มักจะพบในเด็กวัยแรกเกิดถึงอายุ 5 ปี เกิดจาก การกินอาหารที่มีวิตามินเอน้อยไป เช่น กินแต่นมข้นหวาน กล้วยบดและข้าว โดยไม่ได้อาหารเสริมอื่น ๆ โรคนี้มักจะพบร่วมกันไปกับโรคขาดสานอาหารท บางรายอาจเป็นหลังจากเป็นโรคติดเชื้อ (เช่น หัด ปอดอักเสบ) หรือท้องเดินเรื้อรัง
ในผู้ใหญ่พบได้น้อย ถ้าพบมักมีสาเหตุจากโรค อื่น ๆ เช่น โรคตับเรื้อรัง โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง เป็นต้น มีผลทำให้การดูดซึมวิตามินเอน้อยลงทางด้านหางตา เรียกว่า จุดบิทอตส์ (Bitot's spot) หรือ เกล็ดกระดี่ อาจเป็นที่ตาทั้ง 2 ข้าง ถ้ารักษาในระยะนี้จะแก้ได้ ทันแต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้กระจกตาจะเกิดการอ่อนตัว เป็นแผล และเกิดรูทะลุ มีเชื้อโรคเข้าไปในลูกตา ทำให้ เกิดการอักเสบภายในลูกตา ตาบอดได้ ถ้าเป็นในระยะนี้โอกาสหายก็มีน้อย
ในเด็กเล็กมักตรวจพบเมื่อมีการอ่อนตัวของกระจกตาดำแล้วจะพบหนังตาบวม ปิดตาแน่น ไม่ยอมลืมตา