ผิวหนังอักเสบ (Dermatitis)

ผิวหนังอักเสบ (Dermatitis) โดยทั่วไปมีลักษณะผิวแห้งและบวมแดงหรืออาจจะมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย โดยขึ้นอยู่กับประเภทของโรคผิวหนังที่คุณเป็น ซึ่งมีสาเหตุแตกต่างกันไป 

เมื่อเกิดโรคผิวหนังอักเสบขึ้นก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวและระคายเคืองมาก ซึ่งบางครั้งอาจมีอาการอักเสบอย่างรุนแรงมากหรือ โดยปกติอาการผิวหนังอักเสบธรรมดาจะไม่มีอาการรุนแรง แต่โรคผิวหนังบางประเภททำให้เกิดอาการอักเสบเรื้อรังได้ นอกจากนี้ผิวหนังอักเสบบางชนิดสามารถปรากฎขึ้นเมื่อสัมผัสกับสิ่งแปลกปลอมบางอย่างที่กระตุ้นทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือบวมแดง

โรคผิวหนังบางประเภทพบได้บ่อยในเด็กหรือทารก เช่นผื่นแพ้ผ้าอ้อม หมายถึงอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กทารกมีผื่นแดงแสบร้อนบริเวณที่สัมผัสกับผ้าอ้อม ส่วนโรคผิวหนังอักเสบชนิดอื่น ๆ สามารถพบได้ทั่วไปในผู้ใหญ่ โดยสามารถบรรเทาอาการที่เกิดผิวหนังอักเสบด้วยยาหรือครีมทาแก้แพ้ผื่นคัน หากอาการโรคผิวหนังของคุณมีความรุนแรงขึ้นหรือติดเชื้อและมีอาการเจ็บปวดมาก รวมถึงเกิดการแพร่กระจายของเชื้อไปยังบริเวณอื่นของร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญทันที

สาเหตุ ผิวหนังอักเสบ

ผิวหนังอักเสบแต่ละชนิดอาจมีสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) เป็นภาวะผิวหนังอักเสบที่คาดว่ามีปัจจัยการเกิดหลายชนิดร่วมกัน เช่น ผิวแห้ง พันธุกรรม ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน แบคทีเรียบนผิวหนัง และสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย

ผื่นระคายสัมผัส (Contact Dermatitis) มีสาเหตุมาจากการที่ผิวหนังสัมผัสกับสารก่อความระคายเคืองหรือสารก่อภูมิแพ้ชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น โลหะบางชนิด ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด น้ำหอม ยาย้อมผม เครื่องสำอาง หรือครีมบำรุงผิวต่าง ๆ

โรคเซบเดิร์ม เป็นภาวะผิวหนังอักเสบที่อาจเกิดจากการติดเชื้อราซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำมันตามผิวหนัง โดยเฉพาะบนหนังศีรษะและใบหน้า ผู้ป่วยอาจเป็นเฉพาะบางช่วงฤดูเท่านั้น และอาจกลับไปเป็นอีกได้เมื่อฤดูนั้นมาถึง

โรคต่อมไขมันอักเสบ (Seborrheic dermatitis) ผิวหนังอักเสบคันที่เกิดจากต่อมไขมัน เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราในต่อมน้ำมันบริเวณศีรษะและลำตัว โดยเฉพาะบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากฮอร์โมน เชื้อราหรือการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมและในบางคนอาจจะเกิดจากพันธุกรรม

โรคผื่นผิวหนังอักเสบที่ข้อเท้า (Stasis dermatitis) ผื่นผิวหนังอักเสบที่ข้อเท้า จะมีอาการคัน แดง บวม แห้งแตก และมีสะเก็ดหยาบกร้าน โดยอาการของโรคมีทั้งช่วงที่ดีขึ้นและรุนแรงลงกว่าเดิม ซึ่งอาจทำให้ขาบวมได้ โดยเฉพาะในช่วงตอนเย็นหรือหลังจากยืนเป็นเวลานาน และยังมีเส้นเลือดดำขอดบนขาเกิดขึ้นให้เห็นได้อย่างชัดเจน

อาการ ผิวหนังอักเสบ 

อาการของโรคผิวหนังอักเสบระยะเริ่มต้นเป็นอาการที่ไม่รุนแรง โดยจะมีอาการปรากฎขึ้นตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงมีอาการที่รุนแรงมาก และอาการที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าผิวส่วนใดของร่างกายเกิดการอักเสบขึ้น ดังนั้นผู้เป็นโรคผิวหนังอักเสบจึงมีอาการที่แตกต่างหลากหลาย บางคนอาจจะมีเพียงอาการผิวแห้งคันหรือเป็นผื่นขึ้น โดยอาจมีอาการคันตามผิวหนังแบบไม่มีผื่นซึ่งเป็นอาการที่ไม่รุนแรง แต่สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจจะมีแผลพุพองเกิดขึ้นร่วมกับอาการคันเป็นต้น

โดยทั่วไปอาการของโรคผิวหนัง มีดังนี้ :

  • เกิดผื่นแพ้
  • แผลพุพอง (Impetigo)
  • ผิวแห้งและแตก
  • ผิวแห้งเป็นขุยและคัน
  • ผิวบวม จากการโดนแมลงกัดต่อยหรือผิวไหม้ 
  • ผิวแดง (redness)
  • ผิวหนังบวมขึ้น (swelling)
  • ผิวหนังอักเสบเป็นหนอง
  • มีผื่นเชื้อราเกิดบริเวณผิว
  • เกิดการติดเชื้อและมีแผลที่ทำให้รู้สึกคัน

การรักษา ผิวหนังอักเสบ

แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและซักถามประวัติทางการแพทย์ก่อนทำการวินิจฉัย ในบางกรณีแพทย์ผิวหนังสามารถวินิจฉัยประเภทของโรคผิวหนังเพียงแค่ตรวจดูภายนอกเท่านั้น หากมีข้อสงสัยว่าโรคผิวหนังที่คุณเป็นอาจจะเกิดจากการอาการแพ้บางชนิด แพทย์อาจจะมีการตรวจสารที่แพ้นั้น ๆ เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงและทำการรักษาต่อไป โดยสามารถใช้วิธีการตรวจหลายอย่างอาจจเช่น การตรวจชิ้นส่วนผิวหนังผ่านกล้องหรือเจาะเลือดและตรวจผลจากเลือด เป็นต้น หลังจากนั้นแพทย์จะทำการวิเคราะห์ผลและทำการรักษาโรคอย่างตรงจุด

ยารักษาผิวหนังอักเสบเรื้อรัง

ยาที่ใช้รักษาอาการที่เกิดขึ้นจากผิวหนังอักเสบได้แก่

ยาแก้แพ้ หรือ antihistamine เป็นยาที่ใช้ระงับอาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายหลั่งสาร histamine โดยยาชนิดนี้มีสรรพคุณยับยั้งอาการแพ้และช่วยบรรเทาอาการคัน รวมถึงลดผดผื่นที่เกิดจากผิวหนังอักเสบได้เป็นอย่างดี

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นยาทาผิวหนังอักเสบที่มีทั้งชนิดครีมและขี้ผึ้งหรือชนิดรับประทาน เพื่อบรรเทาอาการบวมและคันโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นยาที่ได้รับจากแพทย์เท่านั้น ในกรณีที่วิธีการรักษาอื่น ๆ ใช้ไม่ได้ผล

ยาแก้แพ้ เช่น ยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) เป็นยาที่ช่วยบรรเทาอาการแพ้และอาการคันรุนแรง สามารถหาซื้อได้เองตามร้านขายยาทั่วไป แต่ควรเลือกใช้อย่างระมัดระวัง เพราะยาแก้แพ้บางชนิดอาจทำให้มีอาการง่วงซึมได้

ยากดภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีทั้งยารับประทาน และครีมสำหรับทา โดยเป็นยาช่วยรับมือกับการอักเสบของผิวหนังและลดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอาการคันและแดงบนผิวหนัง ใช้เมื่อการรักษาชนิดอื่นไม่ได้ผล แต่ควรใช้เพียงช่วงสั้น ๆ เท่านั้น และไม่ควรใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี

วิธีรักษาผิวหนังอักเสบด้วยตัวเอง

 ควรบำรุงรักษาและดูแลผิวไม่ให้แห้งจนเกินไปด้วยการทาโลชั่นเป็นประจำหลังอาบน้ำหรือหลีกเลี่ยงการขัดถูผิวที่รุนแรงเพื่อป้องกันการถลอกเป็นขุยหรือมีการอักเสบเกิดขึ้น

ควรเลือกใช้สบู่หรือครีมอาบน้ำที่อ่อนโยนต่อผิว ได้แก่สบู่เด็กหรือสบู่ที่ไม่มีกลิ่น เนื่องจากสบู่ที่มีสารเคมีอาจส่งผลให้ผิวแห้งมากยิ่งขึ้น

ควรใช้ยาทารักษาโรคผิวหนังเรื้องรังที่สามารถหายซื้อจากร้ายขายยาได้เองหรือแพทย์สั่งให้ ได้แก่ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่เป็นยาสำหรับทาผื่นผิวหนังอักเสบ เป็นต้น 

ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อาจทำให้ผิวหนังทีผื่นคันขึ้นได้เช่นฝุ่นควันหรือการสัมผัสกับน้ำที่สกปรก

[Total: 0 Average: 0]