COVID-19: โควิดสายพันธุ์มิว (Mu) คือ

4 เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย ไอเทมยอดฮิตประจำปี covid-19 คือ รักษา วัคซีน โอไมครอน โควิด เดลต้า

ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์มิว (Mu) รหัสพันธุกรรม B.1.621 ให้เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่เฝ้าระวัง หรือ Variants of Interest (VOI)ว่า สายพันธุ์มิว ถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศโคลัมเบีย เมื่อเดือน ม.ค. 2564 ต้นปีที่ผ่านมา ในฐานข้อมูลกลางโควิดโลกหรือ GISAID มีการเผยแพร่ข้อมูลที่พบการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น และมีการถอดรหัสพันธุกรรม พบการกลายพันธุ์ที่ต่างจากสายพันธ์ดังเดิมอู๋ฮั่นค่อนข้างมากถึง 50-60 ตำแหน่ง

ดังนั้น จึงเป็นปัจจัยทำให้องค์การอนามัยโลกพิจารณายกระดับให้เป็นสายพันธุ์ที่เฝ้าระวังตัวที่ 5 หลังจากที่ก่อนหน้ามี 4 สายพันธุ์ที่ถูกจัดให้เฝ้าระวัง คือ อีตา (Eta- B.1.525) ระบาดในหลายประเทศ , ไอโอตา (Iota – B.1.526 ) ระบาดในสหรัฐอเมริกา , แคปปา (Kappa- B.1.617.1) ระบาดในอินเดีย และ แลมบ์ดา (Lambda- C.37) ระบาดในเปรู สายพันธุ์เหล่านี้ถูกจัดเป็นกลุ่มสีเหลืองที่ความรุนแรงยังต่ำกว่าสายพันธุ์ที่ต้องระวังหรือ Variants of Concern (VOC) เป็นกลุ่มสีแดงมี 4 ตัวที่ระบาดในขณะนี้ คือ เดลตา,อัลฟา, เบตา และแกมมา

มิวเป็นสายพันธุ์ที่น่าสนใจสายพันธ์ุแรกถัดจากสายพันธุ์แลมบ์ดา ที่ดับเบิลยูเอชโอขึ้นบัญชีเมื่อเดือน มิ.ย. รายงานระบาดวิทยาฉบับล่าสุดของดับเบิลยูเอชโอระบุว่า มิวมีการกลายพันธุ์ที่บ่งชี้ว่าอาจมีคุณสมบัติหลุดรอดภูมิคุ้มกันได้ ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม

นายพอล กริฟฟิน ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อจากองค์กรไม่แสวงหากำไร “เมเทอร์ เฮลธ์ เซอร์วิส” และมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ กล่าวว่า ผู้เชี่ยวชาญมักจะมองหาสายพันธุ์กลายพันธุ์บริเวณโปรตีนหนามที่ทำให้คนฉีดวัคซีนแล้วก็ติดเชื้อได้ง่าย

“ถ้าโปรตีนหนามเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ก็แน่นอนว่าวัคซีนที่เรามีอาจป้องกันได้น้อยลง ซึ่งจะเป็นแบบนั้นได้ต้องใช้เวลาสักระยะ ตอนนี้ยังไม่เกิดขึ้น” นักวิชาการกล่าว

ดับเบิลยูเอชโอย้ำกว่า ต้องวิจัยเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจผลกระทบของสายพันธุ์มิว ขณะที่นายกริฟฟินกล่าวว่า ยังไม่มีหลักฐานชี้ว่ามิวเป็นสายพันธุ์ที่หลุดรอดภูมิคุ้มกันไปได้

สำหรับความชุกของการติดเชื้อทั่วโลก นับตั้งแต่ตรวจพบครั้งแรกก็พบสายพันธุ์นี้น้อยลง ปัจจุบันทั่วโลกอยู่ที่ไม่ถึง 0.1% แต่ความชุกในโคลอมเบียที่ 39% และเอกวาดอร์ 13% ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมีรายงานการระบาดในหลายพื้นที่ของสหรัฐและยุโรป

โควิดสายพันธุ์มิว ยังไม่พบระบาดในไทย

สายพันธุ์มิว ยังไม่พบการระบาดในประเทศไทย โดยที่พบมีการระบาดในประเทศที่ห่างไกลจากเรา ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะยังไม่มีหลักฐานทางคลินิกที่บ่งชี้ว่าจะรุนแรงกว่าสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ในปัจจุบัน เพียงแต่รหัสพันธุกรรมบ่งชี้ว่าอาจจะหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ ความกังวลที่ถูกจัดให้เฝ้าระวัง ส่วนใหญ่จะพิจารณาจากภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับวัคซีนป้องกัน เนื่องจากเกรงว่าวัคซีนที่ฉีดเข้าไปหรือแอนติบอดี้สังเคราะห์ที่ฉีดเข้าไปจะไม่ตอบสนอง

สายพันธุ์มิว ยังไม่พบการระบาดในประเทศไทย โดยที่พบมีการระบาดในประเทศที่ห่างไกลจากเรา ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะยังไม่มีหลักฐานทางคลินิกที่บ่งชี้ว่าจะรุนแรงกว่าสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ในปัจจุบัน เพียงแต่รหัสพันธุกรรมบ่งชี้ว่าอาจจะหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ ความกังวลที่ถูกจัดให้เฝ้าระวัง ส่วนใหญ่จะพิจารณาจากภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับวัคซีนป้องกัน เนื่องจากเกรงว่าวัคซีนที่ฉีดเข้าไปหรือแอนติบอดี้สังเคราะห์ที่ฉีดเข้าไปจะไม่ตอบสนอง

ดังนั้น จึงต้องรีบศึกษาทดลองในห้องปฏิบัติการ แต่ไม่ได้หมายความว่าในร่างกายมนุษย์จริงๆ จะเป็นเช่นนั้น บ่อยครั้งที่เรากังวลใจทำให้เกิดการเฝ้าระวังเป็นสิ่งที่ดี เช่น สายพันธุ์เบตาที่ระบาดในจ.นราธิวาส แต่เมื่อศึกษาพบการแพร่ระบาดไม่ได้เพิ่มจำนวนมากเท่าเดลตาหรืออัลฟา กระทรวงสาธารณสุขก็ควบคุมจำนวนจนเรียกได้ว่าเอาอยู่ อย่างไรก็ตามการเฝ้าระวังสายพันธุ์มิวสำหรับประเทศไทย ก็คงต้องเข้มงวดระบบการเฝ้าระวังคนที่เดินทางมาจากต่างประเทศทั้งในสถานกักตัวของผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและในโครงการแซนด์บอกซ์

ญี่ปุ่น พบ โควิด-19 สายพันธุ์ ‘มิว’ ครั้งแรก

สำนักข่าวเอ็นเอชเค ของญี่ปุ่น รายงานเมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมาระบุว่า ญี่ปุ่นพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ “มิว” เชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่องค์การอนามัยโลกกำลังจับตามอง เป็นครั้งแรก

กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่น ระบุว่าพบนักท่องเที่ยว 2 รายที่ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์มิว ที่ศูนย์กักตัวที่สนามบินสองแห่ง รายหนึ่งเป็นผู้หญิงในวัย 40 ปี ที่สนามบินนาริตะ เดินทางจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ส่วนอีกรายเป็นผู้หญิงในวัย 50 ที่สนามบินฮาเนดะ เดินทางจาก อังกฤษ ช่วงต้นเดือนกรกฎาคม

ทั้งนี้นายวาคิตะ ทาคาจิ ผู้อำนวยการใหญ่สถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติของญี่ปุ่น ระบุว่าจำเป็นจำต้องมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมและว่า มีการยืนยันการพบหลายสายพันธุ์แต่ควรมุ่งความสนใจไปที่สายพันธุ์ที่แพร่ระบาดได้มากกว่าชนิดอื่น

โควิดกลายพันธุ์ ทั้ง 9 สายพันธุ์

สำหรับโควิดกลายพันธุ์ทั้ง 9 สายพันธุ์ที่ถูกดับเบิลยูเอชโอขึ้นบัญชีเป็นสายพันธุ์น่าสนใจ 5 สายพันธุ์ ได้แก่

  1. เอตา พบครั้งแรกในหลายประเทศเมื่อเดือน ธ.ค.2563
  2. ไอโอตา พบครั้งแรกที่สหรัฐ เมื่อเดือน พ.ย.2563
  3. คัปปา พบครั้งแรกในอินเดียเมื่อ ต.ค.2563
  4. แลมป์ดา พบครั้งแรกในเปรู เมื่อเดือน ธ.ค.2563
  5. มิว พบครั้งแรกในโคลอมเบีย เมื่อ ม.ค.2564

ส่วนสายพันธุ์ที่น่ากังวล 4 สายพันธ์ุ ได้แก่

  1. อัลฟา พบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร เมื่อก.ย.2563
  2. เบตา พบครั้งแรกที่แอฟริกาใต้ เมื่อ พ.ค.2563
  3. แกมมา พบครั้งแรกในบราซิล เมื่อ พ.ย.2563
  4. เดลตา พบครั้งแรกในอินเดีย เมื่อ ต.ค.2563

ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อเวลาผ่านไปไวรัสกระจายไปมากก็มีโอกาสกลายพันธุ์มาก นายกริฟฟินกล่าวว่า วิธีที่ดีที่สุดในการจำกัดการกลายพันธุ์ของไวรัสคือการจำกัดการกระจายด้วยการฉีดวัคซีนให้มากขึ้นเพื่อลดโอกาสการที่ไวรัสจะมีชีวิตรอดในร่างกาย

[Total: 27 Average: 4.9]

One thought on “COVID-19: โควิดสายพันธุ์มิว (Mu) คือ

Leave a Reply