล้ว ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
WHO เตือนว่า อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์เพื่อบ่งชี้ว่า ไวรัสโอไมครอนแพร่เชื้ออย่างไร และทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงขึ้นหรือไม่ รวมทั้งประสิทธิภาพของการรักษาและวัคซีนในการป้องกันไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าว
ขณะที่มีการเตือนว่าโอไมครอนอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และออสเตรเลียเป็นประเทศล่าสุดที่ยืนยันการพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนภายในประเทศ ขณะที่การระบาดของโอไมครอนทำให้ยอดรวมผู้ติดเชื้อโควิดในแอฟริกาใต้พุ่งทะลุ 3 ล้านรายแล้ว
WHO เตือนว่า อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์เพื่อบ่งชี้ว่า ไวรัสโอไมครอนแพร่เชื้ออย่างไร และทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงขึ้นหรือไม่ รวมทั้งประสิทธิภาพของการรักษาและวัคซีนในการป้องกันไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าว
COVID-19: OH My GOD…”โอไมครอน” เชื้อโควิดกลายพันธุ์ตัวใหม่ที่พบในแอฟริกา
องค์การอนามัยโลกตั้งชื่อเชื้อกลายพันธุ์ตัวใหม่ที่พบในแอฟริกาว่า โอไมครอน เป็นตัวแรกในรอบกว่า 6 เดือนที่ถูกจัดให้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล ต่อจากเดลตาเมื่อเดือนพ.ค.
วันที่ 26 พ.ย. 2564 คณะกรรมการด้านโรคโควิด-19 ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาประกาศว่า ได้จัดให้เชื้อกลายพันธุ์ สายพันธุ์ B.1.1.529 อยู่ในรายชื่อเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variant of Concern) และตั้งชื่อเรียกตามลำดับตัวอักษรกรีกว่า โอไมครอน (Omicron)
สายพันธุ์โอไมครอนนับเป็นเชื้อกลายพันธุ์ตัวที่ 5 ที่ WHO จัดให้เป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล ต่อจากอัลฟา เบตา แกมมา และเดลตา ส่วนสายพันธุ์แลมบ์ดาและมิว ที่มีข่าวออกมาก่อนหน้านี้ ปัจจุบันยังถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในความสนใจ (Variant of Interest) ซึ่งมีความร้ายแรงต่ำกว่า
ประกาศของ WHO ระบุว่า ได้รับรายงานถึงสายพันธุ์โอไมครอนครั้งแรกในแอฟริกาใต้เมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยพบว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อในพื้นที่มีจำนวนสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในภายระยะเวลาเดียวกันที่ตรวจพบสายพันธุ์โอไมครอน ตัวอย่างเชื้ออันแรกที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นสายพันธุ์นี้ มีการเก็บมาตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย.
จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า สายพันธุ์โอไมครอนมีการกลายพันธุ์จำนวนมาก และบางส่วนเป็นที่น่ากังวล และมีหลักฐานชี้ว่าอาจจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะทำให้เกิดการกลับมาติดเชื้อซ้ำได้ เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ที่น่ากังวลสายพันธุ์อื่นๆ
มีการรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนเพิ่มขึ้นในแทบทุกจังหวัดของแอฟริกาใต้ โดยยืนยันว่าชุดตรวจแบบ PCR ยังคงสามารถใช้ตรวจจับสายพันธุ์ใหม่นี้ได้ แต่การที่จำนวนการตรวจพบเพิ่มขึ้นเร็วกว่าการระบาดครั้งก่อนๆ เป็นสัญญาณที่น่ากังวล ซึ่งอาจจะบ่งบอกว่าสายพันธุ์นี้มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย
Omicron อันตรายกับผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับวัคซีน หรือผู้สูงอายุที่ได้รับวัคซีนแล้วก็ยังต้องระวัง ถ้าใครครบกำหนดได้รับวัคซีนเข็ม3 ให้รีบไปรับเข็ม 3 ได้เลย อย่ารีรอ!
เชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) สายพันธุ์ใหม่ล่าสุด โควิดสายพันธุ์ B.1.1.529 หรือ โอไมครอน Omicron ถูกรายงานว่าพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ ปัจจุบันพบว่ามีการระบาดแล้วในประเทศ
- แอฟริกาใต้,
- บอตสวานา,
- เบลเยียม,
- ฮ่องกง,
- อิสราเอล,
- ออสเตรเลีย,
- สหราชอาณาจักร,
- เยอรมนี,
- แคนาดา
(ข้อมูล ณ วันที่ 29 พ.ย. 2021)
เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่เป็นตัวก่อโรคโควิด-19 พบเชื้อกลายพันธุ์ โควิดสายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) มีตำแหน่งการกลายพันธุ์ของยีนมากถึง 50 ตำแหน่ง โดยมีหลักฐานบ่งชี้ว่าอาจจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะทำให้เกิดการกลับมาติดเชื้อซ้ำได้ นอกจากนี้ยังพบการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ (receptor binding domain) ซึ่งไวรัสใช้จับยึดกับเซลล์ของคนเรามากกว่า 10 ตำแหน่ง ในขณะที่เชื้อโควิดกลายพันธุ์อย่างสายพันธุ์เดลตา (Delta) มีการกลายพันธุ์ในส่วนนี้เพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น ซึ่งจะทำให้อาจหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น แม้ว่าจะเป็นภูมิจากวัคซีนแล้วก็ตาม
โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน จมูกยังสามารถได้กลิ่น ลิ้นรับรสได้ดี ไม่ค่อยมีไข้ แต่พบว่ามีอาการ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปอดอักเสบ (ซึ่งอาการคล้ายกับสายพันธุ์เดลต้า) ปัจจุบันข้อมูลยังไม่เพียงพอที่จะสามารถสรุปได้ว่าอาการจะรุนแรงกว่าหรือไม่
อย่างไรก็ตามเราควรเฝ้าจับตามอง และติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันก็ปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุและผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนซึ่งอาจมีผลกระทบจากเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนนี้ และสำหรับใครที่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด ควรได้รับวัคซีนให้ครบโดส เพื่อลดความรุนแรงของอาการจากการติดเชื้อ
Pingback: COVID-19: เปิดไทม์ไลน์ชาวต่างชาติเข้าไทยตรวจเจอ “โอมิครอน” รายแรก: Health Me Now
December 6, 2021 at 8:01 am