โรคปอดแฟบ

โรคปอดแฟบ (Atelectasis) แตกต่างจากอาการปอดยุบตัว (เรียกว่า  Pneumothorax) ปอดที่ยุบตัวเกิดเมื่ออากาศเข้าไปติดอยู่ในช่องว่างระหว่างด้านนอกของปอดกับผนังหน้าอกด้านใน ทำให้ปอดหดตัวหรือยุบลงในที่สุด

หากถุงลมบางส่วนไม่ได้รับอากาศจะเรียกอาการนี้ว่าโรคปอดแฟบ อาการของโรคจะขึ้นกับขนาดของผอดผู้ป่วย

ระบบทางเดินหายใจจะมีท่อแตกแขนงไปทั่วปอดแต่ละข้าง เมื่อหายใจเข้าอากาศจะเคลื่อนจากจมูก ผ่านหลอดลมไปยังลำคอ จากนั้นทางเดินหายใจจะแตกแขนงและมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ จนสิ้นสุดที่ถุงขนาดเล็กที่เรียกว่าถุงลม

ถุงลมจะช่วยแลกเปลี่ยนออกซิเจนในอากาศเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียจากเนื้อเยื่อและอวัยวะของร่างกาย ในกระบวนการนี้ถุงลมต้องได้รับการเติมอากาศ

แม้ว่าอาการทั้ง 2 จะแตกต่างกัน แต่ Pneumothorax อาการปอดยุบตัวอาจนำไปสู่โรคปอดแฟบได้ เนื่องจากถุงลมยุบตัวลง เมื่อปอดมีขนาดเล็กลง

สาเหตุของโรคปอดแฟบ

สาเหตุของโรคปอดแฟบมีหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งใดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคปอดแฟบ

Obstructive atelectasis: ภาวะปอดแฟบจากการปิดกั้นทางเดินหายใจ อาจเกิดจากภาวะกระดูกพรุนที่ทำให้เกิดการปิดกั้นไม่ให้อากาศเข้าไปที่ถุงลมได้ จึงเกิดการแฟบได้

สิ่งที่สามารถปิดกั้นทางเดินหายใจของคุณ ได้แก่ :

  • การสูดดมวัตถุแปลกปลอม เช่น ของเล่นขนาดเล็กหรืออาหารชิ้นเล็ก ๆ เข้าไปในทางเดินหายใจ
  • เมือกปิดกั้นทางเดินหายใจ (การสะสมของเมือก)
  • เนื้องอกที่เติบโตภายในทางเดินหายใจ
  • เนื้องอกในเนื้อเยื่อปอดที่กดทับทางเดินหายใจ

อาการของโรคปอดแฟบ

อาการปอดแฟบ อาจไม่ปรากฎไปจนถึงอาการที่ร้ายแรงได้ ขึ้นกับว่าปอดของผู้ป่วยได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด และพัฒนาของโรคเป็นอย่างไร หากมีผลกระทบเพียงบางส่วนกับถุงลม หรือเกิดขึ้นช้าผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใด ๆ

โรคปอดแฟบเกี่ยวข้องกับถุงลมจำนวนมาก อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อออกซิเจนในเลือดไม่เพียงพอ การมีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำยังทำให้เกิดอาการ:

การรักษาโรคปอดแฟบ

การวินิจฉัยโรคปอดแฟบ แพทย์จะเริ่มจากการทบทวนประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย ตรวจสอบสภาพปอดก่อนมีอาการ หรือเมื่อเข้ารับการผ่าตัดล่าสุด และเพื่อวินิจฉัยส่าปอดของผู้ป่วยทำงานอย่างไร

  • ตรวจระดับออกซิเจนในเลือด ด้วยเครื่องวัดออกซิเจนขนาดเล็กที่พอดีกับปลายนิ้ว
  • ตรวจค่าต่าง ๆ ในเลือด โดยปกติวัดจากเลือดบริเวณข้อมือ เพื่อตรวจสอบระดับออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และเคมีและก๊าซในเลือด
  • เอกซเรย์บริเวณหน้าอก
  • CT scan เพื่อตรวจหาการติดเชื้อ หรือการอุดตันต่าง ๆ เช่น เนื้องอกในปอดหรือทางเดินหายใจ
  • ตรวจหลอดลมด้วยการใส่กล้องที่ปลายท่อบาง ๆ และยืดหยุ่นเข้าทางจมูกหรือปาก เพื่อตรวจสอบในปอด
[Total: 1 Average: 1]