การถ่ายภาพรังสีบริเวณช่องท้อง ครอบคลุมบริเวณไต ท่อไตและกระเพาะปัสสาวะ

เป็นการตรวจวินิจฉัยในขั้นตอนแรกของระบบปัสสาวะ ไต – ท่อไต – กระเพาะ ปัสสาวะ (KUB) โดยการถ่ายภาพรังสีบริเวณหน้าท้องเพื่อดูตำแหน่งไต ท่อไต และ  กระเพาะปัสสาวะ รวมทั้งดูรูปร่างที่ผิดปกติด้วย

วัตถุประสงค์

1.เพื่อประเมินขนาด โครงสร้าง และตำแหน่งของไต
2.เพื่อตรวจสอบหาความผิดปกติ  เช่น  นิ่วในไต  ท่อไต กระเพาะปัสสาวะเป็นต้น

การเตรียมผู้ป่วย
1.บอกผู้ป่วยว่าการตรวจนี้ช่วยประเมินระบบทางเดินปัสสาวะที่ผิดปกติ
2.บอกผู้ป่วยว่าไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร จะใช้เวลาในการตรวจเพียง  2 ถึง 3 นาที

การตรวจและการดูแลภายหลังตรวจ
1.จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายอยู่ในแนวตัวตรงบนเตียงเอกซเรย์ยกแขนไว้เหนือศีรษะ และจัดให้ขอบของกระดูกเชิงกราน (iliac crests) สมมาตรกัน
ทั้ง 2 ข้าง
2.ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายและยกแขนขวาขึ้น
3.ถ่ายภาพเอกซเรย์เพียงครั้งเดียว

ข้อควรระวัง

ผู้ป่วยชายควรจะใส่แผ่นตะกั่วปิดอวัยวะสืบพันธุ์ (gonadal  shielding) เพื่อป้องกันอันตรายจากรังสี และการระคายเคืองต่ออัณฑะ (testis)

ผลการตรวจที่เป็นปกติ
พบเงาของไตทั้ง  2 ข้าง  ด้านขวาอยู่ต่ำกว่าด้านซ้ายเล็กน้อย ไตทั้งสองข้างมีขนาดเท่า ๆ กัน ท่อไตจะเห็นได้เมื่อมีความผิดปกติ เช่น นิ่ว การที่จะมองเห็น กระเพาะปัสสาวะได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผนังกล้ามเนื้อและปริมาณ  ของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ โดยทั่วไปเงาของกระเพาะปัสสาวะสามารถเห็นได้ แต่เห็นไม่ชัดเท่าเงาของไต

ผลการตรวจที่ผิดปกติ
ไตทั้งสองข้างใหญ่ อาจเกิดจากโรคถุงน้ำดีในไต (Polycystic  disease)โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัลติเพิลมัยอิโลมา (Multiple myeloma) มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) โรคอะไมลอยด์โดซิส (Amyloidosis) โรคเบาหวาน (Diabetes) ไตบวมน้ำ (Hydronephrosis)
ไตโตข้างเดียว อาจเกิดจากเนื้องอก ถุงน้ำหรือไตบวมน้ำ
ไตเล็กผิดปกติ  อาจเกิดจากโรคหลอดเลือดฝอย ที่ไตอักเสบระยะสุดท้าย (End – stage Glomerulonephritis) หรือกรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis)
ไตขนาดเล็กลงข้างเดียว  อาจเกิดจากกรวยไตอักเสบ ที่เกิดจากการฝ่อ (Atrophic pyelonephritis) หรือขาดเลือดไปเลี้ยง
การเปลี่ยนไต อาจเนื่องจากมีก้อนเนื้องอกจากเยื่อบุช่องท้องด้านหลัง (Retroperitoneal tumor) เช่น มีก้อนที่ต่อมหมวกไต (Adrenal tumor)
มีการโป่งพองของกล้ามเนื้อหน้าท้องอาจเป็นผลมาจากเนื้องอก ฝี  หรือการฟกช้ำ
ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เช่น ไตตั้งอยู่ผิดที่  หรือไม่มีไต  ซึ่งอาจพบได้
อาจพบนิ่ว  หรือมีแคลเซียมเกาะหลอดเลือด เนื่องจากการโป่งพองของหลอดเลือด (aneurysm) หรือเนื่องจากมีถุงไขมัน (atheroma) การสะสมหินปูนในเนื้อเยื่อ (calcification) อาจพบในระบบปัสสาวะได้

[Total: 1 Average: 5]