โรงพยาบาลอัจฉริยะ: Smart Hospital คืออะไร

5 โรงเรียนทางการแพทย์ที่ดีที่สุดในโลกปี 2562

ปัจจุบัน โรงพยาบาลหลายๆ แห่งใน
ประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาผู้ป่วย
ล้นโรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยต้องรอคิ วใน
การรักษานาน การเบิกจ่ายค่ารักษาและรับยา
เป็นไปอย่างล่าช้า รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์
ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ดังนั้น โรงพยาบาล
จึงได้เริ่มน าเอาเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ใน
การบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น หรือที่
เราเรียกว่า โรงพยาบาลอัจฉริยะ หรือ Smart Hospital นั่นเอง

โรงพยาบาลอัจฉริยะ Smart Hospital คืออะไร

Smart Hospital เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ทางการแพทย์ที่ก าลังเกิดขึ้น โดย Smart Hospital
เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะและ Internet
of Things (IoT) ในโรงพยาบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการบริหารจัดการของโรงพยาบาล นั่นจะทำให้
ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น รวมถึง
ช่วยลดภาระของบุคลากรทางการแพทย

นโยบายโรงพยาบาลอัจฉริยะ Smart Hospital ของไทย

แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ประจ าปี
งบประมาณ พ.ศ.2562
กระทรวงสาธารณสุขมียุทธศาสตร์ความเป็น
เลิศทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ 1) ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน
โรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ 2) บริการเป็นเลิศ
3) บุคลากรเป็นเลิศ และ 4) บริหารเป็นเลิศด้วย
ธรรมาภิบาล
สำหรับแผนพัฒนา Smart Hospital นั้น
อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 4 บริหารเป็นเลิศด้วย
ธรรมาภิบาล ในแผนงานที่ 12 การพัฒนาระบบ
ข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ ซึ่งโครงการ Smart
Hospital มีตัวชี้วัดได้แก่

  1. เขตสุขภาพมีการดำเนินงาน Digital
    Transformationเพื่อก้าวสู่การเป็น Smart Hospital
    โดยเป็นการน าเทคโนโลยีด้านดิจิทัลมาประยุกต์
    ใช้ร่วมกับระบบสารสนเทศเดิมของโรงพยาบาล เช่น
    ระบบจองคิวแบบออนไลน์ การใช้ใบสั่งยาในรูปแบบ
    อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
  2. มีการใช้ Application ส าหรับ PCC ใน
    หน่วยบริการปฐมภูมิกล่าวคือ ทีมคลินิกหมอ
    ครอบครัว (Primary Care Cluster : PCC) สามารถ
    ใช้แอปพลิเคชันผ่าน Smart Device ในการติดตาม
    ดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ที่ดูแลรับผิดชอบ
    นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังได้สนับสนุน
    ให้โรงพยาบาลในสังกัดเป็น Smart Hospital โดยได้มี
    การน าเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการบริหารจัดการ
    โรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นการน าระบบ Cloud เข้ามา
    ประยุกต์ใช้ การพัฒนาระบบคิวอัตโนมัติ ระบบจัดยา
    อัตโนมัติ รวมไปถึงก า รวิจัยพัฒน าโปรแกรม AI
    เพื่อการวินิจฉัยโรค

ตัวอย่างการดำเนินงานด้านโรงพยาบาลอัจฉริยะ Smart Hospital ในไทย

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ได้นำตู้คิว
อัจฉริยะมาคอยอ านวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยใน
โรงพยาบาล ทั้งนี้ ตู้คิวดังกล่าวถูกพัฒนาโดยทีมบริษัท
My Health Group และได้รับการสนับสนุนจากธนาคาร
กสิกรไทยในการจัดทำตู้คิวอัจฉริยะ

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและธนาคารไทยพาณิชย์ได้ร่วมมือกันพัฒนาโครงการ Siriraj Smart Hospital
โดยประกอบไปด้วย 2 เครื่องมือส าคัญ ดังนี้

  1. แอปพลิเคชัน Siriraj Connect โดยแอปพลิเคชันดังกล่าวสามารถแจ้งเตือนวันนัดหมายล่วงหน้าได้ เช็คอิน ลงทะเบียนตรวจเพื่อยืนยันเวลานัดก่อนเข้าพบแพทย์ ระบบเช็คคิวและแจ้งเตือนคิวตรวจแบบเรียลไทม์ ระบบค้นหาและบันทึกข้อมูลยา รวมถึงยังสามารถช าระเงินผ่านแอปพลิเคชันได้อีกด้วย
  2. เครื่องรับช าระค่ารักษาพยาบาลอัตโนมัติ (Self-Payment Kiosk) เป็นการเพิ่มช่องทางการช าระค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้ใช้บริการ โดยผู้ใช้บริการสามารถช าระเงินได้โดยใช้เงินสด บัตรเครดิต บัตรเดบิต และ QR Code
    • โรงพยาบาลสมิติเวชร่วมกับไทยประกันชีวิต เปิดตัวบริการ Samitivej Virtual Hospital ซึ่งให้บริการทางการแพทย์รูปแบบใหม่ผ่านการใช้เทคโนโลยี Telehealth ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถพบแพทย์ได้ด้วยการวิดีโอคอลกับแพทย์ของสมิติเวชโดยตรงได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาลด้วยตนเอง ซึ่งบริการดังกล่าวจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางของผู้ใช้บริการ
    • โรงพยาบาลเวชธานีได้นำหุ่นยนต์จัดยาอัจฉริยะเข้ามาใช้ในโรงพยาบาลเพื่อให้บริการจัดการยาแก่ผู้ป่วยซึ่งแบ่งเป็น หุ่นยนต์จัดยาอัจฉริยะ EV220 ส าหรับผู้ป่วยนอกและหุ่นยนต์จัดยาอัจฉริยะ PROUD ส าหรับผู้ป่วยในโดยหุ่นยนต์จัดยาอัจฉริยะดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับระบบสั่งยาด้วยคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลและสามารถจัดยาให้ผู้ป่วยได้อัตโนมัติตามรายการสั่งยาของแพทย์
    • โรงพยาบาลรามาธิบดีได้เปิดตัว “หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดสมอง” เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง เส้นเลือดโป่งพอง ลมชัก และพาร์กินสันที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยา หุ่นยนต์ดังกล่าวจะท าให้เกิดความแม่นย าในการผ่าตัดมากขึ้นมีความปลอดภัย ช่วยลดอัตราเสี่ยง แผลจากการผ่าตัดขนาดเล็กลง รวมทั้งลดภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัด

โรงพยาบาลอัจฉริยะ Smart Hospital กับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย

โรงพยาบาลหลายๆ แห่งได้เริ่มเปลี่ยนเป็น
Smart Hospital กันมากขึ้น ส่งผลให้มีความจ าเป็นที่
จะต้องน าเทคโนโลยี ระบบ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ต่างๆ เข้ามาช่วยพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
โรงพยาบาล ซึ่งตัวอย่างระบบและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ที่เกี่ยวข้อง มีดังต่อไปนี้
ตัวอย่าง Domain ที่เกี่ยวข้อง

ระบบคิวอัจฉริยะ

โรงพยาบาลในไทยได้นำเอาระบบคิวอัจฉริยะ
เข้ามาใช้ ไม่ว่าจะเป็นระบบคิวอัจฉริยะที่เชื่อมโยงกับ
แอปพลิเคชันของโรงพยาบาล ซึ่งสามารถแจ้งเตือน
ล าดับคิวได้อย่างเรียลไทม์ หรือบัตรคิวที่มี QR Code
ที่ผู้ใช้บริการสามารถสแกนเพื่อดูล าดับคิวได้ ระบบคิว
อัจฉริยะจึงท าให้ผู้ใช้บริการสามารถทราบถึงเวลาที่ต้อง
รอพบแพทย์และบริหารจัดการเวลาก่อนที่จะถึงเวลา
พบแพทย์ได้

ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (EMR)

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จัดเอกสาร
และบันทึกข้อมูลผู้ป่วยหรือที่เรียกว่า ระบบเวชระเบียน
อิเล็กทรอนิกส์ (EMR) จะท าให้บุคลากรทางการแพทย์
เข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว และในอนาคต
ประชาชนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของตนเอง
ผ่านสมาร์ทโฟนได้

ระบบจัดยาอัตโนมัติ

การนำหุ่นยนต์มาใช้ในระบบการจัดยาของ
โรงพยาบาลจะท าให้การจัดยาให้กับผู้ป่วยเป็นไปอย่าง
รวดเร็วและแม่นย า หลีกเลี่ยงปัญหาการจ่ายยาที่
ผิดพลาดด้วยการตรวจสอบข้อมูลยาและชื่อผู้ป่วยก่อน
จ่ายยา ลดขั้นตอนการทำงานของเภสัชกร รวมถึงยังลด
เวลาการรอรับยาของผู้ป่วยอีกด้วย

แอปพลิเคชันของโรงพยาบาล

แอปพลิเคชันของโรงพยาบาลที่อยู่บนสมาร์ทโฟน
จะช่วยอ านวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ เช่น
ผู้ใช้บริการสามารถนัดคิวหรือเลื่อนนัดแพทย์ได้ด้วย
ตัวเอง ระบบแจ้งเตือนคิวอัตโนมัติ ระบบการช าระเงิน
ผ่านแอปพลิเคชัน ระบบดูข้อมูลสุขภาพย้อนหลัง
ข้อมูลของแพทย์ผู้ให้การรักษา รวมไปถึงข้อมูลยาที่
แพทย์สั่งจ่าย เป็นต้น

โรงพยาบาลอัจฉริยะที่สุดในโลกปี 2021

โรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ย

Smart Hospital โรงพยาบาลอัจฉริยะในนิยามของสาธารณสุข

Smart Hospital หมายถึง โรงพยาบาลภาครัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดบริการภายในโรงพยาบาล ลดขั้นตอนการปฏิบัติ และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการที่มีคุณภาพดี มีความปลอดภัย และทันสมัยอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

1) Smart Place/Infrastructure

          โรงพยาบาลมีการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ผ่านเกณฑ์การดำเนินงาน GREEN&CLEAN Hospital ของกรมอนามัย และจัดตกแต่งสถานที่ให้สวยงาม ดูมีความทันสมัย (Digital Look) ช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการ

2) Smart Tools

          โรงพยาบาลมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ให้มีความถูกต้องแม่นยำ สะดวกรวดเร็ว ลดความเสี่ยงความผิดพลาดต่างๆ ลดระยะเวลา เพิ่มความปลอดภัย และเพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการ อาทิ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์อัตโนมัติ ระบบบริหารจัดการคิว รูปแบบดิจิทัล รูปแบบออนไลน์

3) Smart Services

          โรงพยาบาลมีการบริหารจัดการกระบวนงานที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการพัฒนาองค์กรตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย และ พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 เช่น การยกเลิกการเรียกรับสำเนาบัตรประชาชนและเอกสารอื่นที่ออกโดยราชการจากผู้รับบริการ  การจัดเก็บข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยด้วยรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (EMR : Electronic Medical Records) การใช้ใบสั่งยาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์  การลดระยะเวลารอคอยรับบริการ   การมีบริการนัดหมายแบบเหลื่อมเวลา หรือมีการจัดกลุ่มผู้รับบริการ ได้รับบริการตรงเวลาหรือแตกต่างเล็กน้อยอย่างเหมาะสม เป็นต้น

4) Smart Outcome

          โรงพยาบาลมีการบริหารจัดระบบงานให้มีความเชื่อมโยงกันได้อย่างอัตโนมัติ โดยนำระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) มาใช้ โดยเฉพาะระบบหลักของโรงพยาบาล (Core Business Process) เพื่อให้มีระบบสารสนเทศที่ตอบสนองต่อการบริหารจัดการได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันความเสี่ยงด้านการเงินการบัญชี การจัดซื้อจัดจ้าง ป้องกันปัญหาการขาดแคลนและความไม่สมดุลด้านทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรในระบบบริการ มีการบริหารจัดการ Unit Cost ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และเพื่อเพิ่มคุณภาพระบบบริการ จัดการระยะเวลารอคอยได้อย่างเหมาะสม

5) Smart Hospital

          โรงพยาบาลมีประสิทธิภาพในการจัดการ มี Unit Cost ในเกณฑ์ที่เหมาะสมสามารถเปรียบเทียบ (Benchmarking) กับหน่วยงานอื่นได้  มีการจัดการและป้องกันความเสี่ยง (Proactive Risk Management) ที่ดีในทุกมิติ เพื่อให้การบริการมีคุณภาพดีในทุกมิติ และมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์พลังงาน อย่างยั่งยืน

เกณฑ์การประเมินผล

** BPM: Business Process Management : การบริหารจัดการกระบวนงานที่มีประสิทธิภาพ

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กำหนดเกณฑ์การประเมินหน่วยบริการที่เป็น Smart Hospital มีการดำเนินงาน ดังนี้

  1. Smart Place
    1. ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน โรงพยาบาล Green and Clean & Digital Look
  2. Smart Tools (อย่างน้อย 2 ข้อ ไม่เรียงลำดับ)

2.1 Queue: มีหน้าจอแสดงลำดับคิว ในจุดที่เหมาะสม เพื่อลดความแออัดบริเวณจุดบริการ และหน้าห้องตรวจ

2.2 Queue: 1

2.3 Devices: Vital Sign) 1HIS

  1. Smart Services (อย่างน้อย 4 ข้อ ไม่เรียงลำดับ)

3.1 BPM : ยกเลิกการเรียกรับสำเนาบัตรประชาชนและเอกสารอื่นที่ออกโดยราชการ จากผู้รับบริการ

3.2 BPM : มีการจัดเก็บข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยด้วยรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (EMR : Electronic Medical Records)

3.3 BPM : มีการใช้ใบสั่งยาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (OPD ทุกห้องตรวจ)     

3.4 BPM : มีข้อมูลระยะเวลารอคอยรับบริการ อย่างน้อย 1 จุด บริการ OPD

3.5 BPM : มีบริการนัดหมายแบบเหลื่อมเวลา หรือมีการจัดกลุ่มผู้รับบริการ ได้รับบริการตรงเวลาหรือแตกต่างเล็กน้อยอย่างเหมาะสม

[Total: 4 Average: 4.8]

2 thoughts on “โรงพยาบาลอัจฉริยะ: Smart Hospital คืออะไร

Leave a Reply