โรคลมแดด

โรคลมแดด (Heatstroke) คือภาวะของร่างกายที่ร้อนเกินไป หรืออุณหภูมิสูงเกินไปจากการได้รับสัมผัสกับอากาศร้อนหรือการออกแรงในพื้นที่มีอากาศร้อน โดยความร้อนนี้จะทำอันตรายกับร่างกายเมื่อร่างกายอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส โดยพบว่าคนเราสามารถเป็นโรคลมแดดได้มากในช่วงหน้าร้อน

หากเป็นลมแดดต้องได้รับการรักษาโดยฉุกเฉิน ถ้ารักษาไม่ทันสามารถทำลายสมองหัวใจ ไต และกล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งการรักษาช้า ยิ่งทำให้เกิดผลเสียมากเท่านั้น และร้ายแรงที่สุดอาจทำให้อันตรายถึงชีวิต

สาเหตุของโรคลมแดด

โรคลมแดดเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • การสัมผัสกับอากาศที่ร้อน โรคลมแดด (แบบคลาสสิก) การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนจะทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น โดยมักจะเกิดกับภูมิอากาศแบบร้อนชื้น และมักเกิดในผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง
  • ออกแรงอย่างมาก โรคลมแดดรุนแรงเกิดจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิแกนกลางของร่างกาย ซึ่งมาจากการออกกำลังกายอย่างหนักในสภาพอากาศร้อน มักพบในคนที่ไม่เคยสัมผัสอากาศร้อนมาก่อน

โรคลมแดดทั้งแบบรุนแรง และไม่รุนแรงสามารถเกิดได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • สวมใส่เสื้อผ้าหนาหรือมากเกินไป  ส่งผลให้ร่างกายสูญเสียเหงื่อได้มากกว่าปกติ
  • ดื่มแอลกอฮอล์ สิ่งนี้สามารถส่งผลต่อการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
  • การสูญเสียน้ำของร่างกาย การดื่มน้ำไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำของร่างกายจากความไม่สมดุล

อาการของโรคลมแดด

อาการของโรคลมแดดมีดังนี้

  • ร่างกายมีอุณหภูมิสูง ร่างกายมีอุณหภูมิมากกว่า 40 องศา นี่คือสาเหตุหลักของโรคลมแดด
  • พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป สับสน หงุดหงิด พูดไม่ชัด อาการเพ้อ ชัก และโคม่า เป็นสิ่งที่เกิดจากโรคลมแดด
  • เหงื่อออกมากว่าปกติ โรคลมแดดที่เกิดจากอากาศร้อน ผิวจะแห้งกว่าปกติ และอาการนี้สามารถเกิดได้จากการออกกำลังกาย หรือออกแรงมากจนทำให้ร่างกายร้อน ส่งผลให้ผิวแห้งหรือชุ่มชื้นน้อยลง
  • เวียนศีรษะและอาเจียน ผู้ป่วยจะมีอาการไม่สบายท้อง และอาเจียน
  • ผิวแดง เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น จะสังเกตได้ชัดว่าร่างกายมีผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดง
  • หายใจเร็วขึ้น ผู้ป่วยจะหายใจสั้นๆ และเร็วกว่าปกติ
  • หัวใจเต้นเร็วขึ้น ชีพจรจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากร่างกายเครียดจากความร้อน
  • ปวดศีรษะ  ศีรษะจะปวดตึบๆ

การรักษา โรคลมแดด

หากพบผู้ป่วยโรคลมแดด ควรโทรเบอร์ฉุกเฉินในพื้นที่ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างฉุกเฉิน

ระหว่างรอเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล ควรช่วยลดอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วยด้วยวิธีการดังนี้

  • เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังพื้นที่ร่ม
  • ถอดเสื้อผ้าที่ไม่จำเป็นของผู้ป่วยออก
  • ลดอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วย – นำผู้ป่วยไปยังอ่างน้ำเพื่อลดความร้อน หรือใช้น้ำฉีด หรือใช้ผ้าเย็นเช็ดตัวผู้ป่วย โดยเน้นที่ศีรษะ รักแร้ และขาหนีบ
[Total: 0 Average: 0]