การตัดชิ้นเนื้อจากไตหรือการเจาะไตส่งตรวจ (Percutaneous renal biopst)

การตัดชิ้นเนื้อจากไตหรือการเจาะไตส่งตรวจ  (Percutaneous  renal  biopst)
                การตัดชิ้นเนื้อจากไตหรือการเจาะไตส่งตรวจ  เป็นการตรวจหาพยาธิสภาพของเนื้อไต  เพื่อการวินิจฉัยโรค หรือการวางแผนในการรักษาโรคไต  หรือติดตามการดำเนินของโรค  เทคนิคในการตรวจอาจทำโดยการผ่าตัด  ซึ่งจะได้เนื้อไตไปตรวจแน่นอน  อีกวิธีหนึ่ง เป็นการทำขณะตรวจกระเพาะปัสสาวะ แล้วใส่ท่อเลยเข้าไปในท่อไต  และในไต โดยใช้เข็มชนิดพิเศษเจาะเข้าไปในผิวหนังบั้นเอวเข้าถึงไต เพื่อตัดเอาชิ้นเนื้อออกมา (percutaneous  renal  biopsy) ปัจจุบันการตรวจวิธีนี้เป็นที่เชื่อถือมาก เพราะมีการใช้วิทยาการใหม่ ๆ มาช่วยหาตำแหน่งที่จะตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ ได้แก่ การตรวจโดยใช้คลื่นเสียงที่มีความถี่สูงมาก (ultrasound) หรือการเอกซเรย์โดยใช้สารทึบรังสี (fluoroscopy) ทำให้ผลการตรวจเพิ่มความแม่นยำยิ่งขึ้น การตรวจนี้มีข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยที่มีไตข้างเดียว ผู้ที่มีเลือดออกง่ายหรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด  ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อที่ไต ผู้ป่วยที่มีไตบวมน้ำ ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมากผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์  และผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือ ดังนั้นก่อนตรวจ จึงต้องถ่ายเอกซเรย์ไต  ตรวจเม็ดเลือดแดง ตรวจการแข็งตัวของเลือด นำปัสสาวะมาเพาะหาเชื้อโรค ตรวจสารเคมีในปัสสาวะ (BUN) และอาจต้องมีการจองเลือดเตรียมไว้เพื่อช่วยเหลือกรณีมีการตกเลือด ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนขั้นรุนแรงที่ต้องระวัง

วัตถุประสงค์
1.เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคเนื้อเยื่อของไต (renal  parenchymal)
2.เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโรคไตและประเมินผลการรักษา

การเตรียมผู้ป่วย
1.บอกผู้ป่วยว่า การตรวจนี้ใช้วินิจฉัยความผิดปกติของไต  และบอกเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในขณะตรวจ  เช่น ให้ฝึกสูดหายใจเข้า – ออกยาว ๆ     สูดเข้าเต็มที่และกลั้นไว้
2.บอกวิธีการตรวจให้ผู้ป่วยทราบและตอบคำถามของผู้ป่วย
3.บอกผู้ป่วยให้งดน้ำงดอาหาร 8 ชั่วโมงก่อนตรวจ
4.บอกผู้ป่วยว่าใครเป็นคนตัดชิ้นเนื้อและทำที่ไหน
5.ต้องเก็บตัวอย่างเลือดและปัสสาวะส่งตรวจก่อนตัดชิ้นเนื้อไตไปตรวจ และผลการตรวจอื่น เพื่อระบุตำแหน่งที่จะตัดชิ้นเนื้อ เช่น การตรวจระบบทางเดินปัสสาวะโดยการแดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ (excretory  urography) การตรวจอัลตราซาวนด์ (ulrasonography) และฟีล์มของหน้าท้อง เป็นต้น
6.ให้ผู้ป่วยหรือญาติเซ็นใบยินยอมการตรวจรักษา
7.ตรวจสอบประวัติผู้ป่วยสำหรับแนวโน้มการเสียเลือด และการแพ้ยาชา
8.ให้ยานอนหลับ 30 – 60 นาทีก่อนตัดชิ้นเนื้อตรวจ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายตามแผนการรักษา
9.บอกผู้ป่วยว่าจะได้รับยาชาเฉพาะที่แต่อาจจะรู้สึกเจ็บเวลาแทงเข็มผ่านหลังเข้าไปที่ไต
10. บันทึกสัญญาณชีพและบอกผู้ป่วยให้ปัสสาวะก่อนตรวจ

การตรวจและการดูแลหลังตรวจ
1.จัดให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ (prine  position) ใช้หมอนทรายหนุนใต้ท้อง ให้ผู้ป่วยตะแคงหน้าไปข้างใดข้างหนึ่งและหนุนแขนไว้
2.บอกผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ๆ ขณะคลำไต
3.หลังจากแพทย์เตรียมความสะอาดผิวหนังบริเวณมุมขวาของซี่โครงซี่สุดท้ายกับกระดูกสันหลังด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน 2.5% และแอลกอฮอล์     70% แล้วจึงใช้เข็มเบอร์  7”  20G  ฉีดยาชาที่ผิวหนังในตำแหน่งที่จะตัดชิ้นเนื้อ  บอกผู้ป่วยให้กลั้นหายใจไว้และกลั้นไว้นิ่ง ๆ ขณะแทงเข็มผ่านกล้ามเนื้อหลัง deep  lumbar  fascia  รอบ ๆ ไขมันที่ไตและเปลือกไต (kidney  capsule) แทงเข็มแล้วบอกผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ๆ หลาย ๆ ครั้ง หากเข็มแกว่งเบา ๆ  ระหว่างการหายใจเข้าลึก ๆ จะทำให้ทะลุเข้าไปที่เปลือกไตเมื่อแทงเข็มเข้าไปลึกพอแล้ว  บอกให้ผู้ป่วยกลั้นหายใจ  และกลั้นไว้จนกว่าจะเอาเข็มออกสรุปได้ว่า  แทงเข็มพร้อมแกนเข้าไปในไต ขณะที่ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าและกลั้นนิ่งไว้  และหายใจได้เมื่อเข็มอยู่ในไตแล้ว  และทุกครั้งที่ตัดเนื้อไต ผู้ป่วยจะต้องหายใจเข้ากลั้นนิ่งไว้เสมอ
4.หลังจากแทงเข็งเข้าไปเล็กน้อย  ให้ฉีดยาชาเข้าไปที่ผิวหนัง ให้ผู้ป่วยกลั้นหายใจค้างไว้ขณะที่สอดใส่เข็ม  Vim – Silverman  needle    พร้อม  stylet   เพื่อวัดความลึก
5.บอกผู้ป่วยให้หายใจลึก ๆ แล้วบอกผู้ป่วยให้กลั้นไว้ขณะตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ
6.ส่งชิ้นเนื้อไปตรวจทันทีในเลนส์ที่วางไว้บนมือ เพื่อแน่ใจว่าเป็นชิ้นเนื้อจาก Cortex  และ  medulla  แล้ววางไว้ในก๊อสที่จุ่มน้ำเกลือ และวางไว้ในภาชนะที่มีสลากเขียนไว้
7.หากชิ้นเนื้อที่ได้มาไม่พอ ต้องตัดชิ้นเนื้อใหม่ทันที่
8.หลังจากได้ชิ้นเนื้อพอแล้ว ให้กดบริเวณที่ตัดชิ้นเนื้อไว้เป็นเวลา 3-5 นาที เพื่อให้เลือดหยุด แล้วปิดแผล
9.บอกผู้ป่วยให้นอนราบทับหลังไว้โดยไม่เคลื่อนไหวอย่างน้อย 12 ชั่วโมง  เพื่อป้องกันเลือดออก  ตรวจสอบสัญญาณชีพทุก 15 นาที เป็นเวลา
4 ชั่วโมง  ทุก 30 นาที เป็นเวลา 4 ชั่วโมง แล้วทุกชั่วโมง เป็นเวลา 4 ชั่วโมงและในที่สุดทุก 4 ชั่วโมง บันทึกค่าที่เปลี่ยนแปลง
10.ตรวจปัสสาวะว่ามีเลือดปนหรือไม่ อาจจะมีจำนวนเล็กน้อยหลังจากตัดชิ้นเนื้อแต่ไม่น่าพบภายใน 8 ชั่วโมง ตรวจเลือดหาค่าฮีมาโตคริทเพื่อดูว่ามีเลือดออกภายในหรือไม่
11.กระตุ้นให้ดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณวันละ 3,000 มิลลิลิตร เพื่อลดการปวดแบบโคลิก (อาการจุดเสียดหรือเสียดท้อง) และการอุดตันจากเลือดที่แข็งตัวภายในกรวยไต (Renal  pelvis)
12.ห้ามผู้ป่วยออกกำลังกายอย่างหนักหลังการตรวจประมาณ  2 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการมีเลือดออกจากแผล

ข้อควรระวัง
1.การตัดชิ้นเนื้อไตออกมา percutaneous  renal  biopsy)ให้ระวังผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดอย่างรุนแรงมีพลาสม่าหรือเลือดลดลงอย่างชัดเจน  มีความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรง กรวยไตมีปัสสาวะขัง (hydronephrosis) มีฝีรอบ ๆ ไต ไตวายร่วมกับภาวะโลหิตเป็นพิษ หรือมีไตข้างเดียว
2.บอกผู้ป่วยให้กลั้นหายใจเมื่อแทงเข็มเข้าไปในไต
3.ส่งชิ้นเนื้อไปยังห้องตรวจทันที

ผลการตรวจที่เป็นปกติ
             ชิ้นเนื้อไตที่เป็นปกติจะเห็นโบว์แมนแคปซูล (Bowman’s  renal  biopsy) ซึ่งเป็นถุงที่มีลักษณะเป็นกระเปาะมีผนัง 2 ชั้นภายในมีกลุ่มหลอดเลือดฝอยที่รวมกันเป็นกระจุก  ทำหน้าที่กรองของเสียที่เป็นของเหลว  มีหลอดเลือดไตส่วนต้น (proximal  tubule) ซึ่งเป็นส่วนของหลอดไต ที่ต่อจากโบว์แมนแคปซูลออกมามีลักษณะขดไปขดมาทับซ้อนกัน  เซลล์ในส่วนนี้มีไมโครวิลไล (microvilli) จำนวนมาก  พบห่วงเฮนเล (loop of  Henle) หลอดไตส่วนท้าย (distal  tubule) หลอดไตร่วม (collecting  tubule)

ผลการตรวจที่ผิดปกติ
             การตรวจดูเซลล์จากเนื้อเยื่อไต พบมะเร็งไตหรือโรคไตเซลล์เนื้องอกชนิดร้ายแรง (malignant  tumors) ประกอบด้วย Wilm’s  tumor     ซึ่งพบในเด็กตอนต้น (eariychildhood) และมะเร็งไต ซึ่งพบได้บ่อย ๆ ในบุคคลที่มีอายุมากว่า 40 ปี โรคที่บ่งชี้ด้วยลักษณะเซลล์ที่เปลี่ยนไป ได้แก่ โรคลูปัส (disseminated  lupus  erythematosus) หน่วยไตอักเสบ (glomerulonepritis) ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำที่ไต (renal  veinthrombosis) และกรวยไตอักเสบ (pyelonephritis)

[Total: 2 Average: 3.5]