หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน คือ โรคที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย มักพบหลังเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนต้น และกลุ่มคนที่สูบบุหรี่หรือสัมผัสถูกสิ่งระคายเคือง ส่วนใหญ่มักจะหายได้เอง และไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง

หลอดลมอักเสบ หมายถึง การอักเสบของเยื่อยุผิวภายในหลอดลม ทำให้ต่อมเมือก (mucous gland) โตขึ้นและหลั่งเมือก  (เสมหะ) ออกมามากกว่าปกติ อุดกั้นให้ช่องทางเดินหลอดลงแคบลง ส่งผลให้เกิดอาการไอมีเสมหะ บางครั้งอาจมีอาการหอบเหนื่อยร่วมด้วย หลอดลมอักเสบ แบ่งเป็นชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง 

สาเหตุ หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

  1. จากการติดเชื้อ ส่วนมากเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกับที่ก่อให้เกิดไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ และติดต่อแบบเดียวกับไข้หวัด บางครั้งอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย (เช่น Mycopla smapneumoniae‚ Clamydiapneumoniae‚Streptococcus pneumonia ‚Hemo philus  influenzae‚ Moraxella catarrhalis) แทรกซ้อนมักพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่ภูมิต้านทานโรคต่ำ ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือมีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  2. จากการถูกสิ่งระคายเคือง ที่พบบ่อย คือการสูบบุหรี่ ซึ่งทำให้ขนอ่อน (cilia) ที่เยื่อบุหลอดลมเคลื่อนไหว (โบกพัดเพื่อปกป้องผิดหลอดลม) น้อยลง เยื่อบุหลอดลมถูกระคายเคือง ทำให้ต่อมเมือกโตขึ้น มีเสมหะมากขึ้น

นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากควันไอเสียรถยนต์ ฝุ่นละออง สารเคมี รวมทั้งการระคายเคืองจากน้ำย่อย ในผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน พบได้บ่อยในผู้ที่สูบบุหรี่ หรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสิ่งระคายเคือง อาจเป็นๆ หายๆ บ่อยและอาจกลายเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ

อาการ หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

ที่สำคัญ  คือ อาการไอบ่อย ระยะแรกจะไอแห้ง ๆ แล้วไอมีเสมหะเล็กน้อยสีขาวใน 2-3 ชั่วโมงหรือ 2-3 วันต่อมา ต่อมาเสมหะจะมีปริมาณมากขึ้น อาจมีลักษณะเป็นสีขาว (ถ้าเกิดจากไวรัสหรือการระคายเคืองล้วน ๆ) หรือกลายเป็นเสมหะข้นสีเขียวหรือเหลือง (ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย)ผู้ป่วยอาจไม่มีไข้หรือมีไข้ต่ำๆ อยู่นาน 3-5 วัน

ผู้ป่วยมักมีอาการเป็นไข้หวัด เจ็บคอนำมาก่อนที่จะเกิดอาการไอ บางรายอาจไม่มีอาการเหล่านี้นำมาก่อนก็ได้

อาการไอมักเป็นอยู่นาน 1-3 สัปดาห์ แต่บางรายอาจไอนานกว่านี้ อาจไอมากตอนกลางคืน (จนนอนไม่พอ) หรือหลังตื่นนอนตอนเช้าบางรายอาจมีอาการเสียงแหบ เจ็บคอ หรือเจ็บหน้าอกเวลาไอในเด็กเล็กอาจไอจนอาเจียน บางรายอาจมีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจหอบเหนื่อยร่วมด้วย

ข้อแนะนำ หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

                โรคนี้มักเป็นหลังจากเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่หลังให้การรักษาจนเชื้อโรคถูกกำจัดแล้ว (ในรายที่มีเสมหะสีเหลืองหรือเขียวจะกลายเป็นสีขาว) ผู้ป่วยอาจไอโครก ๆ อยู่นานเป็นสัปดาห์ ๆ ลักษณะไอแห้ง ๆ หรือมีเสมหะเล็กน้อยเป็นสีขาว ทั้งนี้เนื่องจากเยื่อบุหลอดลมถูกทำลายจากการอักเสบ ทำให้ไวต่อสิ่งกระตุ้น (เช่น บุหรี่ ควัน ฝุ่น ลม ความเย็น สิ่งระคายเคืองต่าง ๆ) เยื่อบุหลอดลมจะค่อย ๆ ฟื้นตัว กว่าจะแข็งแรงเต็มที่ใช้เวลานานหลายสัปดาห์  ผู้ป่วยมักจะมีสุขภาพทั่วไปแข็งแรงดีควรให้การดูแลโดยการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆ ให้ยาแก้ไอบรรเทาเป็นครั้งคราว (ซึ่งไม่ได้ทำให้อาการไอหายเร็ว) แล้วรอเวลาให้ตายตามธรรมชาติ ซึ่งแต่ละคนอาจมีระยะเวลาแตกต่างกันไป โดยทั่วไปอาจใช้เวลานาน 7-8  สัปดาห์บางรายอาจนานถึง 3 เดือน

แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้เรื้อรัง น้ำหนักลด หอบเหนื่อย ไอออกมาเป็นเลือด ไอรุนแรง หรือมีความวิตกกังวลก็ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุ ในรายที่ตรวจไม่พบสาเหตุอื่น และมีอาการไอรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้ยาไอพราโทรเพียมโบรไมด์ชนิดสูด อาจช่วยให้ทุเลาได้

การรักษา หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

  1. แนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้มากขึ้น อย่าตรากตรำงานหนัก ควรดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ (วันละ 10-15 แก้ว) เพื่อช่วยให้เสมหะออกได้ง่ายขึ้น  งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองหรือสิ่งกระตุ้นให้ไอ (เช่น ความเย็น น้ำเย็น น้ำแข็ง ของทอด ของมัน ๆ ฝุ่น ควัน อากาศเสีย ลมจากพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น)
  2. ให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาระวับการไอ หรือยาขับเสมหะ ยาลดไข้ ถ้าไอมีเสมหะข้นเหนียว ควรหลีกเลี่ยงยาระงับการไอและยาแก้แพ้ อาจทำให้เสมหะเหนียว ขับออกยาก หรืออุดกั้นหลอดลมเล็ก ทำให้ปอดบางส่วน แฟบได้
  3. ถ้าทีเสียงวี้ดร่วมด้วยให้ยากระตุ้นบีตา 2 สูดหรือกิน
  4. ยาปฏิชีวนะ ถ้าไม่มีโรคประจำตัวและมีเสมหะขาว (อาจเกิดจากไวรัสหรือการระคายเคือง) ไม่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ จะให้เฉพาะในรายที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง  หืด หรือหลอดลมพอง ร่วมด้วย หรือมีเสมหะเหลืองหรือเขียวเกิน 7 วัน ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคนี้ เช่น อะม็อกชีซิลลิน 
    อีริโทรไมซิน ร็อกซิโทรไมชิน ดอกชีไชคลีน หรือ โคไตรม็อกซาโซล นาน 7-10 วัน
  5.  ถ้าเสมหะยังเป็นสีเหลืองหรือเขียวหลังให้ยาปฏิชีวนะ 1 สัปดาห์ ยังรู้สึกหอบเหนื่อยหลังให้ยาขยายหลอดลม 3 วัน สงสัยปอดอักเสบแทรกซ้อน (ไข้สูงหายใจหอบ) มีไข้นานเกิน 1 สัปดาห์  น้ำหนักลด ไอออกเป็นเลือด  หรือมีอาการกำเริบมากกว่า 3 ครั้ง/ปี ควรส่งโรงพยาบาล
    อาจต้องเอกชเรย์ปอด ตรวจเสมหะ บางรายแพทย์อาจใช้กล้องส่งตรวจหลอดลม (bronchoscopy) และให้การรักษาตามสาเหตุ

ถ้าพบว่ามีสาเหตุจากโรคกรดไหลย้อน ก็ให้ยาลดการสร้างกรด และแนะนำการปฏิบัติตัวต่าง ๆ ผลการรักษา  ส่วนใหญ่มักจะหายได้โดยการรักษาตามอาการ ส่วนน้อยที่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ และน้อยรายที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงตามมา

[Total: 2 Average: 5]