ภาวะปอดช้ำ

ภาวะปอดช้ำจากการกระแทกพบได้ค่อนข้างบ่อย ตามรายงานพบได้ประมาณร้อยละ ๒๗ ของผู้ป่วยอุบัติเหตุหลายระบบที่มี ISS > ๑๕ พยาธิวิทยาส่วนใหญ่เกิดจากเลือดที่ออกในถุงลมทำให้การแลกเปลี่ยนแก๊สผิดปรกติ

สาเหตุ ภาวะปอดช้ำ

ภาวะปอดช้ำส่วนใหญ่เกิดจากการกระแทกแต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บจากระเบิด หรือคลื่นกระแทกที่เกิดจากการถูกทิ่มแทง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ซึ่งมีการใช้ระเบิดในการรบอย่างแพร่หลายนั้นทำให้ภาวะปอดช้ำที่เกิดจากแรงระเบิดเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในช่วงทศวรรษ 1960 ภาวะนี้เป็นที่รู้จักในคนทั่วไปมากขึ้นจากการเกิดอุบัติเหตุจราจร การใช้เข็มขัดนิรภัยและถุงลมนิรภัยช่วยลดโอกาสเกิดภาวะปอดช้ำในผู้โดยสารรถยนต์ได้

อาการ ภาวะปอดช้ำ

อาการและอาการแสดงของภาวะปอดช้ำมีความหลากหลายได้ ตั้งแต่ไม่มีอาการแต่มีความผิดปรกติจากภาพรังสีปอด อาการหายใจลำบากเล็กน้อย หรือรุนแรงไปจนถึงภาวะการหายใจล้มเหลว (Respiratory failure) โดยพบว่าภาวะแทรกซ้อนตามมาที่พบบ่อยที่สุดคือ การติดเชื้อในปอด (pneumonia)

การรักษา ภาวะปอดช้ำ

การรักษาแบบประคับประคองซึ่งส่วนมากอาศัยการให้ออกซิเจนและการเฝ้าสังเกตอาการ อย่างไรก็ดีบางครั้งก็มีความจำเป็นต้องใช้การดูแลเป็นพิเศษแบบผู้ป่วยหนัก เช่น อาจต้องใช้การช่วยหายใจ บางครั้งอาจต้องให้สารน้ำทดแทน ซึ่งต้องทำโดยความระมัดระวังอย่างมากเนื่องจากการมีสารน้ำมากเกินสามารถทำให้ภาวะน้ำท่วมปอดนั้นแย่ลงได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต


[Total: 0 Average: 0]