โลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก

โลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก คือ โรคนี้พบเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของภาวะโลหิตจางใน บ้านเรา พบได้ในคนทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กวัยรุ่น หญิงในวัยมีประจำเดือน หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุและพบมากในชาวชนบทและคนยากจน

ธาตุเหล็ก  เป็นองค์ประกอบสำคัญอันหนึ่งของ  การสร้างเม็ดเลือดแดง ถ้าร่างกายขาดธาตุเหล็กก็จะสร้าง เม็ดเลือดแดงได้น้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ ทำให้เกิด  ภาวะเลือดจาง เรียกว่า โลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก

สาเหตุ โลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก

               1.เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอกับความต้องการของร่ายกาย เช่น กินเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ (ตับไต) นม ไข่น้อยเกินไป (อาหารเหล่านี้มีธาตุเหล็กมาก ซึ่งลำไส้สามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าธาตุเหล็กที่อยู่ในพืชผัก) จึงทำให้ร่างการขาดธาตุเหล็ก

                ผู้เบื่ออาหารจากการเจ็บป่วยเรื้อรังด้วยโรค อื่น ๆ หรือผู้สูงอายุที่กินอาหารได้น้อยหรือไม่ครบส่วน ก็อาจได้รับธาตุเหล็กน้อยเกินไป

                ผู้ที่บริโภคอาหารมังสวิรัติหรือแม็กโครไบโอติกส์ (macrobiotics) อย่างเคร่งครัดและไม่ถูกหลักโภชนาการ คือกินแต่พืชผักเป็นหลักก็อาจขาดธาตุเหล็กได้ เนื่อง จากธาตุเหล็กในพืชผักถูกลำไส้ดูดซึมเข้าร่างกายได้น้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ากินพร้อมข้าวซึ่งมีสารไฟเทต (phytate) ที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก

                 นอกจากนี้ เด็กในวัย 2 ขวบแรกและเด็กวัยรุ่นที่อยู่ในช่วงกำลังเจริญเติบโต รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ (ซึ่งมีความต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นกว่าคนปกติ เพื่อ นำไปใช้ในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์) ถ้าไม่ได้ กินธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น ก็มักจะเกิดภาวะโลหิตจางได้

                2. การเสียธาตุเหล็กออกไปกับเลือด เช่น มีประจำเดือนออกมาก (พบได้บ่อยในหญิงวัยรุ่นและวัยเจริญพันธุ์) ตกเลือดเนื่องจากแท้งบุตรหรือคลอดบุตร เลือดออก จากแผลในกระเพาะอาหาร (ถ่ายอุจจาระดำ) หรือริดสีดวงทวาร เป็นโรคพยาธิปากขอ เป็นต้น ก็อาจทำให้ร่างกายขาดธาตุเหล็กได้

อาการ โลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก

                ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น มึนงง หน้ามืด เวียนศีรษะ และมักมีอาการเบื่ออาหาร  ร่วมด้วย (ยิ่งเบื่ออาหาร ก็ยิ่งทำให้ขาดธาตุเหล็ก และ ทำให้ภาวะโลหิตจางยิ่งรุนแรงขึ้น)

การป้องกัน โลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก

              1. ผู้ป่วยที่มีอาการซีด (โลหิตจาง) ถ้าไม่มีอาการ ตับโต ม้ามโต จุดแดงจ้ำเขียว และไม่มีประวัติซีดเหลืองมาตั้งแต่เกิดที่ชวนสงสัยว่าเป็นทาลัสซีเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีประจำเดือนออกมากผู้ที่กินเนื้อสัตว์ นมและไข่น้อย อาจให้การรักษาเบื้องต้น ด้วยยาบำรุงโลหิตประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ ถ้าอาการดีขึ้น ก็แสดงว่าเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก

              2.ผู้ที่มีภาวะขาดธาตุเหล็กระยะแรกตรวจร่างกายมักไม่พบอาการซีดชัดเจน บางรายจะยังคงรู้สึกแข็งแรงดี  บางรายอาจมีอาการเฉื่อยชา ไม่กระฉับกระเฉง หรือ มีความคิดช้าลง หากพบผู้ที่กินอาหารที่มีธาตุเหล็ก น้อย (เช่น กินอาหารมังสวิรัติแบบเคร่งครัด โดยไม่กิน ไข่ นม และปลา เด็กหรือผู้สูงอายุที่กินเนื้อสัตว์น้อย) หรือตรวจเลือดพบระดับเฟอร์ริทินต่ำ ควรตรวจระดับเฮโมโกลบินในเลือด ถ้าพบว่าต่ำกว่า 12 กรัม /ดล.ควรให้กินยาบำรุงโลหิตเสริมและปรับการบริโภคอาหารให้เหมาะสม

การรักษา โลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก

                1.เมื่อแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่ได้ซีดจากสาเหตุที่ร้ายแรงให้รักษาด้วยยาบำรุงโลหิต เช่น เฟอร์รัสซัลเฟต หรือเฟอร์รัสฟูมาเรต ครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง เป็นเวลา 1- 2 สัปดาห์ พอเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยจะกินข้าวได้ดีขึ้น (เบื่ออาหารน้อยลง) หน้าตามีเลือดฝาดดีขึ้น (ซีดน้อยลง) และมีเรี่ยวแรงมากขึ้น ควรให้ยาต่ออีก 1- 2 เดือน จนระดับเฮโมโกลบิลขึ้นสู่ปกติ  หรือหายจากภาวะโลหิตจาง หลังจากนั้นควนกินยานี้วันละ1 - 2 เม็ด ต่อไปอีก 3 - 6 เดือน เพื่อสะสมธาตุเหล็กในร่างกายให้เพียงพอ

                ถ้ามีสาเหตุชัดเจน ให้รักษาสาเหตุที่เป็นร่วมไปด้วย เช่น รักษาโรคแผลเพ็ปติก ริดสีดวงทวาร หรือโรคพยาธิปากขอ

                2.อาการซีดไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ หรือสงสัยว่ามีสาเหตุที่ร้ายแรง ควนแนะนำไปโรงพยาบาล เพื่อตรวจหาสาเหตุ (ตรวจเลือด ปัสสาวะ อุจจาระ เอกซเรย์ เป็นต้น) และให้การรักษาตามสาเหตุ


การป้องกัน

                โรคโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็กสามารถป้องกันได้ด้วยการกินอาหารที่มาตุเหล็กมาก เช่นเนื้อสัตว์ ตับหมู ตับวัว เลือดหมู ไตหมู นม ไข่ โดยเฉาะอย่างยิ่ง ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ทารก และวัยรุ่น ควรบำรุงอาหาร  เหล่านี้ให้มาก

                สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด ขณะมีประจำเดือนออกมาก ควรให้กินยาบำรุงโลหิตวันละ 2-3 เม็ด ในช่วงที่มีประจำเดือน
นานประมาณ 1 สัปดาห์

[Total: 0 Average: 0]