มะเร็ง คือ เนื้องอกชนิดร้ายที่กลายมาจากเนื้อเยื่อ ปกติของร่างกาย มีการเจริญเติบโต และแพร่กระจาย อย่างรวดเร็วอยู่เหนือการควบคุมของร่างกาย และทำ ลายอวัยวะต่างๆ เกิดอาการเจ็บป่วย และภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่างๆ
เซลล์และเนื้อเยื่อแทบทุกส่วนของร่างกายอาจกลายเป็นมะเร็งได้ แต่ที่พบบ่อย ได้แก่ ตับ ปอด ปากมดลูก เต้านม ลำไส้ใหญ่ช่องปาก ผิวหนัง รังไข่ ต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะ กระเพาะอาหาร เม็ดเลือดขาว ต่อมน้ำเหลืองไทรอยด์
ส่วนใหญ่พบในคนอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจพบในเด็ก และคนหนุ่มสาวได้ ปัจจุบันมะเร็งเป็นสาเหตุการตายในอันดับแรกๆ ของคนไทย
สาเหตุ มะเร็ง
เซลล์มะเร็ง คือ เซลล์ปกติของเนื้อเยื่อในร่างกายที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นกับสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ)ในเซลล์ ทำให้กลายพันธุ์เป็นเซลล์ที่มีการแบ่งตัวและแพร่กระจายได้รวดเร็ว
สาเหตุของการเกิดเซลล์มะเร็งยังไม่ทราบแน่ชัดเชื่อว่าเป็นความผิดปกติที่ถ่ายทอดมาจากบิดามารดามาแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลังจากการได้รับสารก่อมะเร็งหรือสิ่งระคายเคืองเรื้อรัง เกิดการกลายพันธุ์ทีละน้อย จนในที่สุดกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งอาจใช้เวลานานนับสิบๆปี นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ทำหน้าที่คอยตรวจสอบและกำจัดเซลล์มะเร็ง ที่ก่อตัวขึ้นซึ่งหากบกพร่องก็ปล่อยให้เซลล์มะเร็งไม่ ถูกจำกัดและแบ่งตัวเจริญเติบโตเป็นก้อนมะเร็งในที่สุดปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง สามารถแบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ๆ ดังนี้
1. ปัจจัยภายในร่างกาย เช่น
- ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หากบกพร่อง (เช่น อายุมาก ป่วยเป็นเอดส์) ก็มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็ง
- เชื้อชาติ เช่น ชาวญี่ปุ่นเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมาก ชาวจีนเป็นมะเร็งของโพรงหลังจมูกและ หลอดอาหารมาก
- เพศ มะเร็งตับ มะเร็งปอด พบมากในผู้ชาย มะเร็งของเต้านม มะเร็งไทรอยด์ พบมากในผู้หญิง
- อายุ มะเร็งส่วนใหญ่เกิดในวัยกลางคนและวัยสูงอายุ แต่บางชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งสมองบางชนิด มะเร็งลูกตาในเด็ก (237.20) มะเร็งไต ชนิดเนื้องอกวิล์มส์ (237.18) พบมากในเด็ก มะเร็งกระดูกพบในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว
- กรรมพันธุ์ มะเร็งเต้านมบางชนิด มะเร็ง ต่อมไทรอยด์บางชนิด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่ มะเร็งผิวหนัง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งอัณฑะ มะเร็ง ลูกตาในเด็ก พบว่ามีความสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์ คือมักมีประวัติว่ามีพ่อแม่พี่น้องเป็นมะเร็งชนิดเดี่ยวกันด้วย
2. ปัจจัยทางภายนอกร่างกาย ได้แก่
- ปัจจัยทางกายภาพต่างๆ
- สารเคมี
- ฮอร์โมน
- การติดเชื้อ
- สารพิษ
- พยาธิ
- อาหาร
- ภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน
อาการ มะเร็ง
ในระยะแรกเริ่มเมื่อเซลล์มะเร็งเริ่มก่อตัวหรือ เป็นก้อนเนื้องอกขนาดเล็ก มักจะไม่มีอาการแสดงใดๆ ผู้ป่วยยังคงแข็งแรงเหมือนคนปกติ ซึ่งกินเวลานานเป็น แรมเดือนแรมปี
ต่อมาเมื่อมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือลูกลามมากขึ้น ผู้ป่วยก็จะมีอาการแสดงเฉพาะที่ ซึ่งเกิดจากก้อนมะเร็งโตเป็นก้อนบวมให้เห็นจากภายนอก (ที่ผิวหนัง ช่องปาก ต่อมน้ำเหลือง)ไปกดเบียดหรือทำลายอวัยวะที่เป็นหรือเนื้อเยื่อช่องปากข้างเคียง
นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการแสดงทั่วไปร่วมด้วย ซึ่งพบร่วมกันในมะเร็งทุกชนิด ได้แก่ อาการอ่อน เพลีย เหนื่อยง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว อาจมีอาการท้องอืดเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน ซีด เป็นลม ใจหวิวคล้ายหิวข้าวบ่อย หรือมีไข้เรื้อรัง
เมื่อมะเร็งแพร่กระจ่ายไปยังอวัยวะไกลจากตำแหน่งที่เป็น เช่น ไปที่สมอง ปอด ตับ กระดูกไขสันหลังก็จะมีอาการต่างๆ ตามอวัยวะที่พบ เช่น หอบเหนื่อย (ปอด) ดีซ่าน (ตับ) ปวดหลัง (กระดูกสันหลัง) ปวดศีรษะ เดินเซ แขนขาชาหรืออ่อนแรงซีกหนึ่ง ชัก(สมอง) แขน หรือขาชาและอ่อนแรงข้างหนึ่ง(ไขสันหลัง) เป็นต้น และระยะสุดท้าย อาจมีอาการเจ็บปวดรุนแรงร่วมด้วย
การป้องกัน มะเร็ง
1. ปัจจุบันมีวิธีบำบัดรักษาโรคมะเร็งใหม่ๆ ที่อาจ ช่วยให้โรคหายขาดหรือทุเลา หรือช่วยให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ผู้ป่วยจึงควรติดต่อรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็ง มีความมานะอดทนต่อผลข้างเคียงของการรักษาที่อาจมีได้ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ อย่าเชื่อชาวบ้านด้วยกันอย่างผิดๆ อย่าเปลี่ยนแพทย์เปลี่ยนโรงพยาบาลบ่อย
การหันไปพึ่งยาหมอหรือไสยศาสตร์หรือวิธี อื่นๆ แทนการแพทย์แผนปัจจุบัน อาจช่วยให้เกิดกำลังใจและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าจะรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้
2. ทั้งผู้ป่วยและญาติควรหาทางเสริมสร้างกำลังใจด้วยการยอมรับความจริง ทำใจอยู่กับปัจจุบันและใช้เวลาปัจจุบันให้มีคุณค่าที่สุด ระหว่างการรักษากับแพทย์ ถ้าหากผู้ป่วยยังสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดีก็ควรทำหน้าที่การงานที่รับผิดชอบให้ดีที่สุด
นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรหาเวลาทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบ (เช่น ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง ปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ) หาโอกาสช่วยเหลือผู้อื่น ทำสมาธิหรือเจริญสติ สวดมนต์ภาวนาตามหลักศาสนาที่นับถือ เจริญมรณ สติและเตรียมพร้อมที่จะเผชิญวาระสุดท้ายของชีวิต หาทางเข้ากลุ่มเพื่อพูดคุยปรับทุกข์และให้กำลังใจร่วมกัน กับผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งด้วยกัน เช่นการเข้ากลุ่มมิตรภาพ บำบัดหรือกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน (self-help group)
3. มะเร็งเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ (ไม่ใช่ เป็นโรคที่จะหมดทางเยียวยาเสมอไป)โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าตรวจพบและรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่มที่เป็น ดังนั้นจึงควรแนะนำให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงอาการแสดง (สัญญาณอันตราย) ของโรคนี้หากสงสัย ควรปรึกษาแพทย์เสียแต่เนิ่นๆ เมื่อแพทย์ตรวจแล้วว่าไม่เป็นมะเร็งก็สบายใจได้ อย่าได้วิตกกังวลจนเกินเหตุ
4. ถึงแม้จะไม่มีอาการผิดปกติ ก็ควรหมั่นปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจเช็กมะเร็งในระยะแรกเริ่มก่อนปรากฏ
การรักษา มะเร็ง
หากสงสัย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดรวดเร็ว ซีด หรือมีไข้เรื้อรังโดยไม่ ทราบสาเหตุชัดเจน หรือมีอาการเฉพาะที่ของมะเร็ง หรือสัญญาณอันตรายของ มะเร็ง ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว แพทย์จะทำการตรวจ พิเศษ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจอุจาระเอกซเรย์ ตรวจอัลตราซาวนด์ ตรวจสแกน (scan)ใช้กล้องส่องตรวจ (scopy) ถ่ายภาพด้วยเคลื่อนแม่เหล็ก ไฟฟ้าหรือเอกชเรย์คอมพิวเตอร์ และทำการตรวจทางพยาธิวิทยา ได้แก่ การตรวจหาเซลล์มะเร็ง (cytology) แลการตรวจชิ้นเนื้อ (biopsy) ซึ่งเป็นการยืนยันการ วินิจฉัยโรคมะเร็งที่แน่ชัด รวมทั้งสามารถระบุชนิดของเซลล์มะเร็งและระยะของโรคซึ่งมีผลการทำนายโรค (ว่ารุนแรงเพียงใด) และการวางแผนการรักษา
การรักษา ส่วนใหญ่จะใช้วิธีผ่าตัดนำก้อนมะเร็งออกไปให้มากที่สุดเป็นหลัก ยกเว้นในรายที่เป็นระยะท้ายที่มะเร็งแพร่กระจายไปทั่วร่างกายแล้ว ก็อาจไม่ทำผ่าตัดนำก้อนมะเร็งออก แต่อาจผ่าตัดเพื่อแก้ไขภาวะแทรกซ้อนเพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมาน หรือในรายที่ เป็นมะเร็งตรงตำแหน่งที่ผ่าตัดไม่ได้ก็อาจเลือกใช้วิธี อื่นในการรักษา
นอกจากการผ่าตัดแล้วแพทย์อาจเลือกให้การ รักษาด้วยวิธีอื่น ได้แก่
- รังสีรักษาหรือรังสีบำบัด (radiation therapy) ได้แก่ การฉายรังสี หรือใส่แร่เรเดียมซึ่งเป็นกัมมันตรังสีตรงบริเวณที่เป็นมะเร็ง เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง ทำให้ก้อน มะเร็งยุบตัวลงและป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายนิยมใช้ร่วมกับการผ่าตัด บางครั้งอาจใช้เป็นวิธีหลักแทนการผ่าตัด
- เคมีบำบัด (chemotherapy) เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง ส่วนใหญ่เป็นยา (สารเคมี)ที่ใช้ฉีดเข้าหลอดเลือด ส่วนน้อยเป็นยาชนิดกินมักใช้ร่วมกับการผ่าตัดหรือรังสีรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่เป็นระยะที่เซลล์มะเร็ง แพร่กระจายหรือเป็นก้อนใหญ่ บางกรณี เช่น มะเร็ง เม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ใช้เป็นวิธีหลักใน การรักษาแทนวิธีอื่น เคมีบำบัดอาจมีผลข้างเคียง ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง เม็ดเลือดขาวต่ำ (ติดเชื้อง่าย) เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น ซึ่ง จะเป็นอยู่เพียงชั่วคราว เมื่อหยุดยาแล้วอาการเหล่านี้ก็จะหายไปได้เอง
- ฮอร์โมนบำบัด (hormone therapy) คือการใช้ฮอร์โมนในการรักษามะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก
- อินมูนบำบัด (immunotherapy) เป็นการให้สารเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง เช่น การใช้สารภูมิต้านทานกลุ่ม monoclonal antibody ในการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเต้านม การใช้อินเตอร์เฟอรอน (interferon)ในการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด CML มะเร็งเซลล์ไต (renal cell carcinoma) มะเร็งเซลล์สร้างเม็ดสีชนิดร้าย (malignant melanoma) เป็นต้น
- การปลูกถ่ายไขกระดูก/เซลล์ต้นกำเนิดจากเลือด (bone-marrow/stem cell transplantation) สำหรับมะเร็งเม็ดเลือดขาว
วิธีบำบัดเหล่านี้มักจะใช้ร่วมกันหลายๆ วิธีมากกว่าใช้วิธีใดวิธีหนึ่งเพียงอย่างเดียว
ผลการรักษา ขึ้นกับชนิดของมะเร็ง ระยะ ความรุนแรงของโรค และสภาพของผู้ป่วย (ความร่วม มือในการรักษา การปฏิบัติตน ความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย กำลังใจ เป็นต้น)
มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งผิวหนัง มะเร็งช่องปาก มะเร็งเต้านม มะเร็งปากเม็ดลูก มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิด มะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด มะเร็ง ลำไส้ใหญ่ มะเร็งโพรงหลังจมูก มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งกระดูก เป็นต้น ถ้าหากได้รับการรักษาตั้งแต่แรก เริ่ม อาจมีชีวิตอยู่ได้นาน หรือหายขาดได้
ส่วนมะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งตับอ่อน มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งรังไข่ มะเร็งไต ซึ่งมักตรวจพบระยะท้ายเมื่อมีอาการชัดเจนแล้ว การรักษามักไม่ได้ผลดี ส่วนใหญ่เป็นการรักษา แบบประทังอาการ(palliative care) เพื่อลดความเจ็บ ปวดและความทุกข์ทรมาน ผู้ป่วยมักมีชีวิตโดยเฉลี่ย ประมาณ 6 –12 เดือน แต่บางรายก็อาจอยู่ได้นานหลายปี
มะเร็ง มีโรคอะไรบ้าง
- มะเร็งกระดูก
- มะเร็งกระดูกอ่อน
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- มะเร็งกระเพาะอาหาร
- มะเร็งกล่องเสียง
- มะเร็งช่องคลอด
- มะเร็งช่องปาก
- มะเร็งตับ
- มะเร็งตับอ่อน
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- มะเร็งต่อมลูกหมาก
- มะเร็งถุงน้ำดี
- มะเร็งทอนซิล
- มะเร็งท่อน้ำดี
- มะเร็งปอด
- มะเร็งปากมดลูก
- มะเร็งผิวหนัง
- มะเร็งรังไข่
- มะเร็งลำไส้เล็ก
- มะเร็งลำไส้ใหญ่
- มะเร็งลิ้น
- มะเร็งลูกตา
- มะเร็งศีรษะและลำคอ
- มะเร็งสมอง
- มะเร็งหลอดอาหาร
- มะเร็งหัวใจ
- มะเร็งอัณฑะ
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- มะเร็งเยื่อมดลูก
- มะเร็งโพรงหลังจมูก
- มะเร็งไต
- มะเร็งไทรอยด์
- โรคมะเร็งหลังโพรงจมูก