ตาปลา (Corns) คือการที่ผิวหนังที่หนาตัวและแข็งด้านเนื่องจากแรงกดหรือเสียดสี โดยมักจะเกิดขึ้นบริเวณเท้าหรือฝ่าเท้า ทำให้เท้าด้านแข็ง หรือเท้าเป็นตุ่มแข็ง ๆ เหมือนตาปลา
สาเหตุของการเกิดตาปลา
ตาปลาเกิดจากอะไร บางครั้งตาปลาอาจจะเกิดจากสาเหตุที่เราเลือกสวมใส่รองเท้าที่คับเกินไป หรือหลวมเกินไป ไม่เหมาะกับรูปเท้า กรณีที่เป็นตาปลาที่นิ้วมืออาจจะเกิดจากการ ที่เราหิ้วของหนัก ๆ หรือถูกกดทับหรือเสียดสีมากเกินไปก็อาจจะเกิดตาปลาได้
อาการ ตาปลา
ตาปลาสามารถเกิดขึ้นได้หลายที่ โดยส่วนใหญ่แล้วหลายคนมักเป็นตาปลาฝ่าเท้า หรือเท้า การเป็นตาปลาที่นิ้วเท้า สามารถเกิดขึนได้กับทุกคน แต่สามารถเกิดขึ้นบริเวณอื่น ได้เช่นกัน:
- บริเวณนิ้วเท้าหัวแม่โป้ง
- ด้านข้างของฝ่าเท้า
- ด้านล่างของเท้า
- นิ้วมือ
การรักษา ตาปลา
วิธีกำจัดตาปลาทำได้อย่างไร ตาปลาสามารถรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ หากยังไม่ได้เป็นขั้นรุนแรง ผู้ป่วยสามารถรักษาตาปลาได้เองที่บ้าน และไม่สวมใส่รองเท้าที่คับเกินไป และสามารถทำตามคำแนะนำได้ดังนี้
- แช่เท้าในน้ำอุ่นที่ผสมน้ำเกลือ
- หลังจากนั้นเช็ดเท้าให้แห้งด้วยผ้าสะอาดสามารถทาครีมหรือโลชั่นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก้เท้า
- ทำซ้ำกันจนกว่าตาปลาจะมีความอ่อนนุ่ม
- เมื่อตาปลาอ่อนลงและไม่เจ็บแล้วสามารถใช้หินหรืออุปกรณ์ขัดผิว ขัดผิวหนังตาปลาที่แข็งออกไป
- ทำซ้ำ ๆ กันจนกว่าตาปลาจะหายไป
การทาน้ำมันละหุ่งและแผ่นแปะตาปลาบริเวณที่เป็นตาปลา
อีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาตาปลาคือการใช้น้ำมันละหุ่ง นำมาเป็นยาทาตาปลา สามารถทำตามขั้นตอนได้ดังนี้
- หลังจากแช่น้ำอุ่นแล้ว เช็ดเท้าให้แห้งใช้น้ำมันละหุ่ง นวดบริเวณตาปลา
- หลังจากนวดน้ำมันละหุ่งแล้วให้ใช้แผ่นแปะตาปลาที่มีกรดไซลิกแปะลงบริเวณตาปลา
- สวมถุงเท้าทับบริเวณนั้น และทำซ้ำ ๆ กันทุกวันเรื่อย ๆ จนกว่าจะดีขึ้น
เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์
หากเป็นตาปลารักษาที่บ้านเองแล้วไม่หาย หรือตาปลามีมากเกินไปและก่อให้เกิดความเจ็บปวดมาก อาจจะต้องมีเข้าไปปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามวิธีการรักษาอื่น ๆ ซึ่งอาจจะหมายถึงการผ่าตาปลา และแพทย์สามารถสั่งจ่ายยาตาปลาชนิดทาเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ด้วย
หากปล่อยตาปลาไว้นานเกินไปจนถึงขั้นต้องผ่าตาปลาที่เท้า ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องงดการเคลื่อนไหวหรือเดินจนกว่าแผลจะหายดี
เราจะป้องกันไม่ให้เกิดตาปลาได้อย่างไร
วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้เป็นตาปลาที่เท้า หรือบริเวณอื่น ๆ ผู่ป่วยจะต้องสวมใส่รองเท้าที่สวมใส่สบายและพอดีกับเท้าของ นิ้วเท้าควรเคลื่อนไหวได้อย่างง่ายดาย หมั่นกำจัดเซลล์ผิวที่แข็งกระด้าง แช่เท้ากับน้ำอุ่นเสมอ ๆ เพื่อป้องกันเท้าเป็นตาปลา