การรักษา กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ชนิดหลายถุง

                หากสงสัยควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์จะทำการตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนเพศชายและหญิง และฮอร์โมนอื่น ๆ เพื่อแยกแยะจากสาเหตุอื่น รวมทั้งตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (โดยการทดสอบความทนต่อกลูโคสหรือ 75 g OGTT) และไขมันในเลือด ตรวจอัลตราซาวนด์ ตรวจชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก

                แพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้จากการตรวจพบอย่างน้อย 2 ข้อ ของลักษณะ 3 ข้อต่อไปนี้

  • ประจำเดือนผิดปกติ เช่น ประจำเดือนไม่มามาห่าง หรือมีเลือดออกกะปริดกะปรอย (ดียูบี)
  • มีอาการของฮอร์โมนเพศชายสูง (หน้ามัน เป็นสิว ขนดก หนวดขึ้น) และ/หรือตรวจพบฮอร์โมนเพศชายชนิดใดชนิดหนึ่งสูง
  • ตรวจอัลตราซาวนด์พบรังไข่เป็นถุงน้ำหลายถุง            

                การรักษา แพทย์จะให้การดูแลรักษาตามแนวทาง ดังนี้

               1.ในรายที่มีประจำเดือนผิดปกติ ให้ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (เช่น norethisterone หรือ medroxy progesterone) กิน 5-10 มก./วัน เป็นเวลา 10 วัน/เดือนทุกเดือน หรือยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดผสม (มีชื่อทางการค้า เช่น Diane-35,Yasmin)

               2.ในรายที่เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวให้ norethi sterone หรือ medroxyprogesterone 10 มก./วัน นาน 14 วัน/เดือน เป็นเวลา 6 เดือน
    
               3.ในรายที่มีภาวะมีบุตรยาก และต้องการมีบุตรให้ยากระตุ้นรังไข่ ได้แก่ โคลมิฟีนซิเทรต (clomiphene citrate) 50-100 มก./วัน นาน 5 วัน ถ้าไม่ได้ผลให้เมตฟอร์มิน (metformin) 1,500-1,700 มก./วัน (ให้เดี่ยว ๆ หรือให้ร่วมกับโคลมิฟีนซิเทรต) 

บางรายแพทย์อาจใช้ยาฉีด follicle-stimula toing hormone (FHS) หรือทำการจี้รังไข่ด้วยไฟฟ้าโดย วิธีส่องกล้องเข้าช่องท้อง  (laparoscopi ovarian drilling) ทำให้เกิดความร้อนทำลายเนื้อเยื่อรังไข่บางส่วน เพื่อลดปริมาณฮอร์โมนเพศชายช่วยให้มีการตกไข่ วิธีนี้ถ้าใช้ร่วมกับการให้ยาโคลมิฟีวิเทรต จะช่วยให้ได้ผลมากขึ้น

               4.ให้การรักษาภาวะอื่นๆ ที่พบร่วม เช่นเบาหวาน น้ำหนักเกิน กลุ่มอาการเมตาบอลิก

[Total: 0 Average: 0]