ไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatal hernia) เกิดเมื่อส่วนบนของกระเพาะอาหารถูกดันขึ้นไปผ่านกระบังลมและเข้าไปในบริเวณช่องอก
กระบังลมเป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ที่วางตัวอยู่ระหว่างช่องท้องและช่องอก คุณจะใช้กระบังลมเพื่อช่วยในการหายใจ โดยปกติกระเพาะอาหารจะอยู่ใต้ต่อกระบังลม แต่ผู้ที่มีไส้เลื่อนกระบังลม ตำแหน่งของกระเพาะอาหารจะถูกดันผ่านกระบังลม การเคลื่อนตัวเข้าไปในส่วนเปิดดังกล่าวเรียกว่าช่องว่าง
ภาวะดังกล่าวส่วนใหญ่เกิดกับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป อีกทั้งยังส่งผลต่อผู้ที่มีอายุ 60 ปีถึงร้อยละ 60 จากรายงานของสมาคมให้ความรู้มะเร็งหลอดอาหาร
สาเหตุ ไส้เลื่อนกระบังลม
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของไส้เลื่อนกระบังลม ในบางคน การบาดเจ็บหรือการถูกทำลายอื่นๆอาจทำให้เนื้อเยื่อกล้ามเนื้ออ่อนแอลง เป็นไปได้ว่าทำให้กระเพาะอาหารถูกดันผ่านกระบังลม
สาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดแรงดันที่มากเกินไปในกล้ามเนื้อโดยรอบกระเพาะอาหาร สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นเมื่อ:
- ไอ
- อาเจียน
- เกิดการรัดระหว่างที่ลำไส้เคลื่อนไหว
- การยกของหนัก
บางคนอาจเกิดมาพร้อมช่องว่างขนาดใหญ่ผิดปกติ ซึ่งยิ่งทำให้ง่ายต่อการเคลื่อนตัวของกระเพาะอาหารผ่านเข้าไป
ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของไส้เลื่อนกระบังลม ได้แก่:
- โรคอ้วน
- อายุ
- การสูบบุหรี่
ประเภท ไส้เลื่อนกระบังลม
โดยทั่วมีไส้เลื่อนกระบังลมอยู่ 2 ประเภท คือ ไส้เลื่อนกระบังลมแบบคงที่หรือเคลื่อนไปแล้วค้างอยู่อย่างนั้น (Fixed, or Paraesophageal hernias) และไม่คงที่(มีลักษณะขึ้นๆลงๆจากตำแหน่งปกติ)(Sliding hiatal hernias)
ไส้เลื่อนกระบังลมแบบไม่คงที่ (Sliding hiatal hernia)
เป็นไส้เลื่อนกระบังลมที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดเมื่อกระเพาะอาหารและหลอดอาหารเคลื่อนที่เข้า-ออกผ่านช่องอก ไส้เลื่อนดังกล่าวมีมักมีขนาดเล็ก มันจึงไม่ได้เป็นเหตุให้เกิดอาการ จึงไม่จำเป็นต้องรักษา
ไส้เลื่อนกระบังลมแบบคงที่ (Fixed hiatal hernia)
เป็นไส้เลื่อนกระบังลมที่พบได้น้อย มักเรียกอีกชื่อว่า Paraesophageal hernia
ไส้เลื่อนแบบคงที่เกิดจากที่ส่วนของกระเพาะอาหารถูกดันผ่านกระบังลมและค้างอยู่อย่างนั้น ซึ่งส่วนใหญ่ไม่รุนแรง แม้ว่ามันเป็นความเสี่ยงที่ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงกระเพาะอาหารอาจถูกขัดขวางได้ หากเกิดเหตุดังกล่าวขึ้น ก็จะเป็นสาเหตุที่สำคัญของการทำลายและเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์
อาการ ไส้เลื่อนกระบังลม
ไส้เลื่อนกระบังลมแบบคงที่พบได้น้อยที่ทำให้เกิดอาการ หากคุณเคยมีอาการ สาเหตุมักเกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร น้ำดี หรือลมในหลอดอาหาร อาการทั่วไป ได้แก่:
- รู้สึกแสบร้อนกลางทรวงอก (Heartburn) ที่ซึ่งอาการยิ่งแย่ลงเมื่อเอนตัวลงหรือนอนลง
- เจ็บหน้าอก หรือปวดท้องบริเวณไต้ลิ้นปี่
- กลืนลำบาก
- เรอ
การรักษา ไส้เลื่อนกระบังลม
ไส้เลื่อนกระบังลมส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรักษา อาการ ณ ปัจจุบันจะเป็นตัวกำหนดการรักษา หากคุณมีอาการกรดไหลย้อนและแสบร้อนกลางทรวงอก คุณอาจได้รับการรักษาด้วยยา หรือหากไม่ได้ผลก็ทำการผ่าตัด
ยา
ยาที่แพทย์สั่งการรักษาได้แก่:
- ยาลดกรดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา เพื่อปรับสมดุลกรดในกระเพาะอาหารให้เป็นกลาง
- ยาลดการสร้างกรด โดยเป็น H2-receptor blockers สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาหรือสั่งโดยแพทย์
- ยาป้องกันการสร้างกรด ทำให้แผลในหลอดอาหารดีขึ้น โดยทำหน้าที่ยับยั้งโปรตอนปั้ม สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาหรือสั่งโดยแพทย์
การผ่าตัด
หากใช้ยาในการรักษาแล้วไม่ได้ผล คุณอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดไส้เลื่อนกระบังลม แม้ว่าโดยทั่วไปไม่แนะนำให้ผ่าตัด
การผ่าตัดบางประเภทสำหรับภาวะดังต่อไปนี้:
- การสร้างกล้ามเนื้อหลอดอาหารที่อ่อนแอขึ้นใหม่
- การวางกระเพาะอาหารกลับเข้าที่เดิม และทำให้ช่องว่างเล็กลง
ในการผ่าตัด แพทย์จะทำการผ่าตัดแบบมาตรฐานที่หน้าอก หรือช่องท้อง หรือผ่าตัดแบบส่องกล้องซึ่งจะทำให้การฟื้นหายเร็ว
ไส้เลื่อนสามารถกลับมาเป็นอีกภายหลังการผ่าตัด คุณสามารถลดความเสี่ยงนี้ได้โดย:
- รักษาน้ำหนักตัวที่เหมาะสม
- ขอความช่วยเหลือหากต้องยกของหนัก
- หลีกเลี่ยงการบีบรัดกล้ามเนื้อหน้าท้อง