ใน 1 ปีประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลเอกชน 68.2 ล้านคน โดยมีจำนวนการเข้าใช้บริการ 168 ล้านครั้ง/ปี
โดยในจำนวนดังกล่าวนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
- สถานพยาบาลของรัฐบาล 34% หรือคิดเป็น 13,090 แห่ง
- ที่เหลือ 64% เป็นของเอกชนหรือคิดเป็น 25,410 แห่ง โดยอยู่ในรูปแบบโรงพยาบาลเอกชนจำนวน 347 แห่ง
แบ่งเป็นโรงพยาบาลที่มี 1-50 เตียง (129 แห่ง) และ 51 เตียงขึ้นไป (218 แห่ง)
โรงพยาบาลเอกชนแยกโดยรายได้
โดยรายได้ส่วนใหญ่ของโรงพยาบาลเอกชนมาจาก
- ค่ายา 35%
- รายได้จากบริการทางการแพทย์ 20%
- การวิเคราะห์ผลจากห้องปฏิบัติการและห้องเอกซเรย์ 14%
- ห้องพักผู้ป่วย 9%
- รายได้อื่นๆ 12%
ในด้านผลการดำเนินกิจการในปี 2559 พบว่า การดำเนินกิจการในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชนก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจของประเทศถึง 99,427.0 ล้านบาท ซึ่งมาจากมูลค่ารายรับจากการดำเนินกิจการ 234,327.2 ล้านบาท หักด้วยค่าใช้จ่ายขั้นกลางในการดำเนินการ 134,900.2 ล้านบาท
ซึ่งเป็นผลให้โรงพยาบาลเอกชนมีการเติบโตเป็นอย่างมากตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น BDMS ที่มีเครือโรงพยาบาลมากที่สุดในไทย, บำรุงราษฎร์ ที่มีกำไรมากที่สุดในปี 61 ถึง 4,151.89 ล้านบาท หรือรามคำแหงที่มีการเติบโตมากที่สุดในด้านกำไรถึง 43%
โรงพยาบาลเอกชนแยกโดยจำนวนผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชนทั่วประเทศทั้งสิ้นมีจำนวน 68.2 ล้านราย
- ผู้รับบริการผู้ป่วยนอก 64.3 ล้านราย หรือ 95.5%
- เป็นผู้รับบริการผู้ป่วยใน 3.9 ล้านราย หรือ 4.5%
โดยเป็นผู้ป่วยชาวต่างประเทศที่เข้ามารับบริการในไทย มีจำนวนทั้งสิ้น 4.23 ล้านราย ในจำนวนนี้เป็นผู้มารับบริการที่เป็นผู้ป่วยนอกชาวต่างประเทศ 95.6% และผู้มารับบริการเป็นผู้ป่วยในชาวต่างประเทศ 4.4% (185,568 ราย)
สืบเนื่องจาก การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพไทย ที่เติบโตอย่างชัดเจนจากข้อมูลจากกองสุขภาพระหว่างประเทศ ณ วันที่ 6 ก.พ. 2561 ระบุว่า สถานพยาบาลทั่วประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับสากล JCI (Joint Commission International Accreditation) มีทั้งหมด 61 แห่ง แบ่งเป็นโรงพยาบาล 47 แห่ง และคลินิก 14 แห่ง
โรงพยาบาลเอกชนแยกโดยจำนวนบุคลากร
สำหรับจำนวนบุคลากรที่ทำงานในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชนรวมทั้งสิ้น 179,966 คน ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่รักษาพยาบาล คือ 109,920 คน หรือ 61.1% เป็นเจ้าหน้าที่บริการโรงพยาบาล 41,033 คน หรือ 22.8% โดยจำแนกออกเป็นดังนี้
- เจ้าหน้าที่รักษาพยาบาล ได้แก่
- แพทย์ทั่วไป
- แพทย์เฉพาะทาง
- ทันตแพทย์
- พยาบาลเทคนิคแพทย์
- ผู้ช่วยพยาบาล
- เจ้าหน้าที่บริการโรงพยาบาล
- นักรังสีแพทย์
- นักกายภาพบำบัด
- นักเทคนิค
- เภสัชกร
ที่มา: กระทรวงสาธารณสุข 2018, สำนักงานสถิติแห่งชาติ