สาเหตุ โรคคุชชิง

                  ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใช้สารสตีรอยด์ (กลูโคคอร์ติคอยด์) สังเคราะห์ติดต่อกันนาน ๆ ในบ้านเราพบว่าเกิดจากการใช้สารที่มีสตีรอยด์ปะปนในรูปของยาชุดยาหม้อและยาลูกกลอนที่ผู้ป่วยนิยมซื้อใช้เองโดยความรู้ เท่าไม่ถึงการณ์ นอกจากนี้อาจพบในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้สตีรอยด์ในการบำบัดรักษาโดยแพทย์ เช่น เอสแอลอี โรคปอดข้อรูมาตอยด์ โรคไตเนโฟรติก ผู้ป่วยหลังผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นต้น

                  ส่วนน้อยเกิดจากต่อมหมวกไต สร้างฮอร์โมน กลูโคคอติคอยด์ (ส่วนใหญ่ได้แก่ คอร์ติซอล) มากเกิน ดังที่เรียกว่าภาวะคอร์ติซอลเกิน (hypercortisolism) ซึ่งอาจมีสาเหตุจากเนื้องอกของอวัยวะที่สร้างฮอร์โมน ชนิดนี้ เช่น 

  • เนื้องอกต่อหมวกไต (adrenal adenoma)และมะเร็งต่อมหมวกไต (adrenal carcinoma) ซึ่งสร้างฮอร์โมนคอร์ติชอลมากเกิน
  • เนื้องอกต่อมใต้สมอง (pituitary adenoma) ซึ่งสร้างฮอร์โมนเอซีทีเอช (ACTH)กระตุ้นให้ต่อมหมวกไตสร้างคอร์ติซอลมาก เกินเนื้องอกอื่นๆ ที่พบบ่อย คือมะเร็งปอดชนิด และเนื้องอกคาร์ซินอยด์ ถุงน้ำดี ต่อมไทมัส รังไข่ อัณฑ์ เป็นต้น)                                          
  • เนื้องอกเหล่านี้สามารถสร้างฮอร์โมนเอซีทีเอช กระตุ้นให้ต่อมหมวกไตสร้างคอร์ติซอลมากเกิน สำหรับเนื้องอกต่อมหมวกไตและต่อมใต้สมองพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 5 เท่า และพบมากในช่วงอายุ 25-40 ปี ส่วนมะเร็งปอดพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในช่วงวัยกลางคนขึ้นไป

                    การที่ร่างกายมีสารสตีรอยด์ (ไม่ว่าในรูปของคอร์ติซอลที่ร่างกายสร้างเอง  หรือสารสังเคราะห์ที่รับจากภาย นอก) อยู่นาน ๆ ส่งผลให้มีการสะสมไขมันตามร่างกาย (ทำให้อ้วนและมีก้อนไขมันพอก) การสลายตัวของโปรตีน ของกล้ามเนื้อ (ทำให้กล้ามเนื้อแขนขาลีบ อ่อนแรง) การสลายตัวของแคลเซียมในกระดูก (ทำให้กระดูกพรุนนิ่วไต) การสร้างกลูโคสที่ตับจากโปรตีนและไขมัน (gluconeogenesis) แล้วปล่อยออกมาในกระแสเลือด (ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เบาหวาน) การยับยั้งการสร้างเนื้อเยื่อพังผืดและคอลลาเจน (ทำให้ผิวบาง หนังลาย ฟกซ้ำง่าย แผลหายยาก) การคั่งของโซเดียมในร่างกาย (ทำให้บวม ความดันโลหิตสูง) เพิ่มการสร้างฮอร์โมนเพศชายหรือแอนโดรเจน (ทำให้สิวขึ้น ขนอ่อนขึ้น ประจำ เดือนผิดปกติ) ส่งผลต่อจิตใจและอารมณ์ (ทำให้มีอารมณ์ เคลิ้ม วิตกกังวล หรือซึมเศร้า อยากอาหาร) กดภูมิคุ้ม กัน (ทำให้ติดเชื้อง่าย) กดเส้นกระดูกและฮอร์โมน กระตุ้นการเจริญเติบโต (ทำให้เด็กเจริญเติบโตช้า)

[Total: 0 Average: 0]